เพชรบูรณ์-พบแหล่งฟอสซิลดึกดำบรรพ์อายุ 240 ล้านปีที่ซับชมภูฯหนองไผ่ คาดเคยเป็นทะเลยุคเพอร์เมียน “วิศัลย์”ชี้หากต่อจิ๊กซอว์กับแหล่งฯภูน้ำหยด ทำให้เห็นสภาพภูมิศาสตร์ในยุคโลกดึกดำบรรพ์ที่เชื่อมสัมพันธ์กัน
วันที่ 15 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะเจ้าหน้าที่หลายฝ่ายในเขตพื้นที่อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ เดินทางไปตรวจสอบแหล่งฟอสซิลดึกดำบรรพ์ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณเนินเขา ตรงข้ามกับทางเข้าสวนรุกขชาติน้ำตกซับชมพภู ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวมีชื่อของอ.หนองไผ่ ของพื้นที่หมู่ 8 บ้านซับชมภู ต.บ้านโภชน์ อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ และอีกแหล่งที่บ้านซับเดื่อ หมู่ 6 ต.บ้านโภชน์ อ.หนองไผ่ ทั้งสองจุดห่างกันราว 10 กิโลเมตร โดยซากฟอสซิลดึกดำบรรพ์ที่พบส่วนใหญ่จะซากหอยชนิดต่างๆฝังอยู่ตามแท่งหินและก่อนหินทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ซึ่งสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนเช่นเดียวกันจากนั้นจึงจัดเก็บข้อมูลเพื่อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวมาสำรวจต่อไป
ทั้งนี้สืบเนื่องจากปัจจุบันทางจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ประกาศตั้งอุทยานธรณีวิทยาหรือจีโอปาร์ค และอยู่ระหว่างการรวบรวมแหล่งแหล่งธรณีเพื่อนำเสนอต่อยูเนสโก ซึ่งก่อนหน้านี้ทีมสำรวจธรณีวิทยาเพชรบูรณ์ได้พบและลงพื้นที่แหล่งซากฟอสซิลภูน้ำหยดอายุ 240 ล้านปี ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นก้นทะเลหรือมหาสมุทรในยุคเพอร์เมียน และมีรายงานการพบแหล่งฟอสซิลที่บ้านวังปลา อ.บึงสามพันอีกแห่ง โดยทีมงานธรณีวิทยาเพชรบูรณ์จะลงสำรวจในวันที่ 17 กรกฎาที่จะนี้ สำหรับหอยตะเกียงหรือ Brachiopods(แบรคิโอพอด)นี้ เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว มีรูปร่างคล้ายหอย แต่ไม่ใช่หอยเป็นคนละชนิดกัน โดยจะมี 2 ฝาประกบที่ไม่เท่ากัน มีหลายชนิดและหลายขนาดในแต่ละแห่งที่พบ
ข่าวน่าสนใจ:
- ผู้ว่าฯเพชรบูรณ์ เล็งจับเข่าหารือพัฒนา "เลยดั้น" พร้อมเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวน้ำหนาว
- รวบสาวใหญ่ซิ่งมอไซค์ขนยาบ้า 516,000 เม็ด
- เพชรบูรณ์ - "ครอบครัวศรีประโค" บริจาคกระจกตาพ่อที่เสียชีวิต หวังช่วยให้ผู้อื่นกลับมามองเห็น
- มุกดาหาร -เลขาธิการ ป.ป.ส. ควงแม่ทัพภาค 2 ลงเรือตรวจสกัดกั้นการนำเข้ายาเสพติดตามแนวชายแดนไทย-ลาว จ.มุกดาหาร
นายวิศัลย์ โฆษิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดเผยว่า แหล่งฟอสซิลที่พบในพื้นที่อำเภอหนองไผ่แหล่งนี้เป็นฟอสซิลหอยตะเกียงสายพันธุ์ต่างๆและ Fenestella ซึ่งเป็นสัตว์ทะเลเซลเดียว พบอยู่ในชั้นหินปูน อันเป็นหลักฐานสำคัญว่า บริเวณแห่งนี้เคยเป็นทะเลน้ำตื้นมาก่อน ประมาณช่วงกลางยุคเพอร์เมียน ราว 240-280 ล้านปีมาแล้ว โดยทีมธรณีวิทยาฯเพชรบูรณ์เคยลงพื้นที่แหล่งฟอสซิลใกล้เคียงกันมาก่อนหน้านี้แล้ว
นายวิศัลย์กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีรายงานการพบแหล่งฟอสซิลที่บ้านวังปลา ต.พญาวัง อ.บึงสามพันอยู่ในชั้นหินทราย ซึ่งก็เหมือนชายทะเล และเมื่อเมื่อเชื่อมโยงแหล่งซากดึกดำบรรพ์ทั้ง 3 แหล่งเหมือนการต่อจิกซอว์เข้าด้วยกัน ทำให้พอจะมองเห็นภาพรวมของสภาพภูมิศาสตร์ยุดดึกดำบรรพ์ในแนวพื้นที่นี้เมื่อ 240-280 ล้านปี ต่างมีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันตั้งแต่หาดทรายจนไปถึงทะเลลึกหรือก้นทะเล โดยสังเกตได้จากหลักฐานหอยตะเกียงที่อยู่ในชั้นหินที่แตกต่างกัน ในวันที่ 17 กรกฎาคมนี้ ทางทีมสำรวจธรณีวิทยาเพชรบูรณ์ จะลงพื้นที่บ้านวังปลา ต.พญาวัง อาจจะได้ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติม และยังการเป้นพิสูจน์ว่าจะเป็นไปตามข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นหรือไม่
นายวิศัลย์ โฆษิตานนท์ และ ดร.สมบุญ โฆษิตานนท์ นักธรณีวิทยาณลงสำรวจแหล่งฟอสซิลดึกดำบรรพ์ภูน้ำหยด
- ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ชี้แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้ำหยดสำคัญระดับโลก ยกเทียบแนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟทวีปออสเตรียเลีย / ข้อมูลจาก @77kaoded
- สุดอะเมซิ่ง! เพชรบูรณ์พบ “ทุ่งโขดหินฟอสซิลอายุ 240 ล้านปี” เคยเป็นก้นมหาสมุทรยุคปลายเพอร์เมียนมาก่อน / ข้อมูลจาก @77kaoded
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: