สมัชชาสุขภาพฯเพชรบูรณ์ เปิดเวทีขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ “เกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย สมุนไพรต้านโรค ภายใต้วิกฤตด้านสุขภาพและสังคม”
เวลา 09.00 น.วันที่ 29 กันยายน ที่ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัชชาสุขภาพสุขภาพจังหวัดเพชรบูรณ์ จัดเวทีสมัชชาสุขภาพฯ ประจำปี 2561 ขึ้น โดยมีชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานเปิดเวทีฯ โดยมีดร.สมชาย เผือกตระกูลชัย ประธานสมัชชาสุขภาพจังหวัดฯ นำเสนอนโยบายสาธารณะประเด็นเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย สมุนไพรต้านโรค ภายใต้วิกฤตด้านสุขภาพและสังคม โดยสมัชชาสุภาพจังหวัดเพชรบูรณ์ ภาคประชาสังคม ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์
ทั้งนี้ดร.สมชาย เผือกตระกูลชัย ประธานสมัชชาสุขภาพจังหวัดฯ ได้นำเสนอนโยบายสาธารณะที่จะขับเคลื่อน ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ประจำปี 2566 รวม 6 ข้อ ดังนี้
1. ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กำหนดนโยบายการแก้ปัญหาภัยแล้งให้เป็นวาระ ของจังหวัด โดยให้มีการเพิ่มและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก และธนาคารน้ำใต้ดินให้กระจายไปทั่ว ทั้งจังหวัด โดยเฉพาะในพื้นที่เขตป่าอนุรักษ์ ให้สามารถทำฝายชะลอน้ำลงอ่างเก็บน้ำเพื่อ ประโยชน์ในการเพิ่มพื้นที่ชุ่มน้ำ เพิ่มความชื้นในดินและในอากาศ ป้องกันไฟป่า เป็นแหล่งน้ำของ สัตว์ป่า และเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
2. ขอให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์ ส่งเสริมสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรใน โครงการโคก หนอง นา กลุ่มเกษตรกรเศรษฐกิจพอเพียง ผลิตอาหารปลอดภัยและอาหารอินทรีย์ ให้ได้มาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ พัฒนาเครือข่ายการผลิตและเครือข่ายการตลาด เพื่อ ส่งเสริมผลผลิตสู่ตลาดให้หลากหลายช่องทาง เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร สู่ความมั่งคั่งยั่งยืน ต่อไป
3. ขอให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ พัฒนาศักยภาพของ อสม. ซึ่งกระจายอยู่ ทั่วทุกหมู่บ้าน ให้มีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีในการเกษตร ข้อระมัดระวังและข้อห้าม เพื่อความ ปลอดภัยในการใช้สารเคมี ให้แก่ผู้ใช้ ผู้บริโภค เพื่อให้ อสม. เข้าไปให้คำแนะนำกับประชาชน ให้ เกิดความตระหนักถึง พิษภัยที่จะเกิดขึ้น
4. ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบจ. อบต. และเทศบาล อุดหนุนงบประมาณ สนับสนุนใน การจัดอบรมพัฒนาเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ อย่างครบวงจร ตั้งแต่การ ผลิต การจัดสถานที่พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกให้เกษตรกรรวบรวมผลผลิต ตลอดจนการตรวจ รับรองมาตรฐาน การแปรรูปการจัดจำหน่าย การขนส่งและขอให้จัดพื้นที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ ใน ชุมชนอย่างน้อย ตำบล ละ 1 พื้นที่
5. ขอให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ วิจัยและพัฒนาเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมกับ ชุมชน จัดบริการวิชาการตามความต้องการของเกษตรกร บริการวิเคราะห์ตรวจสอบสารเคมีในดิน น้ำ และผลผลิตทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ทันสมัย ศึกษาและพัฒนาแพลตฟอร์ม การผลิตและการตลาดเพื่อเป็นฐานข้อมูลให้เกษตรกรผู้จำหน่ายและผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย
6. ขอให้สภาเกษตรกรช่วยผลักดันนโยบายสาธารณะดังกล่าวให้เป็นนโยบายของจังหวัดต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: