พบอีกช้างอ่างฤาไน บาดเจ็บกลางป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก เบื้องต้น จนท. พร้อมทีมสัตวแพทย์เร่งเข้าดูอาการ แต่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เชื่ออาจต่อสู้ทำร้ายกันเอง เหตุจากเป็นช้างสีดอตัวเต็มวัยน้ำหนักกว่า 6.5 ตัน ที่ไม่มีงาเป็นอาวุธประจำกายในการต่อสู้ป้องป้องตัวเองกับช้างหนุ่มวัยเดียวกัน จนถูกทำร้ายได้รับบาดเจ็บ
เมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 5 มิ.ย.62 ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจาก นายเอนก วงศ์ษา ผู้ช่วยหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา ว่าเมื่อช่วงก่อนพลบค่ำของเมื่อคืนที่ผ่านมา ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ชุดเฝ้าระวังแก้ไขปัญหาช้างป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และสระแก้ว) ว่า
ข่าวน่าสนใจ:
- ททท.แถลงข่าวกิจกรรม Event Marketing ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา “แข่งขันวิ่งเทรลไตรบูรพาซีรีย์ 4 สนาม 3 จังหวัดภาคตะวันออก
- นครพนม เหตุการณ์สลด! เมีย พบศพสามีนอนเสียชีวิตคาเถียงนา คาดโรคประจำตัว
- สองวัยรุ่นอดีตนักเรียนอาชีวะถูกคู่อริตามมาดักยิง ต้องบิดมอไซค์หนีตายฝ่าเข้าฝูงชน
- สนามเปิดตัวจังหวัดสระแก้ว "วิ่งเทรลไตรบูรพา ซีรีย์ 4 สนาม 3จังหวัดภาคตะวันออก"
ขณะลาดตระเวน ได้ตรวจพบช้างป่าได้รับบาดเจ็บ ในพื้นที่บ้านอ่างเสือดำ หมู่ 7 ต.ท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพื้นที่แปลงปลูกป่า หลังฐานปฏิบัติการป้องกันและรักษาป่าที่ ฉช.2 (หนองปลาซิว) จึงได้ไปตรวจสอบพร้อมด้วย ทีมสัตวแพทย์จากส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 สัตวแพทย์ประจำสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่ากระบกคู่ และเจ้าหน้าที่ป้องกันและรักษาป่าที่ ฉช.2 (หนองปลาซิว)
สถานที่พบช้างมีสภาพเป็นพื้นที่ป่ามีเถาวัลย์ปกคลุมเป็นจำนวนมาก และสภาพพื้นที่ลาดเอียงไม่สม่ำเสมอ ประกอบกับใกล้แหล่งน้ำ จึงทำให้ยากลำบากต่อการปฏิบัติงาน พบช้างป่าสีดอ เพศผู้ ตัวเต็มวัย น้ำหนักประมาณ 6.5 ตัน สูงประมาณ 3.5 เมตร มีอาการบาดเจ็บบริเวณเท้าหน้าขวา มีบาดแผลด้านข้างและมีเล็บหลุด เดินแบบลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้าได้ไม่เต็มที่
แต่ยังสามารถเดินได้ มีแผลบริเวณปลายหางเล็กน้อย สาเหตุคาดว่าเกิดจากการต่อสู้กันกับช้างป่าที่มีงา ซึ่งมีจำนวนมากในผืนป่าแห่งนี้ เนื่องจากพบร่องรอยของโขลงช้างในบริเวณใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก และยังพบร่องรอยของช้างป่าอีก 1 ตัว อยู่ในระยะไม่ห่างไกลจากช้างป่าตัวที่ได้รับบาดเจ็บ แต่ยังไม่สรุปถึงสาเหตุของอาการบาดเจ็บ ว่าเกิดจากสาเหตุใดที่แน่ชัด โดยยังต้องรอให้ทีมสัตว์แพทย์เข้าตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้งก่อน
ในเบื้องต้นทีมสัตวแพทย์ ได้ทำการให้ยารักษาแบบกิน ประกอบไปด้วย ยาฆ่าเชื้อ และยาลดอาการปวด ลดการอักเสบ ใส่ในผลสัปปะรด พบว่าช้างป่าที่ได้รับบาดเจ็บตัวดังกล่าวกินยารักษาจนหมด ทั้งนี้สภาพพื้นที่และสภาพแวดล้อม ยังคงมีโขลงช้างป่าอีกจำนวนมาก จึงไม่เหมาะที่จะวางยาซึมและทำแผลให้ เนื่องจากอาจจะเกิดอันตรายต่อช้างป่าตัวที่ได้รับบาดเจ็บ และเจ้าหน้าที่ได้
ขณะเดียวกัน ขณะนี้ทีมสัตวแพทย์จากสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) และเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน ได้ร่วมกันประเมินอาการร่วมกับทีมสัตวแพทย์จากสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อทำการวางแผนการรักษาต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: