เพชรบูรณ์-พบฟอสซิลไดโนเสาร์ คาดเป็นกระดูกหน้าแข้ง ยุคเดียวกับโปรซอโรพอด อายุ 200 ล้านปี ที่เคยพบก่อนหน้านี้ ทีมสำรวจฯลงพื้นที่เก็บข้อมูลส่งผู้เชียวชาญกรมทรัพย์ตรวจสอบ
วันที่ 9 เม.ย.65 ผู้สื่อข่าวรายงายว่า คณะทีมงานสำรวจอุทยานธรณีเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยนายสุชิน อินทร์สา ผู้ทรงคุณวุฒิอุทยานธรณีฯ, นางสาวฐิติรัตน์ อรุณรัตนพงษ์ ผอ.ส่วนยุทธศาสตร์ สนง.ทสจ.พช., นายชัชพล ทองอยู่ จนท.บริหารงานทั่วไป สนง.ทสจ.พช., นายพนมเทียน ทองสิทธิ์ นักธรณีอิสระจังหวัดเพชรบูรณ์ และ นายธนาดร พุทธาวันดี จนท.ประสานความร่วมมือและพัฒนาเครือข่าย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้รับมอบหมายจากนายวิศัลย์ โฆษิตานนท์ ผู้อำนวยการอุทยานธรณีเพชรบูรณ์ (Phetchabun Geopark) ลงพื้นที่ ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านห้วยหญ้าเครือ หมู่ที่ 1 ต.น้ำหนาว อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ เพื่อทำการสำรวจซากฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์
ข่าวน่าสนใจ:
- พ่อค้ายาเกมส์ ซุกยาบ้าในกล่องนมมิดชิด รอส่งพ่อค้ารายย่อย ไม่รู้ตร.ซุ่มกวาดล้าง ถูกรวบพร้อมของกลาง 70 เม็ด
- จนมุมเพราะไก่ชน!! ตำรวจบางละมุงวางแผนเหนือเมฆ หลอกแก๊งค์ค้ายานรกมาซื้อไก่ชน ก่อนตามรวบยกแก๊งค์ ยึดยาบ้าแสนเม็ด - ไอซ์ 1 กก. พร้อมรถ 2 คัน…
- เขาค้อผวา "ทริปน้ำไม่อาบ" นอภ.สั่งตั้งจุดตรวจ เกรงหลังเสร็จกิจกรรมภูทับเบิก แก๊งแว้นเตลิดเขาค้อ
- ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง! อธิบดีกรมท่าฯ ร่อนนส.ด่วน! แจ้งบอกเลิกสัญญาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินตรัง 1.2 พันล.แล้ว…
ตามที่นายสาธิต คำเจียกขจร เครือข่ายอุทยานธรณีเพชรบูรณ์พื้นที่น้ำหนาวแจ้งรายงานว่า มีการพบซากกระดูกดึกดำบรรพ์ หรือ ฟอสซิล (Fossil) คล้ายกระดูกไดโนเสาร์ ภายในไร่การเกษตรของนายเล็ง สนทอง ราษฎรบ้านห้วยหญ้าเครือ ขณะทำการปรับไถที่ดินเพื่อทำดารเพาะปลูกทำไร่มันสำปะหลัง หลังจากนั้นในการประชุมหมู่บ้านมีการนำชิ้นส่วนคล้ายกระดูกสัตว์ซึ่งกลายสภาพเป็นหินจำนวน 3 ชิ้นมาให้ผู้นำหมู่บ้านและชาวบ้านดู หลังนายสาธิตได้พบเห็นชิ้นส่วนซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ดังกล่าวคล้ายซากฟอสซิล จึงแจ้งประสานไปยังอุทยานธรณีฯเพื่อให้ตรวจสอบเบื้องต้น และจากการติดต่อประสานงากับทางตัวแทนกรมทรัพยากรธรณี ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า เป็นซากสัตว์ดึกดำบรรพ์แน่นอน และมีความเป็นไปได้มากว่าน่าจะเป็นชิ้นส่วนกระดูกส่วนหน้าแข้งของไดโนเสาร์ ส่วนจะให้แน่ชัดจะต้องทำการสำรวจเพิ่มเติม ทำให้คณะทีมสำรวจอุทยานธรณีฯได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่เพิ่อสำรวจตรวจสอบพร้อมจัดเก็บข้อมูล
อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าลักษณะชิ้นส่วนคล้ายกระดูกสัตว์ ได้แปลสภาพเป็นหินซึ่งมีความหนักกว่ากระดูกปรกติโดยทั่วไป มีน้ำหนักทั้ง 3 ชิ้นรวมกันกว่า 4.5 กิโลกรัม เมื่อได้นำทั้งสามชิ้นมาต่อกันพบว่ามีความยาวอยู่ที่ 59 เซนติเมตร ทางทีมงานสำรวจฯ จึงได้ทำการถ่ายภาพเก็บรวบรวมข้อมูลของแต่ละชิ้นที่พบ เพื่อเตรียมส่งให้ผู้เชียวชาญตรวจสอบ และยังสันนิษฐานว่าอาจจะยังมีชิ้นส่วนอื่นอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย
ทั้งนี้นายพนมเทียน ทองสิทธิ์ นักธรณีอิสระจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า จากการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้ให้ความเห็นที่น่าสนใจ จากข้อมูลที่ส่งไป ผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสันนิษฐานคาดว่าจะเป็นซากดึกดำบรรพ์เนื่องจากเห็นเนื้อเซลกระดูกที่ผิวนอกกะเทาะออกมาให้เห็นจากรูปร่าง Outline คาดว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์กินพืช อาจเป็นชิ้นส่วนกระดูกหน้าแข้ง (fibula) หรือกระดูกแขน (radius) เพราะกระดูกของพวกสัตว์กินพืชจะค่อนข้างตัน ถ้าเป็นไดโนเสาร์พวกกินเนื้อกระดูกแขนขาจะมีรูกลวงตรงกลางเพื่อทำให้คล่องตัว แต่ทั้งนี้ยังขาดองค์ประกอบสำคัญที่จะยืนยันเพิ่มเติมข้อมูลได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์จริงจึงต้องเข้าไปยังจุดที่พบเพื่อศึกษาหมวดชุดหินว่าอยู่ในยุคไหนต่อไป
จากนั้นนายเล็ง สนทอง ผู้พบซากฟอสซิลฯได้นำเข้าไปยังพื้นที่ที่พบซากดังกล่าวซึ่งอยู่ห่างจากบ้านประมาณ 6-7 กม. มีลักษณะเป็นพื้นที่เนินเขาสูงต่ำ ทางทิศตะวันออกมองเห็นภูกระดึงชัดเจน ในจุดที่พบปัจจุบันเป็นไร่ทำกินปลูกมันสำปะหลัง โดยนายเล็ง สนทอง เจ้าของไร่ผู้พบซากเล่าให้ฟังว่าได้ทำกินที่นี่มากว่า 10 ปี ก็ไม่เคยพบเห็น จนมาเดือนมีนาคมที่ผ่านมาตนได้ไถไร่เพื่อเตรียมแปลงปลูกและได้พบว่ามีวัตถุแปลกๆเหมือนกระดูกสัตว์จึงได้นำมาดูและได้พบว่าเป็นก้อนหินที่แปลกจึงได้ทำการเก็บกลับมาจำนวน 3 ก้อน และเมื่อวันที่ 6 เมษายน ที่ผ่านมามีการประชุมหมู่บ้านตนจึงได้นำมามอบให้กับทางหมู่บ้านเพื่อให้ผู้ที่รู้ดำเนินการต่อไป
ในขณะที่นายวิศัลย์ โฆษิตานนท์ ผอ.อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สำรวจของทีมสำรวจ เบื้องต้นสันนิษฐานว่า น่าจะมีฟอสซิลส่วนอื่นๆเพิ่มเติมอีก จึงขอให้ทางเจ้าของที่ดินช่วยอนุรักษ์บริเวณจุดที่พบฟอสซิลดังกล่าวไว้ก่อน ซึ่งนอกจากเจ้าของที่ดินจะให้ความร่วมมืออย่างดีแล้ว ยังมอบซากฟอสซิลดังกล่าวให้ทางอุทยานฯนำกลับมาเพื่อทำการศึกษาค้นคว้าอีกด้วย ส่วนความคืบหน้าขณะนี้นั้น คงต้องรอผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญสัตว์ดึกดำบรรพ์หรือไดโนเสาร์โดยเฉพาะลงพื้นที่มาทำการสำรวจอีกครั้ง
นายวิศัลย์กล่าวว่า เมื่อ 280-240 ล้านปีพื้นที่จ.เพชรบูรณ์เกิดจากเคลื่อนตัวเข้าหากันของเปลือกโลกหรืออนุทวีป 2 แผ่น คือ อินโดไชน่า (Indochina Micro Plate) ทางตะวันออก และ ชาน-ไทย (Shan-Thai Micro Plate) ทางตะวันตก จึงเกิดการดันและยกตัวของทะเลดึกดำบรรพ์ขึ้นมากลายเป็นแผ่นดินและภูเขา ทำให้เกิดสิ่งมหัศจรรย์ทางธรณีวิทยาต่างๆขึ้นมากมาย ที่ผ่านมาที่ อ.น้ำหนาวมีการพบฟอสซิลชิ้นส่วนไดโนเสาร์ชนิดโปรซอโรพอด ในชั้นหินหมวดน้ำพองยุค Triassic (ไทรแอสซิก) อายุประมาณ 200 ล้านปี โดยถือเป็นไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยส่วนตัวจึงสันนิษฐานว่าชิ้นส่วนฟอสซิลที่พบล่าสุดที่บ้านห้วยหญ้าเครือก็น่าจะอยู่ในยุคใกล้เคียงกัน
ข่าวแจ้งว่า จากข้อมูลทางธรณีวิทยาของ จ.เพชรบูรณ์ มีรายงานว่ามีการสำรวจชุดหินในพื้นที้อ.น้ำหนาวม่ก่อนหน้านั้แล้ว โดพบว่าเป็นชุดหินน้ำพอง (Trnp) ย่อมาจาก Tr. =Triassic (ไตรแอสสิค) NP = Nam pong(น้ำพอง) มีอายุกว่า 100 – 200 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งจังหวัดเพชรบูรณ์เคยมีการพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ส่วนปลายของกระดูกอิสเซียม (กระดูกสะโพกส่วนหน้า) ของไดโนเสาร์โปรซอโลพอด มาแล้วเมื่อปี พ.ศ.2535 ในเขตอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยพบว่าอยู่ในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย (210ล้านปี) เก่าที่สุดในประเทศไทยและยังพบว่ามีการค้นพบแหล่งไดโนเสาร์ ชนิดโปรโซพอด ยุคไทรแอสซิก ที่ภูกระดึง จ.เลย ที่มีอายุกว่า 209 ล้านปี เป็นการพบชิ้นส่วนไดโนเสาร์โปรซอโรพอด ครบทุกชิ้นส่วน ราว 30 กว่าชิ้น ในปี พ.ศ. 2553
Cr : ทีมสำรวจอุทยานธรณีเพชรบูรณ์ เอื้อเฟื้อภาพ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: