เพชรบูรณ์-ปธ.เครือข่ายวิสาหกิจฯยื่นศาลปกครอง ฟ้อง มทร.ล้านนา-ผู้ว่าฯพิษณุโลก ใช้ดุลยพินิจเยื้อโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าฯ
เวลา 10.00 น.วันที่ 12 มิถุนายน ที่ศาลปกครองพิษณุโลก อ.เมือง จ.พิษณุโลก นส.ศิลาพร สิงหลักษณ์ อายุ 36 ปี ประธานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนศูนย์พัฒนาผลไม้สดและแปรรูปเพื่อการส่งออก ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองฟ้องร้องมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา(มทร.ล้านนา) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ในฐานะหัวหน้ากลุ่มจังหวัด ภาคเหนือล่าง 1 ประกอบด้วย จ.พิษณุโลก,เพชรบูรณ์สุโขทัย,ตากและอุตรดิตถ์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 โดยกล่าวหาผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 2 รายทำการละเมิดหรือใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบหรือละเลยล่าช้า ต่อโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรปลอดภัยแปรรูปและการตลาด ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ทั้งนี้มีกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้และมหาชนก พื้นที่ อ.วังทอง,อ.เนินมะปราง,อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก และกลุ่มเกษตรกรรอยต่อในพื้นที่ จ.พิจิตร,จ.เพชรบูรณ์จำนวนกว่า 60 คนร่วมด้วย
ทั้งนี้ในคำบรรยายฟ้องสรุปได้ว่า เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่างและใกล้เคียง ซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกราว 2 แสนไร่ ผลผลิต 200 ล้านกิโลกรัม รวมกลุ่มตั้งเครือข่ายขึ้นเพื่อต้องการพัฒนาผลผลิตและนำผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้มาใช้ประโยชน์ได้ทุกการผลิต ช่วยพยุงราคามะม่วงไม่ให้ตกต่ำและมีคุณภาพที่ต่างประเทศยอมรับได้ โดยกลุ่มเครือข่ายฯร่วมกับมทร.ล้านนาและคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ช่วยผลักดันโครงการฯมาตลอดระยะเวลา 2 ปีเศษ เพื่อให้โครงการก่อสร้างศูนย์ผลไม้ฯเกิดขึ้น จนขบวนการพิจารณากลั่นกรองโครงการผ่านขั้นตอนต่างๆ มีการทำ MOUความร่วมมือร่วมกันระหว่างมทร.ล้านนากับ กกร.3 สถาบันฯ จนภาครัฐเห็นชอบสนับสนุนงบฯกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ในการก่อสร้างโครงการฯ ภายใต้กรอบวงเงิน (Y1) 150 ล้านบาท
ข่าวน่าสนใจ:
ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกในฐานะประธานกลุ่มจังหวัดฯ โดยอ้างถึงอนุกรรมาธิการเสนอให้พิจารณาความพร้อม ระหว่างมหาวิทยาลัยนเรศวรและมทร.ล้านนา โดยวางเงื่อนไขเรื่องต้องยกที่ดินเพื่อการพาณิชย์และบริหารชุมชนไม่ใช่เพื่อการศึกษา และความชัดเจนเงินทุนในการบริหารศูนย์ผลไม้สดฯ ทั้งนี้ขบวนการพิจารณาในขั้นตอนนี้ผ่านไปแล้ว จนเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2563 ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ได้มีหนังสือถึงอธิการบดีมทร.ล้านนาโดยอ้างการสรุปความเห็นของคณะทำงานพิจารณาดำเนินโครงการ ให้สภา มทร.ล้านพิจารณารวม 6 เรื่องด้วยกัน
โดยเฉพาะเรื่องที่ดินต้องยินยอมให้กลุ่มจังหวัดฯใช้พื้นที่ เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์โครงการ มิใช่ยินยอมให้ใช้เพื่อการศึกษา แต่ยินยอมให้ใช้เพื่อการบริการสาธารณะเท่านั้น โดยเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องสามารถเข้ามาดำเนินกิจกรรมในศูนย์ผลไม้สดฯได้โดยสะดวก ส่วนแหล่งเงินทุนต้องชัดเจนถึงแหล่งที่มาและมีกฎหมายรองรับ โดยให้มหาวิทยาลัยฯทำ MOU กับแหล่งงบประมาณนั้น รวมทั้งให้สภามหาวิทยาลัยฯมีมติยืนยันว่าสามารถบริหารจัดการทั้งการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารงบประมาณในการลงทุนและการบริหารศูนย์ผลไม้สดฯ ทั้งนี้หากมีการปล่อยร้างสภามหาวิทยาลัยจะเป็นผู้รับผิดชอบในความเสียหายต่องบประมาณที่เกิดขึ้น
จนกระทั่งวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 ทาง มทร.ล้านนาได้มีหนังสือแจ้งมติที่ประชุมคณะบุคคลปฏิบัติหน้าที่แทนสภามทร.ล้านนา โดยระบุว่า สภามหาวิทยาลัยฯไม่สามารถอนุมัติให้ใช้ที่ดินได้ เนื่องจากเกินอำนาจหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ซึ่งการใช้ที่ราชพัสดุที่นอกเหนือจากวัตถุประสงค์เดิมคือการใช้ที่ดินเพื่อการศึกษา จะต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่มีอานาจหน้าที่เท่านั้น และสภามหาวิทยาลัยฯไม่สามารถที่จะผูกพันเกี่ยวกับเรื่องเงินทุนในการบริหารศูนย์ผลไม้สดเพื่อการส่งออกได้ และไม่สามารถรองรับการทา MOU กับแหล่งงบประมาณ ทั้งในเรื่องงบประมาณและการบริหารจัดการโรงงานในทุกด้าน รวมทั้งไม่สามารถรับผิดชอบความเสียหายต่องบประมาณที่เกิดขึ้นในอนาคตได้
ฉะนั้นหากโครงการดังกล่าวไม่เกิดขึ้น นอกจากจะทำให้เกษตรกรขาดความเข้มแข็ง ขาดประสบการณ์การแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ ขาดการพัฒนาผลผลิตทำให้คูณภาพสินค้าตกเกรดราคาขายตกต่ำ นอกจากนี้จากข้อเท็จจริงดังกล่าวจากข้อเท็จจริงดังกล่าว พบว่ามีการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ (ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก) ในสังกัดผู้ฟ้องคดีที่ 1และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 การทำละเมิดหรือใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ หรือละเลยล่าช้าในการดาเนินโครงการดังกล่าว เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายเป็นตัวเงินคำนวณได้เป็นเงินรวม 10,000 บาท เป็นการกระทำทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครองก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ฟ้องคดี ตามพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ประกอบมาตรา 9 วรรคแรก (1) (2) และ (3) พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 โดยขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน แก่ผู้ฟ้องคดีเป็นเงิน 10,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยผิดนัด ร้อยละ 7.5 ของต้นเงินดังกล่าว นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: