เพชรบูรณ์-ผู้ถูกดำเนินคดีรุกป่าเขาค้อ ชี้!มติ ครม.14 มี.ค.66 ผลักเป็นที่ราชพัสดุ ยิ่งทำให้เกิดปัญหายุ่งยากซับซ้อนขึ้น โต้แก้ปัญหาภาครัฐมากกว่าแก้ความเดือดร้อนให้ ปชช.
วันที่ 22 มี.ค.66 นายดามพ์ จุฑาประวัติ ซึ่งเป็น 1 ใน ผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกดำเนินคดีบุกรุกป่าสงวนฯที่เขาค้อ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 14 มีนาคม 2566 มีมติปลดล็อกที่ดิน 4 ตำบลของ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ โดยให้กรมป่าไม้เพิกถอนป่าสงวนแห่งขาติและให้กรมธนารักษ์เข้าดำเนินการตามกฎหมายที่ราชพัสดุว่า เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปดูข้อเท็จจริง โดยเฉพาะกลุ่มราษฏรพยายามสืบค้นข้อเท็จจริง กระทั่งพบเอกสารกรณีป่าเขาค้อ ซึ่งในอดีตภาครัฐมีการจัดสรรที่ดินแปลงใหญ่ให้แก่ราษฎร ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ก่อนจะมีการประกาศเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โดยเฉพาะข้ออ้างที่ทหารขอใช้พื้นที่ป่าข้างละ 1 กิโลเมตรจากกรมป่าไม้ ซึ่งราษฎรได้หลักฐานชัดเจนว่ามีบางส่วนที่ไม่ตรงข้อเท็จจริง กระทั่งข้อมูลผิดพลาดเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้บังคับกฎหมาย จนนำไปสู่การจับกุมราษฎรที่อยู่อาศัยนอกบล็อก แต่อยู่ในผังการจัดที่ดินแปลงใหญ่ จนส่งผลกระทบต่อราษฎรจนถึงทุกวันนี้
นายดามพ์กล่าวอีกว่า การที่ ครม.มีมติออกมาแบบนี้ในมุมมองของตน คิดว่าริดรอนสิทธิของประชาชน โดยเฉพาะที่บอกว่า การเปิดให้ประชาชนพิสูจน์สิทธิในที่ดินที่ครอบครองทำกินนั่น เป็นการผลักภาระให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก โดยราษฎรจะมีความรู้ความเข้าใจและเวลารวมทั้งกำลังทรัพย์ ที่สามารถจะไปพิสูจน์สิทธิ์หรือเปล่า ที่ผ่านมามีเคสตัวอย่างไม่ว่าจะเป็นที่ อ.หนองไผ่ ซึ่งกรมธนารักษ์ให้ประชาชนพิสูจน์สิทธิ์เช่นเดียวกัน ตั้งแต่ปี 2518 ถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีผลสรุปของการพิสูจน์สิทธิ์เลย“นอกจากนี้ยังมีเคสที่ดิน 20,000 ไร่ ที่ปัจจุบันกรมธนารักษ์มีข้อพิพาทเรื่องที่ดินราชพัสดุ กับทางราษฎรชาวตำบลเข็กน้อย อ.เขาค้อ ซึ่งไม่ยินยอมขึ้นทะเบียนที่ดินที่ครอบครองทำกินเป็นที่ราชพัสดเข่นกัน จนเป็นปัญหาคาราคาซังแก้ไม่ตก ฉะนั้นจึงคิดว่ามติ ครม.ที่จะให้ประชาชนไปพิสูจน์สิทธิ์เป็นการโยนปัญหานี้ ไปเป็นภาระให้ลูกหลานต่อไปในอนาคต เป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำ”นายดามพ์กล่าว
นายดามพ์กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันข้อร้องเรียนของประชาชนก็ยังคาราคาซังอยู่ ควรจะพิจารณาให้จบสิ้นก่อน จะผิดหรือถูกกลุ่มราษฎรต่างยอมรับกติกา แต่ที่ผ่านมาข้อร้องเรียนของประชาชนที่ไดรับผลกระทบไม่เคยได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ส่งหนังสือไปไม่เคยตอบกลับและไม่เคยเรียกราษฎรที่ได้รับผลกระทบไปชี้แจงข้อเท็จจริง มีเพียงคณะ กมธ.ป.ป.ช.ที่ยื่นมือช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริง และยอมรับข้อมูลของราษฎร แม้แต่การประชุมในระดับจังหวัดก็ยังยอมรับว่าเป็นข้อบกพร่องของภาครัฐ แต่ทำไมถึงไม่แก้ให้ถูกต้องก่อน แต่กลับไปซ้ำเติมโดยให้เป็นที่ราชพัสดุ ยิ่งทำให้การแก้ปัญหายุ่งยากซ้ำซ้อนขึ้นไปอีกนายดามพ์กล่าวว่า ส่วนผลการประชาคมเรายอมรับผลการทำประชาคม 25 หมู่ย้านเห็นด้วย 10 หมู่บ้านไม่เห็นด้วย แต่ไม่ยอมรับขั้นตอนของการทำประชาคม เพราะมีการรวบรัดชี้นำแต่ข้อดีไม่พูดถึงข้อเสีย ถึงการเป็นที่ราชพัสดุคืออะไรดีกรือเสียอย่างไร ไม่มีการนำเสนอข้อมูลทั้งสองด้าน ที่สำคัญก็คือข้อมูลที่ถูกปล่อยช่วงทำประชาคม เป็นแค่สิ่งที่ทางจังหวัดคาดหวัง จะให้กรมธนารักษ์พิจารณาในแนวนี้ อาทิ บอกจะให้ค่าเช่าไร่ละ 20 บาท แต่หากกรมธนารักษ์ไม่ยอมประชาชนจะอย่างไร
ข่าวน่าสนใจ:
- เพชรบูรณ์ - 2 นักการเมืองรุ่นเก๋า ไม่ยอมแพ้สังขาร ลั่น"ใจยังสู้เกิน 100" มั่นใจรักษาแชมป์ ส.อบจ.เพชรบูรณ์ไว้ได้
- สมัครชิง ส.อบจ.เพชรบูรณ์ วันแรกคึกคัก! โยนเหรียญหัว-ก้อยลุ้นเบอร์ ผู้สมัครฯพรรคปชน.-อิสระ ท้าชนอดีตแชมป์สังกัดว่าที่นายก อบจ. 7 สมัย
- ผู้ว่าฯเพชรบูรณ์ เล็งจับเข่าหารือพัฒนา "เลยดั้น" พร้อมเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวน้ำหนาว
- เพชรบูรณ์ - "ครอบครัวศรีประโค" บริจาคกระจกตาพ่อที่เสียชีวิต หวังช่วยให้ผู้อื่นกลับมามองเห็น
“ผมจึงมองว่ามติ ครม.ปลดล็อกที่เขาค้อที่ออกมานั้น จะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้จริงหรือไม่ เพราะยังต้องมีขบวนการอีกมากมาย นอกจากนี้ผมยังมองอีดว่ามติครม.เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 น่าจะเป็นสิ่งเลื่อนลอย เป็นการแก้ไขปัญหาแค่ภาครัฐ มากกว่าที่จะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรอย่างแท้จริง”นายดามพ์กล่าว
เมื่อถามว่า จะนำมติ ครม.นี้ไปใช้ประโยชน์ในทางคดีหรือไม่ นายดามพ์กล่าวว่า ตอนนี้คดีบุกรุกที่ตนถูกดำเนินคดีและพยายามต่อสู้นั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้มีคำตัดสินพิพากษาแล้วโดยลงโทษจำคุก 1 ปีไม่รอลงอาญา และก่อนหน้านี้ตนเพิ่งจะยื่นฎีกาโดยเปลี่ยนเป็นการรับสารภาพไปแล้ว อย่างไรก็ตามเมื่อมติ ครม.ที่ออกมาดูแล้วเป็นประโยชน์ก็เตรียมจะยื่นแถลงต่อศาลฎีกาเพิ่มเติม
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: