เพชรบูรณ์-ผู้ว่าฯเพชรบูรณ์ชงแก้ที่ดินเขาค้อ จัดคทช.-ให้เอกชนขอใช้ตาม ม.16 พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ 2507 ให้คณะกมธ.วิสามัญฯที่ดินสภาผู้แทนฯช่วยผลักดัน แนะรัฐบาลเร่งกระจายการถือครองที่ดิน ปชช. จัดงบฯทำคทช.มีเป้าหมายและบูรณาการจนท.รังวัด ย้ำหากให้งบฯทำ คทช.ปีละ 600 แปลง 100 ปีก็ไม่จบ
เวลา 09.00 น.วันที่ 23 มิถุนายน ที่ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาที่ดินในพื้นที่และการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน สภาผู้เแทนราษฎร นำโดยนายอนุชา น้อยวงศ์ รองปธ.กมธ.วิสามัญฯ ลงพื้นที่จ.เพชรบูรณ์ เพื่อรับทราบปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาที่ดินและการออกเอกสารสิทธิในพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ โดยมีนายสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ นำตัวแทนส่วนราชการในจังหวัดที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตัวแทนจากภาคประชาชน, ตัวแทนกลุ่มราษฎรที่ได้รับผลกระทบ, ตัวแทนองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และตัวแทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นำเสนอสภาพปัญหาที่ดินปัญหาที่ดินเขาค้อ-น้ำหนาว, ปัญหาที่ดินภูทับเบิกและที่ดินของกลุ่มชาติพันธ์ตำบลเข็กน้อย, ปัญหาที่ดินสาธารณประโยชน์, ปัญหาที่ดิน ส.ป.ก.
โดยนายสืบศักดิ์กล่าวสรุปถึงการดำเนินแก้ปัญหาที่ผ่านมา โดยระบุว่า ปัญหาที่ดินเขาค้อยืดเยื้อมายาวนานหลังจากทหารส่งคืนพื้นที่ให้กรมป่าไม้เมื่อปี 2562 เป็นหน้าที่ของคทช.มอบให้คทช.จังหวัดในอนุ1 สำรวจพื้นที่เพื่อจัด คทช. และมีการตั้งคทช.อำเภอป่าไม้เป็นประธาน กระทั่งมีการกลั่นกรองบุคคลในระดับอำเภอเขาค้อ 7 ตำบลเรียบร้อยแล้วและมีการประกาศทั้งในระดับอำเภอและระดับจังหวัด โดยเปิดให้โต้แย้งทั้งในชั้นอำเภอและจังหวัดชั้นละ 15 วัน แต่ที่ดินอีกส่วนเกี่ยวโยงกับโรงแรมซึ่งมีจำนวน 913 ราย เนื่องจากมีคำส่ง คสช.ที่ 6/62 ให้จดแจ้งโรงแรงที่ผิดกฎหมายและให้แต่ละจังหวัดหาทางแก้ไข
ข่าวน่าสนใจ:
“ทางจังหวัดเพชรบูรณ์จึงให้มีการยื่นจดแจ้งตามคำสั่ง คสช.มีเจ้าของและผู้ประกอบยื่นจดแจ้ง 457 รายและไม่จดแจ้ง 206 ราย ในส่วนที่ไม่จดแจ้งก็ดำเนินคดีทั้งหมด และระหว่างการรับจดแจ้งทางจังหวัดก็มอบหมายให้ทางมหาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ไปศึกษาเพื่อแนวทางการแก้ไขปัญหาของเขาค้อ กระทั่งได้ข้อสรุปในส่วนของโรงแรมซึ่งไม่ได้คทช.แต่ให้ใช้แนวทางขออนุญาตใช้ที่ดินตามมาตรา 16 พ.ร.บ.ป่าสงวนฯพ.ศ.2507 ตอนนี้โรงแรม 457 รายมาลงทะเบียนแล้ว 380 รายซึ่งยังไม่จบจะจบภายในเดือนนี้ หลังจากนั้นก็จะส่งเรื่องนี้ไปที่ คทช. ฉะนั้นสิ่งที่ คทช.จะรับเรื่องทั้งหมด 2 เรื่องได้แก่ เรื่องการจัดที่ดินคทช.และเรื่องโรงแรม นโยบายที่ส่วนกลางให้ทางจังหวัดทำจึงเรียนว่าทางเราไม่ได้อยู่เฉย”นายสืบศักดิ์กล่าว
ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์กล่าวย้ำว่า เรื่องนี้จึงฝากทางกมธ.ขอให้ช่วยไปต่อยอดในคทช.ซึ่งคณะกรรมการฯชุดนี้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานแต่ประชุมกันน้อยครั้งมาก ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่รัฐบาลต้องแก้ไขและเป็นการแก้ไขปัญหาของราษฎรในเรื่องการเหลื่อมล้ำที่ตรงจุดที่สุด การกระจายการถือครองที่ดินเป็นสิ่งที่ต้องทำ และสิ่งเหล่านี้ประเทศชาติจะอยู่รอดได้ ถ้าประชาชนมีสิทธิในการถือครองที่ดินทำกิน ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องทำและทำอย่างเร่งด่วน
“ปัญหาในเรื่อง คทช.ไม่ใช่เป็นปัญหาของจังหวัดเพชรบูรณ์แต่เป็นปัญหาของคนทั้งประเทศ ปัญหาที่เกิดก็คือจริงๆแล้วรัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับนโยบาย คทช.โดยให้งบฯอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ให้แบบกุ๊กๆกิ๊กๆเพชรบูรณ์มี 16 ป่าที่ต้องทำเราทำไป 3 ป่า แต่รัฐบาลให้งบฯในการแก้ไขปัญหาโด คทช.ปีละ 600 แปลง ผมดูแล้วอีก 100 ปีหากมีงบฯแบบนี้การแก้ไขปัญหาที่ดินในประเทศไทยไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะกี่รัฐบาลก็แล้วแต่ถ้าการแก้ปัญหาที่ดินทำกินยังไม่ใช่เป็นปัญหาหลัก และการกระจายการถือครองที่ดินได้ ประเทศชาติก็จะหลุดพ้นความเหลื่อมล้ำและความยากจน เรื่องนี้คณะ กมธ.ต้องไปผลักดันและให้งบประมาณ”นายสืบศักดิ์กล่าว
นายสืบศักดิ์กล่าวอีกว่า ปัญหาอีกเรื่องของกระทรวงทรัพยากรฯมีข้าราชการที่รังวัดได้จำนวนน้อย แต่จริงๆบุคลากรในการรังวัดในประเทศมีจำนวนมากต้องมีการบูรณาการ ที่ดินมีรังวัดทางอบต.ก็มีช่างรังวัดทำไมไม่กระจายอำนาจในการทำ คทช.โดยให้อำเภอ-จังหวัด มีป่าไม้เป็นหัวหน้าและการรังวัดก็ให้ใครก็ได้ ป่าไม้รับมาปีละ 600 แปลงอีก 100 ปีก็ไม่สำเร็จประเทศเราก็ไม่พ้นจากความยากจน
ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์กล่าวว่า เรื่องเขาค้อเนื่องจากมีราษฎรที่ถูกดำเนินคดีจำนวน 200-300 ราย ซึ่งไม่ใช่ผู้ว่าฯไม่อยากช่วย แต่เนื่องจากเป็นคดีที่อยู่ในศาล เรื่องนี้เรียกว่าการแก้ปัญหามีทางแก้ เพราะคนออกกฎหมายคือ ส.ส. ก็ให่ไปแก้กฎหมาย ฉะนั้นจะมาบอกว่าแก้นั่นไม่ไม่ได้แก้นี่ไม่ได้เพราะเราเลือกท่านไปแล้ว เมื่อเลือกไปแล้วมาบอกแก้ไม่ได้แล้วเราจะเลือกท่านไปทำไม ฉะนั้นอย่าบอกแก้ไม่ได้ก็ไปแก้กฎหมายสิ เมื่อคดีหมดเรียบร้อยแล้วไม่ติดคทช.ก็ต้องให้เขา ก็แก้กฎหมายเท่านั้นเองหรือแก้ระเบียบ และสิ่งที่ดำเนินการมาแล้วที่เขาค้อหากไม่ผลักดันต่อก็ไม่มีอะไรเลย จึงฝาก กมธ.เขาค้อจะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็อยู่ที่ กมธ.จะไปต่ออย่างไร
นอกจากนี้ที่ประชุมในการเสนอสภาพปัญหาการแก้ไขภูทับเบิก ซึ่งล่าสุดอยู่ระหว่างนำเสนอจ่อครม.ในเรื่องขอผ่อนปรนอนุญาตใช้ป่า, การผ่อนปรนขออนุญาตในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1เอ และการขอผ่อนปรนการปลูกป่า ในขณะที่กลัมตัวแทนราษฎรชาวม้งเสนอให้แก้ปัญหาที่ดิน 20000 ไร่ที่ปัจจุบันกลายเป็นที่ดินราชพัสดุ ซึ่งชาวม้งเรียกร้องให้ กมธ.ช่วยผลักดันให้ออกเอกสิทธิ โดยอ้างถึงสัญญาลุกผู้ชายหลังสิ้นสุดสมรภูมิเขาค้อและชาวม้งเข้ามอบตัวเพื่อช่วยพัฒนาชาติไทยตามนโยบาย 66/23
อย่างไรก็ตามก่อนปิดการกระชุม นายอนุชาได้แจ้งต่อที่ประชุมโดยยอมรับว่า ปัญหาที่เพชรบุถรณ์ไม่ใช่งานเล็กๆมีอะไรมาเกี่ยวข้องมากมาย โดยนายอนุชารับปากว่า กมธ.ชุดนี้ตั้งใจเต็มที่และดูนโยบายผู้มีอำนาจจะแก้ไขเรื่องนี้อย่างจริงจัง การประชุมครั้งนี้ไม่ได้มารับฟังสภาพปัญหาแล้วก็ไป สิ่งที่นำเสนอจะเป็นเรื่องที่นำต่อสภาฯวันที่มีการแถลงที่สภาฯจะมีการประมวลข้อสรุปและแจกจ่ายไปตามหน่วยงานต่างๆ
ข่าวแจ้งว่า ขณะที่คณะนายอนุชาเดินทางมาถึงได้ทีกลุ่มราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการแก้ไขการบุกรุกที่ดินของรัฐกลุ่มต่างๆ อาทิ กลุ่มตัวแทนราษฎร อ.เขาค้อ 135 รายที่ถูกทางเจ้าหน้าจับกุมในข้อหาบุกรุกป่าเขาค้อ ที่เรียกร้องความเป็นธรรมและการบังคับกฎหมายแบบ 2 มาตรฐาน ,กลุ่มผู้พัฒนาชาติชาติไทยซึ่งอ้างว่ายังไม่ได้รับการจัดสรรที่ดิน กลุ่มราษฎร หมู่ 11 ต.สะเดียง เดือดร้อนจากกรณีปัญหาที่ดินทับดินทับซ้อนที่ดินราชพัสดุ มายื่นข้อเรียกร้องขอความช่วยเหลือ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: