เพชรบูรณ์-อบจ.ฯจัดเต็ม เสริมเกราะติดอาวุธนักรบเสื้อกาวด์ชุดใหญ่ จัดวัสดุอุปกรณ์เวชภัณฑ์สู้โควิด-19 เต็มที่ ผอ.รพ.เพชรบูรณ์ร้องขอขยายห้องความดันลบเพิ่ม
วันที่ 3 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้จ.เพชรบูรณ์มีมาตรการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อไวรัสชนิดนี้อย่างเข้มข้น แต่เนื่องจากปัจจุบันวัสดุอุปกรณ์เวชภัณฑ์ยังมีไม่พอเพียง ทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเพชรบูรณ์ จึงมีมติขอให้ทางอบจ.ช่วยสนับสนุน ล่าสุด นายอัครเดช ทองใจสด นายกอบจ.เพชรบูรณ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ตนได้แจ้งในที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดฯไปแล้วว่า ไม่ขัดข้องและยินดีโดยพร้อมให้การสนับสนุนระบบสาธารณสุขของจ.เพชรบูรณ์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในสถานการณ์ขณะนี้ซึ่งเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงแพร่ระบาดต่อเนื่อง หากแพทย์พยาบาลมีอุปกรณ์เครื่องมือครบครัน ก็จะทำให้การสามารถดูแลรักษาผู้ป่วยได้เต็มที่ ในขณะที่ชาวเพชรบูรณ์ก็เกิดความเชื่อมั่นในศักยภาพของโรงพยาบาลและทีมแพทย์พยาบาล
นายอัครเดชกล่าวว่า ท่ามกลางสถานการณ์การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ การเซฟชีวิตและให้ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ อุปกรณ์เหล่านี้อาจจะมีราคาแพง แต่ทาง อบจ.ยินดีเสริมเกราะติดอาวุธให้แก่หมอพยาบาลเท่าที่ศักยภาพของ อบจ.เพชรบูรณ์จะทำได้ เพียงแต่อุปกรณ์เวชภัณฑ์เหล่านี้ ทางสาธารณสุขจังหวัดขอให้ช่วยแจ้งรายละเอียดและสเปกตามที่ต้องการ รวมถึงช่วยให้ข้อมูลถึงแหล่งจัดซื้อให้ด้วย เพื่อจะได้ทำให้การพิจารณาง่ายและเร็วขึ้นรวมทั้งทันต่อสถานการณ์ในขณะนี้
ข่าวน่าสนใจ:
ข่าวแจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดฯก่อนหน้านี้ มีมติขอให้ทาง อบจ.เพชรบูรณ์ช่วยสนับสนุน ประกอบด้วย น้ำยาฆ่าเชื้อ 5,500 ลิตร , ตู้ฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวน 30 ตู้, ปรอทวัดไข้(ดิจิตอล) 3,200 อัน, เทอร์โมสแกน ตรวจจับอุณหภูมิ 670 เครื่อง, ชุดป้องกันโรค 5,360 ชุด, ชุดป้องกันเชื้อโรค Jupiter 5 ชุด ทั้งนี้สำหรับชุด Jupiter ทาง พญ.ฤทัย วรรธนวินิจ ผอ.รพ.เพชรบูรณ์ ร้องขอเพราะเป็นชุดที่มีระบบเป่าอากาศถายในและใช้ซ้ำได้ เพียงแต่ต้องใช้วิธีฆ่าเชื้อแบบพาสเจอร์ไรส์ ซึ่งโรงพยาบาลไม่มีจึงขอให้ช่วยเพิ่มอุปกรณ์ฆ่าเชื้อเครื่องนี้เพิ่มเติมด้วย
นอกจาก พญ.ฤทัยกล่าวในที่ประชุมด้วยว่า “ขอเปิดใจเรื่องห้องความดันลบ (Negative Pressure) ที่โรงพยาบาลเพชรบูรณ์มีแค่ห้องเดียวไม่พอรองรับผู้ป่วยติดเชื้อกลุ่มนี้ จึงอยากเพิ่มเป็น 3 ห้องโดยปรับปรุงห้องแยกโรคซึ่งอาจต้องใช้งบฯราว 2 ล้านบาท ส่วนเงินที่ ส.ส.บริจาคให้ 400,000 บาทก่อนหน้านี้ จะนำไปใช้เป็นห้องแยกตรวจผู้ป่วยทางเดินหายใจออกมานอกตึก เพราะอนาคตบอกไม่ได้ว่าโควิด-19 กับโรคหายใจจะเมิร์ทเป็นโรคเดียวกัน เมื่อแยกไม่ได้จึงจำเป็นต้องแยกกลุ่มผู้ป่วยทั้งหมดออกนอกอาคาร และปรับให้ครบวงจรมีทั้งห้องหัตถการสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจและห้องเอ็กซเรย์ทั้งหมดไม่ให้ไปปนเปื้อนในระบบ”
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: