เพชรบูรณ์-ผู้ว่าฯชี้แจงเหตุผล ครม.มีมติปลดล็อกให้ที่ดินป่าสงวนไปเป็นราชพัสดุ ตัดพ้อ!ถูกด่าอ่วมเป็นโจรในเครื่องแบบแต่ไม่โกรธ! ยันไม่มีที่ดินบนเขาค้อแม้แต่นิ้วเดียว
เวลา 10.00 น วันที่ 5 เมษายน นายกฤษณ์ คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชนรงมทั้งตัวแทยชาวบ้านในเขตพื้นที่ 4 ตำบล อ.เขาค้อ เพื่อชี้แจง มติครม.เมื่อวันที่ 14 มี.ค.66 ปลดล็อกที่ดินเขาค้อ โดยให้กรมป่าไม้เพิกถอนป่าสงวนฯและให้กรมธนารักษ์เข้าดำเนินการตามกฎหมายที่ราชพัสดุ โดยมีธนารักษ์จังหวัดฯ ป่าไม้จังหวัดฯและที่ดินจังหวัดฯร่วมชี้แจงพร้อมตอบข้อสงสัยจากผู้ร่วมประชุมฯ โดยนายกฤษณ์กล่าวว่า ประเด็นปัญหาที่ดินเขาค้อเป็นข้อพิพาทระหว่างราษฎรกับรัฐยืดเยื้อมา 30-40 ปีแล้ว จนมีข้อสรุปกันว่าทำอย่างไรก็ได้ให้ราษฎรออกจากป่าสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข เมื่อปี 2562 สมัยผู้ว่าฯสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ มีการทำประชาคมซึ่งทุกทิศทางต้องการให้ทางจังหวัดเสนอแนวทางแก้ไขให้ ตอนนั้นมี 3 แนวทาง ได้เแก่ ป่าไม้ให้เช่า เป็นธนารักษ์และเป็นคทช.
นายกฤษณ์กล่าวว่า แต่ปัญหาคุณสมบัติ คทช.ไปอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากการทำการเกษตร ซึ่งในข้อเท็จจริงในพื้นที่ไม่ได้ทำการเกษตรอย่างเดียว แต่ประกอบอาชีพหลากหลาย ส่วนกรณีป่าไม้ให้เช่านั้นทางอธิบดีกรมป่าไม้ยืนยันไม่สามารถให้เช่าได้ เพราะมีสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว กระทั่งได้ข้อสรุปสุดท้ายเพื่อให้ชาวบ้านหลุดจากกฎหมายป่าไม้ก่อน จึงมีการออกในรูปแบบของธนารักษ์ จึงมีการเสนอไปตั้งแต่ปี 2564 แต่สาเหตุที่ช้าไม่รู้ไปติดขั้นตอนไหน จนจะยุบสภาทางครม.จึงมีมติออกมา โดยการช่วยเหลือจากบุคคลท่านหนึ่ง ซึ่งตนไม่อยากระบุชื่อ เพราะเป็นช่วงเลือกตั้ง ได้ไปคุยกับนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งมีการสั่งการให้ช่วยแก้ไขปัญหาเขาค้อก่อนยุบสภา
ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า นี่คือที่มาของมติครม.14 มี.ค.ไม่ใช่เรารวบหัวรวบหางอะไร และในมติ ครม.ก็มีเขียนชัดเจนว่าไม่ตัดสิทธิ์การพิสูจน์ที่จะออกโฉนด แต่ตอนนี้แม้จะมติ ครม.แต่ยังไม่มีการทำอะไรเลยในหน่วยงานของรัฐ ทางจังหวัดจะตัองผลักดันต่อ ซึ่งตนได้มีหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ทุกอย่างที่เกิดขึ้นมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นธนารักษ์ ไม่ว่าจะเป็นโฉนดหรือ คทช. คือจุดมุ่งหมายเดียวกันคือให้ชาวเขาค้อ หลุดจากสิ่งที่ตนต้องจำใจทำ ท่านรู้ไม่ว่าทั้งผู้ว่าฯ,ป่าไม้ นายอำเภอถูกร้องว่าละเว้นในการปฎิบัติหน้าที่คือบีบให้ตนไปจับพวกเรา แต่ผู้ว่าฯถือหมวก 2 ใบคือเจ้าหน้าที่ในการปราบปราบ และอีกใบต้องช่วยชาวบ้าน ฉะนั้นตนจึงหาทางออกให้พวกเราในสิ่งที่ดีที่สุด
ข่าวน่าสนใจ:
- ผู้ว่าฯเพชรบูรณ์ เล็งจับเข่าหารือพัฒนา "เลยดั้น" พร้อมเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวน้ำหนาว
- เพชรบูรณ์ - "ครอบครัวศรีประโค" บริจาคกระจกตาพ่อที่เสียชีวิต หวังช่วยให้ผู้อื่นกลับมามองเห็น
- เพชรบูรณ์ - 2 นักการเมืองรุ่นเก๋า ไม่ยอมแพ้สังขาร ลั่น"ใจยังสู้เกิน 100" มั่นใจรักษาแชมป์ ส.อบจ.เพชรบูรณ์ไว้ได้
- สมัครชิง ส.อบจ.เพชรบูรณ์ วันแรกคึกคัก! โยนเหรียญหัว-ก้อยลุ้นเบอร์ ผู้สมัครฯพรรคปชน.-อิสระ ท้าชนอดีตแชมป์สังกัดว่าที่นายก อบจ. 7 สมัย
“ผมไม่มีที่ดินบนเขาค้อแม้แต่นิ้วเดียว ครอบครัวผมก็ไม่มีที่ดินบนเขาค้อแม้แต่นิ้วเดียวเช่นกัน แต่ทุกวันนี้ตั้งใจไว้ว่าถ้าเป็นผู้ว่าฯเพชรบูรณ์จะแก้ปัญหาเขาค้อ ภูทับเบิกจะแก้ให้ได้ และจะเป็นปัญหาอันดับหนึ่งของจังหวัด ซึ่งเราก็เดินมาทางนี้ แต่ระยะหลังมีพวกเราไปได้ข้อมูลใหม่ว่าจะมีช่องทางจะต่อสู้ ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีถ้าสามารถสู้ไปได้ ซึ่งก็ไปอีกสเต็ปแต่ตอนนี้ยังเป็นลมเป็นแล้งอยู่ ยังไม่มีอะไรที่มารองรับอะไรพวกเราเลย แม้กระทั่งเรื่องของธนารักษ์ เราก็ต้องผลักดันต่อไป เพื่อให้เขาทำตาม มติ ครม. ผมจึงเชิญพวกเรามาชี้แจงทำความเข้าใจ”นายกฤษณ์กล่าว
อย่างไรก็ตามจากนั้นทางธนารักษ์จังหวัดฯ ได้ชี้แจงข้อดีข้อเสียหากปรับเปลี่ยนเป็นที่ราชพัสดุ โดยชี้ว่าราษฎรครอบครองทำประโยชน์อยู่แล้ว ส่วนข้อเสียหากเปลี่ยนมาเป็นที่ราชพัสดุมี 2 ข้อๆแรก มีการเช่าก็ต้องชำระค่าเช่ากับกรมธนารักษ์ และข้อสองหากจะดำเนินการอะไร ก็ต้องขออนุญาตจากกรมธนารักษ์ก่อน ส่วนข้อดีหากยอมรับสิทธิการเช่า ทางรัฐจะยอมรับสิทธิในการอยู่อาศัยอย่างถูกต้องตามกฏหมาย และทำประโยชน์ในที่ดินที่เช่าได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น โรงแรม รีสอร์ต ปั้มน้ำมัน ฯลฯ แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายอื่น และยังสามารถนำสัญญาเช่าซึ่งมีอยู่ 4 ประเภท ไปติดต่อขอน้ำขอไฟฟ้า ลงทะเบียนเกษตรกร ขอเลขที่บ้านที่ไม่ใช่เลขที่บ้านชั่วคราว และข้อสำคัญทางอบต.สามารถสนับสนุนงบฯทำสาธารณูปโภคได้เต็มที่ และยังนำสิทธิการเช่าไปผูกพันเงินกู้หรือกู้แบงค์ได้
ในขณะที่ทางป่าไม้จังหวัดฯ และทางที่ดินจังหวัดฯชี้แจงถึงข้อเด่นและข้อด้อยหากพื้นที่ยังเป็นป่าสงวนฯ โดยป่าไม้จังหวัดฯสรุปถึงขั้นตอนขออนุญาตใช้พื้นที่ป่า ค่อนข้างยุ่งยากสลับซับซ้อน และหากพื้นที่ขออนุญาตมีสิ่งปลูกสร้างจะไม่ได้รับการพิจารณา หากไม่มีมติ ครม.หรือกฎหมายอื่นรองรับ ส่วนที่ดินจังหวัดฯชี้แจงสรุปว่า แม้จะมีใบจองขบวนการอนุญาตถูกต้อง แต่บางทีก็ออกโดยผิดพลาด อาทิ ไปออกเขตเขา ปริมณฑลรอบเขา เขตความลาดชันเกิน ส่วนโอกาสพิสูจน์สิทธิ์แม้จะมี แต่ก็ไม่รับปากว่าจะได้หรือไม่ ซึ่งข้อมูลล่าสุดจากพนักงานที่ดินส่วนแยกเขาค้อตีความว่า ในพื้นที่เป็นเขตเขาทั้งหมดก็เลยต้องห้าม ฉะนั้นหากไปเป็นธนารักษ์น่าเป็นทางออกที่ดี
อย่างไรก็ตามก็มีชาวบ้านตั้งคำถามถึงอัตราค่าเช่าและเป็นที่ดินตนเองทำไมต้องเสียค่าเช่า ผู้ว่าราชการจังหวัดฯชี้แจงว่า ยังไม่จบทางกรมธนารักษ์ยังไม่ตอบ ในขณะที่ทางธนารักษ์จังหวัดฯกล่าวว่า ที่ดินตัวเองแต่จริงๆเป็นที่ดินป่าสงวน แต่อยู่กันมานานไม่อยากจ่ายค่าเช่า ซึ่งทางจังหวัดฯเสนอไปราษฎรเดิม, รอส.และลูกหลานทายาท 10 ปีแรกอยู่ฟรี ปีที่ 11 เก็บค่าเช่าไร่ละ 20 บาทต่อปี ส่วนราษฎรที่ทำการเกษตรอัตราเช่า 10 ปีแรกไร่ละ 20 บาท แต่ถ้าเป็นธุรกิจโรงแรมรีสอร์ตไร่ละ 200 บาทต่อปี ซึ่งนายกฤษณ์กล่าวเสริมว่า ถูกทางกรมธนารักษณ์ซักถามมาว่า ทำไมผู้ว่าฯคิดเลสแบบนี้หากเปรียบเทียบกับจังหวัด จึงชี้แจงไปว่า ข้อเท็จจริงไม่เหมือนกัน แต่หากกรมธนารักษ์จะว่ายังไงก็ต่อรองมา
นายกฤษณ์ยังกล่าวชี้แจงกรณีที่มีผู้ใหญ่บ้านยางรายเสนอให้ผู้ว่าฯจัดประชุมผู้เห็นต่างทั้ง 35 หมู่บ้านอีกว่า ยินดีรับไว้พิจารณา แต่ปัญหาจะไม่เกิดหากไม่มีการโต้แย้งหรือเอาประเด็นพวกนี้มาทะลาะกัน ตนก็มีสายข่าวอยู่เอาผู้ว่าฯเอานายอำเภอไปด่าเป็นโจรในเครื่องแบบ อยู่ในไลน์ในกลุ่ม ซึ่งตนเห็นแต่ไม่ได้เอาเรื่องเอาราว ตนไม่ใช่โจรและจะไปเอาอะไรกับคนเขาค้อ ที่ทำมาก็พยายามจะช่วยและแก้ไขปัญหาให้กับจังหวัดเพชรบูรณ์ ท่านนายอำเภอโดนอ่วมเลย เป็นเหตุให้ตนเชิญมาพูดคุยกันในวันนี้
“เรื่องนี้คิดว่าคนเขาค้อรู้ดีที่สุด ไม่ต้องมีใครไปชี้แจงก็น่าจะรู้ดีที่สุดว่า ตัวเองอยู่ในสถานะอย่างไร และสิ่งที่ทางราชการทำก็ผ่านการประชาคมคั้งแต่ปี 63-64 แล้วพวกเราก็มากลับลำในปีนี้ ส่วนผู้ว่าฯกับนายอำเภอกลายเป็นโจรไปเลย ก็เลยพยายามจะขอร้องพวกเราพูดคุยกันอย่าทะเลาะเบาะแว้งกันเลย ทุกอย่างมีเป้าหมายไปทีละขั้นตอน ใครรับรองได้ว่าสิ่งที่เขาให้ความหวังพวกเรามันจะได้ ผมเอามาวิเคราะห์หมดแล้วมันเป็นไปได้ยากมากๆ เราจึงต้องออกไปทีละสเต็ปแบบนี้ แต่หากมีข้อมูลหลักฐานอะไรเพิ่มเติมหรือนโยบายเปลี่ยนแปลง เราไปสู่จุดหมายนั้นก็ไปได้ไม่ได้สกัดกั้น”นายกฤษณ์กล่าว…
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: