เพชรบูรณ์-พบโรครากบวมในกะหล่ำปลี-ผักกาดแพร่ระบาดที่ภูทับเบิก ชาวบ้านจี้สนง.เกษตรฯเร่งช่วยหาทางแก้ หลังผักตายยกแปลง (ชมคลิป)
วันที่ 29 พ.ย.62 นายใจ แซ่เถา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 14 บ้านทับเบิกพร้อมนายชง แซสง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฯ ลงพื้นที่สำรวจแปลงปลูกผักกะหล่ำปลีและผักกาดขาวปลี(ลุ้ย)ในพื้นที่บ้านทับเบิก ต.วังบาล อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ หลังจากพบว่าแปลงผักทั้งสองชนิดมีอาการคล้ายติดโรครากบวม จนทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย ส่งผลให้ชาวบ้านไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ นอกจากนี้ยังเริ่มแพร่ระบาดกระจายเป็นวงกว้างอีกด้วย โดยนายใจระบุว่า เมื่อปี 2561 เริ่มเกิดการติดโรคฯแต่ยังมีไม่มาก มาในปีนี้พบว่าแปลงปลูกผักทั้งสองชนิดติดโรครากบวมกระจายเป็นวงกว้าง จึงได้แจ้งทางสำนักงานเกษตรจังหวัดไปเรียบแล้วให้เร่งมาตรวจสอบเพื่อหาแนวทางแก้ไขโดยด่วน
“ตอนแรกก็ไม่รู้ว่าเป็นโรครากบวมเห็นผักกะหล่ำและผักกาดเหลืองและแห้งตาย พอถอนต้นขึ้นมาอูพบที่รากผิดปกติมีอาการบวมเป็นปม เมื่อลองสืบค้นดูข้อมูลทางเว็บไซต์ต่างจึงทำให้พบรายงานการเกิดโรคแบบเดียวกันนี้ โดยสาเหตุจะเกิดจากเชื้อราในตระกูลกะหล่ำปลีที่เรียกว่าโรครากบวม โดยเชื้อรานี้สามารถแพร่ระบาดไปยังแปลงผักอื่นๆได้ด้วย กลัวจะเกิดการแพร่ระบาดและกระทบรายได้และวิถีชีวิตของชาวบ้านที่นี่ ซึ่งภูทับเบิกถือเป็นแหลางปลูกกะหล่ำปลีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ”นายใจกล่าว
ข่าวน่าสนใจ:
- เพชรบูรณ์ปล่อยแถวเจ้าหน้าที่ 3 ฝ่าย ระดมกวาดล้างอาชญากรรม ช่วงเทศกาลคริสต์มาส-ปีใหม่ 2568
- เพชรบูรณ์ - 2 นักการเมืองรุ่นเก๋า ไม่ยอมแพ้สังขาร ลั่น"ใจยังสู้เกิน 100" มั่นใจรักษาแชมป์ ส.อบจ.เพชรบูรณ์ไว้ได้
- ผู้ว่าฯเพชรบูรณ์ เล็งจับเข่าหารือพัฒนา "เลยดั้น" พร้อมเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวน้ำหนาว
- สมัครชิง ส.อบจ.เพชรบูรณ์ วันแรกคึกคัก! โยนเหรียญหัว-ก้อยลุ้นเบอร์ ผู้สมัครฯพรรคปชน.-อิสระ ท้าชนอดีตแชมป์สังกัดว่าที่นายก อบจ. 7 สมัย
ทั้งนี้มีรายงานว่า คณะเจ้าหน้าที่กลุ่มงานอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ ลงพื้นที่สำรวจแปลงเพาะปลูกกะหล่ำปลีและผักกาดขาวปลีที่บ้านทับเบิกซึ่งมีอาการติดโรคดังกล่าวเมื่อวานนี้ (27พ.ย.) ผลการตรวจสอบทางเจ้าหน้าที่ชี้ว่าผักทั้งสองชนิดติดโรครากบวม จากนั้นมีการเก็บข้อมูลและเก็บตัวอย่างต้นกะหล่ำปลีและต้นผักกาดขาวปลีพร้อมดิน เพื่อจะส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเตรียมหามาตรการและแนวทางแก้ไขช่วยเหลือเกษตรกรและชาวบ้านทับเบิก
สำหรับโรครากบวมยังไม่มีรายงานความเสียหายในประเทศไทย แต่มีรายงานการพบโรครากบวมในผักกาดที่ปลูกบนสถานีทดลองเกษตรที่สูงอ่างขาง จ.เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยยังไม่มีการศึกษาและแยกเชื้อเพื่อยืนยันที่แน่นอน ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้มีรายงานโรคนี้ในภาคใต้ของประเทศไทยอีกครั้ง ในบางประเทศแถบยุโรปและอเมริกานับเป็นโรคสำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับพืชพวกครูซิเฟอร์ และ mustard family เป็นอย่างมาก
ส่วนเชื้อสาเหตุคือ Plasmodiophora brassicae ยังเป็นเชื้อพวกราเมือก (slime mold) เมื่อขยายพันธุ์และเจริญเติบโตเต็มที่จะกลายเป็น zoosporangia ทำให้เกิด resting spores เป็นจำนวนมาก เมื่อรากถูกทำลายจนแตกออกสปอร์พวกนี้ก็จะถูกปล่อยออกมาปะปนอยู่ตามดินรอการเข้าทำลายพืชต่อไป และหากไม่มีพืชให้เข้าทำลายสปอร์นี้ก็จะมีชีวิตอยู่ในดินได้นานถึง 7 ปี (ข้อมูลจากเว็บไซต์ไทยเกษตรศาสตร์ https://www.thaikasetsart.com/)
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: