เพชรบูรณ์-ทนายแนะชาวบ้านป่าเลาฟ้องเป็นคดีแพ่งเพิกถอน นส.ล.ที่พช.159 มั่นใจหากใช้ภาครัฐเชื่อไม่สำเร็จ
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากชาวบ้านตำบลป่าเลา-นางั่ว อ.เมืองเพชรบูรณ์ ที่ได้รับผลกระทบจากข้อพิพาทเรื่องที่ดินสาธารณประโยชน์ป่าโคกตาด ถูกทางราชการฟ้องร้อง กระทั่งศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ชาวบ้าน 23 รายออกจากที่ดิน ต่อมาทางอำเภอเมืองและทางเทศบาลตำบลนางั่วยื่นฟ้องบังคับคดีขับไล่ โดยชาวบ้านมอบให้ทนายความยื่นคำร้องของดบังคับคดีชั่วคราว กระทั่งศาลฯอนุญาตเลื่อนการไต่สวนออกไป 90 วัน โดยนัดไต่สวนอีกครั้งในวันที่ 27 เม.ย.65 นี้ ล่าสุดนายประทีป นวลเศรษฐ ทนายความ กล่าวว่า ความคืบหน้าขณะนี้ชาวบ้านมีความเห็นโดยแตกความคิดออกเป็น 2 แนวทาง โดยกรณีข้อที่พิพาทที่ดินฯป่าโคกตาดปัจจุบันพิสูจน์ได้เกือบ 100% การออก นส.ส.ที่ พช.159 แปลงนี้ออกโดยมิชอบตามกฎหมายค่อนข้างแน่นอน
“แต่ขบวนการเพิกถอนมีหลายขั้นตอนจะใช้ฝ่ายรัฐหรือหน่วยราชการเพิกถอนก็ได้ แต่ขบวนการตรงนี้ฟันธงได้เลยถึงทางตัน เทศบาลฯ อำเภอฯหรือกรมที่ดินไม่เพิกถอนแน่นอน เพราะหากดำเนินการขึ้นมาพวกเขาเดือดร้อนหมด โดยเฉพาะหากรังวัดที่ดินเดิมก็จะไปโดนโฉนดหมด ฉะนั้นแนวทางนี้คิดว่าชาตินี้เป็นไปไม่ได้แน่นอน แม้คณะกรรมาธิการ (กมธ.) มาแล้วและพิสูจน์ได้พอสมควรก็ตาม ก็ไม่อำนาจสั่งอะไรได้ทั้งสิ้น แม้แต่ กมธ.ความมั่นคงฯ ให้รังวัดใหม่ แต่มติของ กมธ.ไม่ผูกพันที่จะสั่งหน่วยราชการได้ ในขณะที่นายราเมศ รัตนะเชวง เลขาฯ ประธานรัฐสภา ก็ลงมาติดตามดูเรื่องนี้และมีบันทึกเป็นมติที่ประชุมชัดเจนให้รังวัดใหม่ แต่มติตรงนี้ก็ไม่ผูกพันเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นถึงวันนี้ผมมั่นใจว่า จะไม่มีการรังวัดที่ดินฯ 10,000 ไร่ใหม่อย่างแน่นอน”ทนายความฯ กล่าว
ข่าวน่าสนใจ:
นายประทีปกล่าวอีกว่า แต่แนวทางที่ชาวบ้านทำกันมาทั้งหมดนั้นไม่ได้เสียเปล่า แม้ชาวบ้านอีกกลุ่มจะมีความคิดไปทางศาลปกครอง แต่ตนก็ชี้เหตุผลถึงปัญหาเรื่องอายุความและเรื่องนี้ศาลปกครองอาจมองไม่ใช่ประโยชน์สาธารณะ นอกจากนี้ชาวบ้านอีกส่วนเชื่อการอยู่เฉย ๆ โดยไม่ขับเคลื่อนต่อสู้ ทางราชการก็ยังจะให้อยู่ในที่ดินต่อไป แต่จะถูกให้ออกจากที่ดินเมื่อไหร่นั้นไม่รู้หรือตอบได้ ส่วนแนวทางที่คิดว่าน่าจะเป็นทางออกของชาวบ้านได้ดีและเป็นทางออกทางเดียวในมุมมองของตนในฐานะทนายความ คือชาวบ้านต้องฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลจังหวัดเพชรบูรณ์ให้เพิกถอน นส.ล.ที่พช.159
“พอฟ้องร้องแล้วขอให้ศาลสั่งรังวัดได้ และไม่มีทางที่กรมที่ดินจะไม่ทำ เพราะมีข้อกฎหมายผู้พัน แม้ฝ่ายการเมืองเข้ามาทำโดยมีมติที่ประชุม ก็ไม่ได้มีอำนาจะขอผูกพันกรมที่ดินรังวัดใหม่ได้ นอกจากคำสั่งจากศาลเท่านั้นจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด นอกจากนี้ระหว่างการพิจารณาคดีชาวบ้านยังยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวควบคู่ไปด้วย และหากหลักฐานที่ชาวบ้านได้มาใหม่ ทำให้ศาลมีคำตัดสินเพิกถอน นส.ล. ชาวบ้านจึงยื่นฟ้องร้องต่อศาลอาญาเพื่อขอรื้อคดี แนวทางนี้ผมได้แนะนำไปแล้วก็ขึ้นกับชาวบ้านจะเห็นด้วยหรือไม่”นายประทีปกล่าวพร้อมกล่าวทิ้งท้ายอีกด้วยว่า “คำพิพากษาต้องแก้คำพิพากษา”
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: