เพชรบูรณ์-สุดอะเมซิ่ง!พบ“ทุ่งโขดหินฟอสซิลอายุ 240 ล้านปี” แหล่งธรณีวิทยาภูน้ำหยดฯวิเชียรบุรี เคยเป็นก้นมหาสมุทรโลกดึกดำบรรพ์ยุคปลายเพอร์เมียนมาก่อน
วันที่ 7 กรกฎาคม นายวิศัลย์ โฆษิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทีมอุทยานธรณีเพชรบูรณ์ซึ่งมีนักวิชาการจากกรมทรัพยากรธรณีฯ นายอำเภอวิเชียรบุรีและผู้นำชุมชนในท้องถิ่น ลงพื้นที่สำรวจแหล่งธรณีวิทยาแหล่งใหม่แหล่งที่ 22 ที่บริเวณหมู่ 12 บ้านยางจ่า ต.ภูน้ำหยด อ.วิเชียรบุรี ซึ่งสันนิษฐานว่าเคยเป็นใต้ท้องมหาสมุทรดึกดำบรรพ์ ที่มีซากฟอสซิลสัตว์และพืชใต้ท้องทะเลนานาชนิดเต็มไปหมดเลย โดยเกิดในช่วงตอนปลายยุคเพอร์เมียน ประมาณ 240 ล้านปีก่อน เกิดจากการสะสมของหินปูนใต้ทะเล
“ต่อมาเกิดการยกตัวของเปลือกโลก ทำให้แหล่งตะกอนหินปูนบริเวณนี้แตกกระจายออกแล้ว ไหลมากองรวมกันและมีการจับตัวเชื่อมประสาน จนเกิดปรากฎการณ์ธรณีวิทยาในระยะเวลาต่อมา จนกลายเป็นแนวโขดหินกรวดซึ่งพบว่ามีซากดึกดำบรรพ์จำพวกปะการัง หอยฝาเดียว หอยสองฝา หอยตะเกียง (แบรคีโอพอด) หอยงวงช้าง หอยบิน เรดิโอลาเรียน ฟิวซูลินิค และอื่นๆอีกมากมายอยู่ในโขดหินและก้อนหินทั้งขนาดเล็กและใหญ่ กินพื้นที่เป็นบริเวณกว้างกว่า 200 ไร่”นายวิศัลย์กล่าว
ข่าวน่าสนใจ:
- รวบสาวใหญ่ซิ่งมอไซค์ขนยาบ้า 516,000 เม็ด
- ผู้ว่าฯเพชรบูรณ์ เล็งจับเข่าหารือพัฒนา "เลยดั้น" พร้อมเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวน้ำหนาว
- มุกดาหาร -เลขาธิการ ป.ป.ส. ควงแม่ทัพภาค 2 ลงเรือตรวจสกัดกั้นการนำเข้ายาเสพติดตามแนวชายแดนไทย-ลาว จ.มุกดาหาร
- เพชรบูรณ์ - "ครอบครัวศรีประโค" บริจาคกระจกตาพ่อที่เสียชีวิต หวังช่วยให้ผู้อื่นกลับมามองเห็น
นายวิศัลย์กล่าวว่า นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติหรืออเมซิ่งทางธรณีวิทยาที่ทรงคุณค่าอยางยิ่ง ซึ่งไม่เพียงมีคุณค่าและความสำคัญในระดับประเทศเท่านั้นแต่ยังมีความสำคัญในระดับโลกอีก เนื่องจากจะเป็นการบ่งชี้ถึงสภาพตำแหน่งทางภูมิศาสตร์บริเวณนี้เคยเป็นก้นมหาสมุทรในโลกดึกดำบรรพ์มาก่อน ขณะนี้สร้างความเข้าใจกับทางชาวบ้านและผู้นำชุมชนในชุมชนท้องถื่นให้เห็นถึงความสำคัญและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวในภายภาคหน้าต่อไป
ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามจากการที่เพชรบูรณ์ประกาศจัดตั้งอุทยานธรณีวิทยาหรือจีโอปาร์คพร้อมรวบรวมข้อมูลเสนอต่อยูเนสโก้ โดยก่อนหน้านี้รวบรวมแหล่งธรณีวิทยาที่มีความสำคัญในจังหวัดได้จำนวน 21 แห่ง ทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวและมีการแจ้งข้อมูลแหล่งธรณีวิทยาใหม่ๆเข้ามาอย่างต่อเนื่องอย่างกรณีนี้เป็นต้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: