X

เพชรบูรณ์เล็งใช้รพ.เมืองเพชรเป็นรพ.สนาม รองรับหากโควิด-19 ระบาดหนัก

เพชรบูรณ์เล็งใช้รพ.เมืองเพชรเป็นรพ.สนาม รองรับหากโควิด-19 ระบาดหนัก ผู้ว่าฯใก้ปชช.อดทนปฏิบัติตามมาตรการ 2 สัปดาห์

วันที่ 20 มีนาคม ผู้สื่อรายงานว่า ในการแระชุมวาระยามเช้าเมื่วันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา นายสืบศักดิ์ เอี่ยมวืจารณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวในที่ประชุมประชุมโดยกำชับขอให้ทุกโรงพยาบาลมีการจัดเตรียมสถานที่รองรับผู้ป่วยติดเชื้อไว้ในทุกอำเภอ โดยเฉพาะสถานที่กักกัน อาทิ รพ.สต.และวัดที่สะอาดเป็นที่โล่งอากาศถ่ายเทได้ดี และขอให้ทุกฝ่ายปฎิบัติตามมาตรการที่ประกาศออกไป รวมทั้งขอให้ประชาชนอดทน 2 สัปดาห์ เพราะจะปล่อยให้มีคนป่วยเยอะไม่ได้เด็ดขาด จะทำให้เกิดการโกลาหลขึ้น เพราะฉะนั้นต้องทำทุกมาตรการที่สั่งไปอย่าให้หลุด หากหลุดมาเคสเดียวก็จะกระจายไปเยอะ เพราะฉะนั้นวิธีการที่ดีที่สุดคือการป้องกันตัวเองไม่ให้เป็นพาหนะของโรค

นพ.ชัยวัฒน์ ทองไหม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า หากเราช่วยกันไม่เพียงพอโดย 2 สัปดาห์นี้เอาไม่อยู่ เกิดการระบาดตามที่ทางผู้ว่าราชการจังหวัดกำชับ คาดการณ์ว่าเพชรบูรณ์อาจจะมีผู้ป่วยขึ้นมาถึงหลักพันคน ซึ่งในจำนวนนี้กระทรวงสาธารณสุขบอกว่าคนที่มีเชื้อทุกรายจะมีอาการมากหรือน้อยก็ตามให้กักตัวอยู่ที่โรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ตามรายงานของพญ.ดวงดาวรับผู้ป่วยหนักได้เพียง 1-2 คนเท่านั้น หากมากกว่านี้อาจต้องระดมทรัพยากรและบุคลากรจัดเป็นทีมมาช่วยรักษา ส่วนคนไข้ที่ไม่หนักหากเป็นห้องแยกรวมแล้วมี 15 ห้อง แต่ถ้ายกทั้งตึกเพื่อเอาคนป่วยไม่หนักกักอยู่ในบริเวณเดียวกันจะได้ราว 45 คน หากเกินกว่านั้นตามโรงพยาบาลต่างๆก็จะมีห้องแยกได้แค่โรงพยาบาลละ 1-2 เตียง

“ถ้ายังเกินอีกก็ต้องมองถึงโรงพยาบาลสนาม ตอนนี้มีโรงพยาบาลที่ไม่ใช้งานคือโรงพยาบาลเมืองเพชร โดยการปรับปรุงคงใช้ระยะเวลาแค่ 3 วันในการวางเตียง เพื่อรองรับผู้ป่วยเกิน 100 เตียงได้ ก็เป็นมาตรการที่มองไว้ ส่วนทีมแพทย์หากสถานการณ์มาถึงระดับนี้ก็คงต้องระดมทีมแพทย์ทั้งประเทศมาช่วย”นพ.ชัยวัฒน์กล่า

ด้าน พญ.ฤทัย วรรณธนวินิจ ผอ.โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ กล่าวว่า โรงพยาบาลเพชรบูรณ์มีห้องความดันลบ 1 ห้องและห้องแยกไม่ถึงกับห้องความดันลบแต่รับผู้ป่วยในกลุ่มนี้ได้จำนวน 2 ห้อง แต่โรงพยาบาลได้กันตึกนอนไว้หวอดหนึ่งเรียกว่า โควอตหวอดสำหรับรับผู้ป่วยสงสัย ในสมรรถนะของโรงพยาบาลหากเป็นผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงเส้นทางเดินถูกกำหนดให้ทุกคนถูกตรวจอุณหภูมิหมด ถ้าเป็นกลุ่มเสี่ยงจะถูกแยกไปตรวจในกลุ่มที่สงสัย ถ้าเป็นกลุ่มไข้หวัดธรรมดาก็จะแยกไปอีกส่วน หลังจากนั้นคุณหมอก็จะตรวจอีกทีหากพบเป็น positive หรือมีเชื้อก็จะส่งเข้าห้องความดันลบ หากไม่เพียงพอก็จะต้องติดต่อไปยัง 5 จังหวัดว่ามีที่ไหนบ้าง แม้แต่มหาวิทยาลัยนเรศวรก็อยู่ในกลุ่มนี้ และต้องมีหมอที่เชี่ยวชาญด้านปอดซึ่งโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ก็มีหมอทางด้านนี้เช่นกัน

“สำหรับผู้ป่วยในกลุ่มนี้หากผู้ป่วยต้องใส่เครื่องช่วยหายใจทุกโรงพยาบาลต้องส่งมาที่โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ แต่ถ้าเป็นการเฝ้าระวังก็อยู่ในโรงพยาบาลชุมชนได้ซึ่งเป็นระบบที่วางไว้หมด ฉะนั้นจึงมีตั้งแต่โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลจังหวัดและโรงพยาบาลศูนย์ในเขต 5 จังหวัด ที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งหมด และเป็นมาตรการที่วางไว้ก่อนที่จะมีผู้ป่วยชาวต่างชาติแอดมิดเข้ามา”พญ.ฤทัยกล่าว

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน