เพชรบูรณ์-ทีมสัตวแพทย์จ่อย้ายคอกลูกช้างพลัดหลงแม่ ไปในพื้นที่และเส้นทางฝูงแม่ช้างผ่าน ด้านปชช.เฝ้าลุ้นแม่ช้างจะมารับลูก (ชมคลิป)
วันที่ 16 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าเหตุการณ์พบลูกช้างป่าเพศผู้ อายุ 1-2 เดือนพลัดหลงแม่ บริเวณป่าข้าวโพดติดต่อกับป่าอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ ต่อมาเจ้าหน้าที่อุทยานฯได้จัดทำคอกกักลูกช้างในจุดบริเวณที่พลัดหลง ในขณะที่ประชาชนซึ่งติดตามข่าวต่อเนื่องต่างเกิดความสงสารและยังพากันหลงไหลในความน่าร้กน่าเอ็นดูของลูกช้างเชือกนี้ กระทั่งพากันให้กำลังใจและติดตามเฝ้าลุ้นว่าแม่ช้างจะกลับมารับลูกช้างเมื่อไหร่หรือสำเร็จหรือไม่ ขณะเดียวกันทางกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที 11 พิษณุโลก ได้จัดทีมสัตว์แพทย์เข้าไปทำการตรวจสุขภาพของลูกช้างเชือกนี้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา
ล่าสุดวันนี้(16 ก.ย.) มีรายงานผลการดำเนการของทีมสัตวแพทย์ที่ตรวจสุขของลูกช้างป่าพลัดหลงแม่เชือกนี้และแนวทางการนำกลับเข้าฝูงแม่ช้างเป้าหมายว่า คาดว่าลูกช้างน่าจะอายุราว 2 เดือน พบลูกช้างมีสภาพร่างกายผอมเล็กน้อย ไม่มีร่องรอยบาดแผล พฤติกรรมโดยรวมเป็นปกติ พบภาวะอาการท้องเสียเล็กน้อย ทางทีมสัตวแพทย์จึงได้ทำการปรับเปลี่ยนสูตรนมพร้อมทั้งปรับเปลี่ยนภาชนะและวิธีการป้อนนมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ขณะเดียวยังเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อยำไปตรวจสอบโรคโดยเฉพาะโรคเฮอร์ปีส์ไวรัสในช้าง เพื่อประเมินสุขภาพและเพื่อการวางแผนการดูแลให้เหมาะสม
ข่าวน่าสนใจ:
- ชมคลิป-เตรียมเที่ยวงาน 10 ชาติพันธุ์ ยิ่งใหญ่กว่าเดิมในรูปแบบใหม่ ชมขบวนแห่กลุ่มชาติพันธุ์อลังการ
- เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
- เพชรบูรณ์-ผปส.มูลนิธิรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ฯ จี้ผู้จัดคอนเสิร์ต-จนท.เข้มบุหรี่ไฟฟ้า
- เพชรบูรณ์ - นักท่องเที่ยวสุดเซ็ง! วางแผนไปเที่ยวเขาค้อภูทับเบิก หลังรู้ข่าวต้องเจอ"ทริปน้ำไม่อาบ" ยอมยกเลิกหรือปรับไปเที่ยวที่อื่นแทน
นอกจากนี้ยังจัดเตรียมจัดทำคอกใหม่และการเคลื่อนย้ายลูกช้าง ไปที่บริเวณพื้นที่สวนสนบ้านแปก ซึ่งมีความปลอดภัยสำหรับลูกช้างและเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์และการหากินของฝูงแม่ช้างเป้าหมาย ทั้งนี้เพื่อให้การดูแลสุขภาพและสวัสดิภาพของลูกช้างเป็นไปอย่างคล่องตัวและเหมาะสมยิ่งขึ้น รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่และตารางเวรยามในดูแลรักษาความปลอดภัย เฝ้าสังเกตการณ์เพื่อระวังอันตรายจากสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ โดยไม่รบกวนพฤติกรรมของลูกช้างและฝูงช้างป่าในธรรมชาติ
ส่วนการติดตามฝูงแม่ช้างเป้าหมาย จัดเจ้าหน้าที่ภาคสนามเดินเท้าติดตามเดินเท้าแกะรอยติดตามหาตำแหน่งฝูงแม่ช้างเป้าหมายและใช้กล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติครอบคลุมพื้นที่ที่คาดว่าเป็นแหล่งอาศัยหากิน เพื่อเพื่อประเมินลักษณะการเคลื่อนที่ ตำแหน่งฝูงแม่ช้างเป้าหมาย และศึกษาวงรอบเส้นทางการเคลื่อนที่หากินกลับมายังคอกปล่อยลูกช้างกลับเข้าฝูงแม่ช้างเป้าหมาย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: