เพชรบูรณ์-ชลประทานฯชี้พายุโนนึล! ชุมชนเมืองเพชรบูรณ์รอดวิกฤตขาดแคลนน้ำดิบ หลังอ่างปาแดงน้ำไหลเข้าเพียบ ส่วนรอบอำเภอเมืองฯส่อแล้งหนัก หลัง 4 อ่างน้ำไม่เข้า
วันที่ 1 ตุลาคม นายเชษฐา ดิษยมาลย์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเพชรบูรณ์ กล่าวว่า จากอิทธิพลของพายุโนอึลและขณะนี้ยังมีร่องมรสุมพาดผ่าน ส่งผลให้มีฝนตกหนักและต่อเนื่อง จนทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บกักในภาพรวมทั้ง 11 แห่ง โดยอ่างเก็บกักน้ำที่เกินร้อยละ 50 มีจำนวน 7 แห่ง ยกเว้น 4 แห่งที่อยู่ในเขต อ.เมืองเพชรบูรณ์ ได้แก่ อ่างท่าพล,อ่างป่าเลา,อ่างเฉลียงลับและอ่างห้วยใหญ่ ซึ่งนอกจากจะมีน้ำต้นทุนน้อยอยู่แล้วและยังมีน้ำไหลลงน้อยอีกด้วย จึงทำให้สถานการณ์พื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำเหล่านี้จึงน่าเป็นห่วง จำเป็นจะต้องมีการบริหารจัดการการใช้น้ำ ไม่เช่นนั้นฤดูแล้งปีหน้าจะมีปัญหาภัยแล้งตามมาอย่างแน่นอน
นายเชษฐากล่าวว่า ส่วนสถานการณ์น้ำอุปโภคบริโภคในเขตอ.เมืองเพชรบูรณ์กลับเป็นตรงกันข้าม เนื่องจากพายุโนอึลและร่องมรสุมพาดผ่านทำให้ฝนตกต่อเนื่อง กระทั่งทำให้อ่างป่าแดงซึ่งเป็นแหล่งน้ำดิบสำคัญในการผลิตน้ำประปาให้บริการให้แก่ชุมชนเมืองเป็นหลัก มีน้ำไหลเข้ามากจนปริมาณน้ำที่เก็บกักสูงถึงร้อยละ 83 ของปริมาณเก็บกักทั้งหมด ประกอบกับที่ผ่านมามีการพัฒนาแก้มลิงบริเวณหลังองค์พระใหญ่ ซึ่งแหล่งน้ำดิบสำรองอีกแห่งสำหรับผลิตน้ำประปา โดยมีการผันน้ำจากแม่น้ำป่าสักมาเก็บกักไว้ค่อนข้างเยอะ ทำให้ฤดูแล้งปีหน้าพื้นที่ชุมชนเมืองในเขตเทศบาลเมืองฯจึงไม่น่าเป็นห่วง
ข่าวน่าสนใจ:
ผอ.โครงการชลประทานเพชรบูรณ์กล่าวอีกว่า ตอนนี้อ่างท่าพลมีปริมาณน้ำ 3.5 ล้านลบ.ม.เมื่อหักน้ำก้นอ่างจะเหลือน้ำใช้การได้ราว 2 ล้านลบ.ม.เศษ, อ่างป่าเลาปริมาณน้ำ 2.7 ล้านลบ.ม.หักน้ำก้นอ่างเหลือน้ำใช้การ 2.5 ลบ.ม. ส่วนอ่างห้วยใหญ่มีปริมาณน้ำเก็บกักราว 3.3 ลบ.ม.หักน้ำก้นอ่างเหลือน้ำใช้การราว 2.7 ล้านลบ.ม. และอ่างเฉลียงลับในปีนี้จะแย่มากมีน้ำเก็บกักราว 1.1 ล้านลบ.ม.เมื่อหักน้ำก้นอ่างจะเหลือน้ำใช้การได้ราว 4 แสนลบ.ม.เท่านั้น จึงจำเป็นต้องวางแผนให้ใช้เพื่ออุปโภคบริโภคและประปาชนบทเท่านั้น ฉะนั้นตอนนี้จึงต้องรอลุ้นว่าในเดือนตุลานี้นี้จะยังมีมรสุมเข้าอีกหรือไม่
“ส่วนน้ำเพื่อการเกษตรคงจะช่วยไม่ได้ ฉะนั้นจึงฝากให้ทางท้องถิ่น ควรเร่งสูบสูบน้ำในแม่น้ำป่าสักเข้ามาเก็บสำรองเป็นแหล่งน้ำดิบไว้ให้มากสุดเท่าที่จะทำได้”นายเชษฐากล่าวและว่า “ฉะนั้นโดยสรุปสถานการณ์น้ำในเขตเทศบาลเมืองฯคงจะรอดพ้นวิกฤต เพราะอ่างป่าแดงมีน้ำดิบพอเพียง ส่วนสถานการณ์รอบๆเมืองเพชรบูรณ์ยังวิกฤตเพราะอ่างเก็บกักน้ำทั้ง4 แห่งมีปริมาณค่อนข้างน้อย”
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: