X

รมว.คมนาคมเผย ถนนขึ้นภูทับเบิกหยุดทรุดตัว แต่ยังต้องเฝ้าระวังต่อ

เพชรบูรณ์-รมว.คมนาคมเผย ถนนขึ้นภูทับเบิกหยุดทรุดตัว แต่ยังต้องเฝ้าระวังต่อ เก็บข้อมูล-ออกแบบคาดเสร็จสิ้นในเดือนกันยายน ย้ำเดือนต.ค.ยังต้องปิดถนนต่อไปให้นทท.เลี่ยงใช้เส้นทางอื่น

เวลา 15.30 น.วัน 1 กันยายน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง(รมว.)คมนาคมพร้อม ลงพื้นที่ตรวจติตตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาถนนภูทับเบิก กม.900+560 ถึง กม.10+650 ทางหลวงหมายเลข 2331 โจ๊ะโหวะ-อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ เกิดการทรุดตัว โดยมีนายกิตติพันธ์ ปาน จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงที่ 6 (เพชบูรณ์) นำคณะนายอาคมสำรวจพื้นที่ และมีนายอลงกรณ์ พรหมศิลป์ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงเพชรบูรณ์ที่ 1 รายงานสรุปถึงสถานการณ์ตั้งแต่เกิดเหตุการทรุดตัวของถนนเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา และขั้นตอนการสำรวจวิเคราะห์การทรุดตัวของถนนดังกล่าว ซึ่งล่าสุดสภาพการทรุดตัวของถนนเริ่มทรงตัวแต่ทางแขวงฯยังติดตามเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง

นอกจากนี้นายอาคมยังซักถามถึงการปรับปรุงเส้นทางลำลองเหมืองแบ่ง-ทับเบิก โดยมีทางหลวงชนบทจังหวัดรายงานว่าอยู่ระหว่างการสำรวจออกแบบถนนช่วง 4 กิโลเมตรที่เป็นถนนดินและก่อสร้างไม่เสร็จ ในขณะที่นายอาคมยังเน้นให้ประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยวเลี่ยงไปใช้ถนนทางหลวงหมายเลข 12 โดยเข้าทางบ้านแยง อ.นครไทยให้กระจายมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะการขอความร่วมมือจากเครือข่ายส่วนราชการอื่นๆด้วย ขณะเดียวกันยังสอบถามถึงการปิดถนนดังกล่าว ซึ่งนายอลงกรณ์ชี้แจงถึงชาวบ้านก็ยังจำเป็นต้องใช้เส้นทางนี้ลำเลียงพืชผักลงจากภูทับเบิก ซึ่งนายอาคมแนะนำให้ควบคุมน้ำหนักบรรทุก

นายอาคมให้สัมภาษณ์ว่า การทรุดตัวถนนทำให้เกิดความเสียหายราว 1.5 กิโลเมตร ช่วงที่ทรุดมากที่สุดราว 180 ซม. จึงต้องการจะมาดูว่าการแก้ไขในอนาคตจะทำอย่างไร ซึ่งก็ได้รับรายงานการแก้ไขโดยเฉพาะความเสียหายครั้งมีมีความเกี่ยวข้องกับธรณีวิทยา จึงมีการระดมนักวิชาการและน้กธรณีวิทยาฯลงเก็บข้อมูลซึ่งเกือบเสร็จแล้ว และเท่าที่ทราบถนนเส้นนี้สร้างขึ้นมากว่า 20 ปีแล้วและสร้างเพื่อความมั่นคงโดยทางกรมทางหลวงรับโครงการนี้มา และถนนเส้นนี้ก็สร้างลัดเลาะเขาไม่ได้มีการวิคราะห์ชั้นดิน และพื้นที่บริเวณนี้นักธรณีก็ชี้ว่าเป็นดินที่มีการสไลด์อยู่ในอดีตอยู่แล้ว และสังเกตุรอยทรุดไม่ใช่ทรุดตามถนนที่โค้งไปมาแต่ทรุดตัดแนวถนนลงมา ฉะนั้นช่วงนี้จะต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อดูว่าวิธีการแก้ไขจะทำอย่างไร

นายอาคมกล่าวว่า เท่าที่ทราบเคสแบบนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยและไม่เคยเกิดในเส้นทางกรมทางหลวง และทางหลวงชนบท การแก้ไขต้องใช้ความเห็นทางวิชาการอาจต้องใช้เวลาแต่พยายามจะทำให้เร็วที่สุด การรวบรวมข้อมูลและการออกแบบคาดว่าในราวเดือนกันยายนน่าจะเสร็จ ส่วนการแก้ไขเมื่อได้ข้อสรุปแล้วไม่น่าจะลำบากแต่ต้องรู้โครงสร้างของดินก่อน

“ตอนนี้ทางเจ้าหน้าที่เฝ้าสังเกตุการทรุดตัวทุดวันว่ายังจะมีการทรุดตัวต่อไปหรือไป และตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมาซึ่งมีการทรุดตัวต่อเนื่อง แต่ขณะนี้เริ่มอยู่ตัวแล้วแต่เพื่อความไม่ประมาทและต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ก็ยังจำเป็นต้องปิดถนนขึ้นภูทับเบิกเส้นนี้ต่อไป ส่วนนักท่องเที่ยวที่จะขึ้นภูทับเบิกมีทั้งเส้นเหมืองแบ่ง ซึ่งจะมีการเร่งก่อสร้างช่วงถนนตรงกลางให้แล้วเสร็จ และอีกเส้นทางให้เลี่ยงใช้เส้นทางนครไทยซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก”นายอาคมกล่าวและย้ำว่า ในจุดที่ถนนทรุดไม่แน่ใจว่าหากมีรถใหญ่ขึ้นมาจะเป็นการเพิ่มน้ำหนัก เพราะจากการสำรวจของนักธรณีก็ชี้ว่าดินบริเวณนี้ก็เป็นดินเหนียวปนหินทรายฉะนั้นโอกาสในการทรุดตัวก็ยังมี การเพิ่มน้ำหนักทำให้มีความเสี่ยง

นายอาคมกล่าวว่า ส่วนชาวบ้านบนเขาในช่วงเดือนกันยายนเมื่อฝนหยุดและถนนหยุดการทรุดตัว ก็จะมีการสร้างทางลำลองในเส้นนี้เพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้แต่ยังจำกัดน้ำหนักอยู่ เพราะในช่วงฤดูหนาวชาวบ้านจะขนพืชผักลงเพราะฉะนั้ตเพือช่วยเหลือชาวบ้านลดผลกระทบตรงนี้ ก็จะเป็นแก้ไขปัญหาชั้วคราวแต่ทั้งนี้ก็ต้องให้นักวิชาการให้ความเห็นเรื่องนี้ก่อน

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน