วันที่ 30 เม.ย.65 ที่บ้านป่าแดง ต.ป่าเลา อ.เมืองเพชรบูรณ์ ชาวบ้านป่าแดงจำนวนหลายร้อยคน ร่วมกันอัญเชิญพระพุทธรูปปางห้ามญาติหรือที่เรียกว่า “หลวงพ่อห้ามญาติ” หรือ ”หลวงพ่อพระทอง” ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์กลาง หมู่ที่ 5 บ้านป่าแดง ขึ้นประดิษฐานบนเสลี่ยงแคร่ไม้ แห่แหนไปตามถนนภายในหมู่บ้าน เพื่อให้ชาวบ้านได้กราบไหว้สักการะบูชา พร้อมทำพิธีสรงน้ำ ทั้งนี้ชาวบ้านซึ่งต่างมีความเหลื่อมใสศรัทธาได้นำภาชนะรองใส่น้ำที่ได้จากสรงองค์พระนำกลับไปเพื่อความเป็นสิริมงคล หลังจากนั้นขบวนแห่จึงอัญเชิญพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวไปที่บริเวณอ่างเก็บน้ำป่าแดง เพื่อประกอบพิธีหามพระดำน้ำหรือแห่น้ำพระทองตามประเพณีที่มีการสืบทอดกันมายาวนานกว่า 100 ปี
ทั้งนี้ในการอัญเชิญหลวงพ่อปางห้ามญาติลงสรงน้ำหรือดำน้ำภายในอ่างเก็บป่าแดงดังกล่าว มี ดร.วิศัลย์ โฆษิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์, นายสุทัศน์ จันทรแสงศรี อดีต ส.ส.เพชรบูรณ์, นายจักริน นาคสำราญ ส.จ.เพชรบูรณ์, นายประสิทธิ์ มาจาก นายกอบต.ป่าเลา รวมทั้งผู้นำในหมู่บ้านร่วมกันประกอบพิธีกรรมดำน้ำหรือสรงน้ำหลวงพ่อปางห้ามญาติ จำนวน 3 ครั้ง
ข่าวน่าสนใจ:
- ชาวบ้านเอือมระอา!ไฟใต้จะจบปีไหน-บึ้ม อส.รปภ.ครูเจ็บ 3
- รับสมัคร นายกอบจ.-ส.อบจ.ตรัง วันแรกคึกคัก! บ้านใหญ่ตระกูลโล่ฯ-ส.ส.ตรังทุกพรรค-กองเชียร์นับพัน แห่ให้กำลังใจ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” สู้ศึกอีกสมัย…
- ชายวัย 50 ปี เปลี่ยนถังแก๊สเอง จุดเตาทำกับข้าวไฟพรึ่บคลอกเจ็บหนัก
- เปิดศึกชิงนายก อบจ.ปัตตานี อดีต สส.ท้าชน อดีตนายก อบจ.4 สมัยเดือดตั้งแต่วันแรก (มีคลิป)
ภายใต้ความเชื่อที่ว่าหลังการประกอบพิธีกรรมแล้ว จะทำให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุขและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ท่ามกลางชาวบ้านป่าแดงและบริเวณใกล้เคียงนับร้อยคน และยังมีนายชัยสิทธิ์ ชัยสัมฤทธิ์ผล นายอำเภอเมืองเพชรบูรณ์, น.ส.พิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ ส.ส.เพชรบูรณ์และนายประทิน นาคสำราญ นายก อบต.สะเดียงเข้าร่วมพิธีดังกล่าวด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่า ระหว่างแห่แหนพระพุทธรูปปางห้ามญาติ “หลวงพ่อห้ามญาติ” หรือ “หลวงพ่อพระทอง” เพื่อให้ชาวบ้านร่วมกันสรงน้ำ ขณะเดียวกัน ดร.วิศัลย์ซึ่งเข้ากราบไหว้สักการะหลวงพ่อปางห้ามญาติเช่นกัน ได้สังเกตุเห็นที่บริเวณทรวงอกขององค์พระรูปดังกล่าว มีร่องรอยชำรุดโดยมีผิวองค์พระถูกกะเทาะออก จนแลเห็นเนื้อในของพระพุทธรูปปางห้ามญาติเป็นเนื้อสำริด
จนทำให้ ดร.ศัลย์ต้องรู้สึกอึ้ง เนื่องจากตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี ที่เข้าร่วมประเพณีและพิธีกรรมนี้ เพิ่งมีโอกาสพบเห็นเนื้อพระพุทธรูปปางห้ามญาติเป็นเนื้อสำริดเป็นครั้งแรกแบบโดยบังเอิญ ซึ่งตรงกับคำบอกเล่าชาวบ้านที่เล่าขานถึงพระพุทธรูปองค์นี้เดิมเป็นเนื้อสำริด จนกลายเป็นตำนานของหมู่บ้านบ้านป่าแดง
“เดิมไม่เคยเนื้อที่แท้จริงของพระพุทธรูปองค์นี้ ที่ผ่านมาเห็นแต่สีเคลือบอยู่ซึ่งสงสัยมาตลอดว่าเป็นเนื้ออะไรกันแน่ จะเป็นเนื้อทองแดง เนื้อสำริด เนื้อทองเหลืองหรือเนื้อปูน ฉะนั้นวันนี้จึงค่อนข้างชัดเจนว่าพระพุทธรูปโบราณหลวงพ่อปางห้ามญาติหรือหลวงพ่อทองเป็นเนื้อสำริด โดยเป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยอู่ทองอายุราว 300 ปี” ดร.วิศัลย์กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: