เพชรบูรณ์-เร่งสูบน้ำที่ผันจากอ่างท่าพล เข้าสระหลังองค์พระใหญ่ ช่วยลดการใช้น้ำอ่างป่าแดง คาดเมืองเพชรบูรณ์รอดวิกฤตถึงเดือน มิ.ย.นี้
วันที่ 25 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งจนทำให้เกิดวิกฤตการณ์ขาดแคลนน้ำดิบ สำหรับผลิตน้ำประปาในเขตชุมชนเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์และชุมชนใกล้เคียงของ อ.เมืองเพชรบูรณ์ ทำให้มีความจำเป็นต้องผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยขอนแก่นและอ่างน้ำก้อ จากพื้นที่ตอนบนของจังหวัดลงมาช่วยเหลือ แต่เกิดปัญหาน้ำจาก 2 อ่างดังกล่าว เดินทางมาตามแม่น้ำป่าสัก และมาถึงแค่เขตพื้นที่ตำบลนางั่ว อ.เมืองเพชรบูรณ์เท่านั้น ทำให้ทางชลประทานเพชรบูรณ์ ต้องปล่อยน้ำก๊อกสุดท้ายจากอ่างท่าพลลงมาช่วยอีก 8 แสนลบ.ม.เพื่อจะดันน้ำก้อนนี้มาให้ถึงจุดสูบน้ำเข้าสระเก็บกักน้ำบริเวณหลังพระใหญ่ให้ได้
ล่าสุดน้ำก้อนที่ปล่อยจากอ่างท่าพล ได้เดินทางมาถึงบริเวณฝายวังศาลดังกล่าวแล้ว ทำให้เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ตั้งเครื่องสูบน้ำ 2 เครื่อง เพื่อสูน้ำมาที่บริเวณทำนบบ้านปากบู่ ต.สะเดียง ระยะทางราว 1.5 กม. จากนั้นทางป้องกันบรรเทาสาธารณภัยเขต 9 พิษณุโลก ซึ่งได้นำเครื่องสูบน้ำระยะไกลมาตั้ง เพื่อสูบน้ำก้อนนี้เข้าไปยังสระน้ำหลังองค์พระใหญ่ ระยะทางราว 3.5 กม. ซึ่งคาดการณ์ว่าจะต้องใช้เวลาในการสูบน้ำยาวเกือบ 1 เดือน เพื่อให้ได้น้ำราว 5 แสน ลบ.ม.
โดยนายธีระยุทธ ทองสุก ผู้จัดการการประปาส่วนภูมิภาคเพชรบูรณ์ ระบุว่า น้ำจะถูกสูบไปเก็บไว้ที่สระหลังองค์พระใหญ่ จากนั้นก็จะถูกสูบส่งไปที่โรงกรองน้ำหนองนารี เพื่อผลิตน้ำประปาให้บริการชุมชนในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์และชุมชนรอบๆตำบลสะเดียง โดยจะเป็นการช่วยลดการใช้น้ำจากอ่างป่าแดงลง ซึ่งเดิมคาดการณ์ว่าอ่างป่าแดงน้ำจะหมดอ่างในราวกลางเดือนพฤษภาคมนี้ ก็จะสามารถยืดระยะเวลาออกไปได้อีก
ข่าวน่าสนใจ:
- หมดวาระอบจ.ตรัง รุ่งขึ้น “บุ่นเล้ง” เปิดตัวทันควัน ใช้ชื่อ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” แทน “ทีมกิจปวงชน” ชูนโยบาย “รวมพลังที่ยิ่งใหญ่ ขับเคลื่อนตรังให้เป็น 1”
- เพชรบูรณ์ - "ครอบครัวศรีประโค" บริจาคกระจกตาพ่อที่เสียชีวิต หวังช่วยให้ผู้อื่นกลับมามองเห็น
- คู่แข่งนอกสายตานายก ก้อย “พนธ์ มรุชพงษ์สาธร” ขอวัดดีกรีว่าที่นายก อบจ.แปดริ้ว
นายธีระยุทธยังคาดการณ์ด้วยว่า สำหรับน้ำที่สูบนี้ก้อนนี้อาจต้องใช้ระยะเวลาในการสูบราว 1 เดือน โดยจะได้น้ำดิบราว 5 แสน ลบ.ม. เพียงพอจะแก้วิกฤตขาดแคลนน้ำดิบไปได้จนถึงเดือนมิถุนายน ซึ่งน่าจะเริ่มมีฝนตกลงมาพอดี ส่วนการประปาฯขณะนี้มีแผนรองรับไฝ้เช่นเดียวกัน ตั้งแต่การสำรวจและซ่อมแซมท่อน้ำประปาที่แตกชำรุดเสีย เพื่อไม่ให้เกิดสูญเสียน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์
“นอกจากนี้ทางการประปาฯเพชรบูรณ์ยังเตรียมมาตรการรองรับ อาทิ การลดแรงดันน้ำลง ส่วนการจำกัดช่วงระยะเวลาการจ่ายน้ำประปาน้ำ คงเป็นมาตรการสุดท้ายซึ่งหากไม่จำเป็นจริงๆเป็นสิ่งที่ทางการประปาฯเพชรบูรณ์ไม่ต้องการจะทำ”นายธีระยุทธกล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: