เพชรบูรณ์-พบรอยตีน-ฟอสซิลคล้ายชิ้นส่วนซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ 200 ล้านปีที่เพชรบูรณ์ “วิศัลย์”ทึ่ง!ประสานกรมทรัพย์ฯ ส่งผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ (มีคลิป)
วันที่ 3 ธันวาคม นายวิศัลย์ โฆษิตานนท์ ผู้อำนวยการอุทยานธรณีเพชรบูรณ์ เปิดเผยว่า มีการค้นพบรอยตีนและฟอสซิลคล้ายชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ดึกดำบรรพ์ ในเขตรักษาพันธุ์รักษาสัตว์ป่าภูผาแดง ต.ปากช่อง อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ สืบเนื่องจากทางอุทยานฯได้ส่งทีมสำรวจลงพื้นที่ไปสำรวจรอยตีนสัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์ เมื่อวันที่ 28-29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา หลังจากมีข้อมูลจากกรมทรัพย์ฯระบุว่าเคยพบรอยตีนสัตว์โบราณในลำห้วยน้ำดุกจำนวน 2 รอย ปรากฎว่าทีมพบรอยตีนจำนวนราว 10 รอยบนก้อนหินทรายขนาดใหญ่ ซึ่งเข้าใจว่าหลุดพังมาจากหน้าผาลักษณะเป็นหินในหมวดหินพองยุคไทรแอสสิกตอนปลายอายุประมาณ 200 ล้านปี อยู่ในลำห้วยน้ำดุกและลำห้วยกลฑา ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดงดังกล่าว
นายวิศัลย์กล่าวอีกว่า แต่ที่น่าทึ่งก็คือทีมสำรวจยังพบกลุ่มหินฟอสซิลคล้ายชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ดึกดำบรรพ์จำนวนค่อนข้างมาก ที่บริเวณริมห้วยกลฑาซึ่งอยู่เหนือจุดที่พบรอยตีนไปราว 1 กม. จากการสังเกตุลักษณะทางด้านกายภาพสามารถพอจะบ่งชี้ได้ว่า ฟอสซิลเหล่านี้ไม่ใช่หินตามธรรมชาติ แต่เป็นซากฟอสซิลคล้ายชิ้นส่วนโครงกระดูกของสัตว์ดึกดำบรรพ์ โดยมีทั้งฟอสซิลที่คล้ายชิ้นส่วนกระดูกสันหลัง กระดูกโคนขา กระดูกซี่โครง ส่วนจะเป็นฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์ชนิดไหนยังไม่สามารถชี้ชัดได้ คงต้องรอการพิสูจน์จากทางผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งล่าสุดได้มีการส่งรายงานและข้อมูลการค้นพบทั้งรอยตีนและฟอสซิลคล้ายชิ้นส่วนโครงกระดูกสัตว์ดึกดำบรรพ์ไปยังกรมทรัพย์แล้ว พร้อมประสานให้จัดส่งผู้เชี่ยวขาญมาตรวจพิสูจน์
ข่าวน่าสนใจ:
- DSI ร่วมบริจาคน้ำดื่มให้ท่านจุฬาราชมนตรี เพื่อช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
- เพชรบูรณ์ - "ครอบครัวศรีประโค" บริจาคกระจกตาพ่อที่เสียชีวิต หวังช่วยให้ผู้อื่นกลับมามองเห็น
- นนทบุรี หนุ่ม 16 ขับเบนช์ เสียหลักเหินขึ้นไปคาอยู่บนรถ 6 ล้อรอดตายปาฏิหาริย์
- ผู้ว่าฯเพชรบูรณ์ เล็งจับเข่าหารือพัฒนา "เลยดั้น" พร้อมเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวน้ำหนาว
ผอ.อุทยานธรณีเพชรบูรณ์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เคยมีรายงานการค้นพบฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์โปซอโรพอตที่น้ำหนาวเมื่อปี 2538 ฉะนั้นหากผลการพิสูจน์ยืนยันว่าฟอสซิลชิ้นส่วนสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่พบล่าสุด เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์หรือไดโนเสาร์จริง ก็น่าจะเป็นการยืนยันว่าพื้นที่แถบบริเวณนี้เคยมีไดโนเสาร์หรือสัตว์ดึกดำบรรพ์อยู่อาศัยมาก่อน สำหรับกระดูกไดโนเสาร์โปซอโรพอตที่พบที่น้ำหนาว ถือเป็นไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: