ชาวเมืองเพชรบูรณ์ แห่นำอัฐิบุพการี เข้าร่วมสืบสานประเพณีก่อเจดีย์ทรายกลบธาตุ
วันที่ 7 เม.ย.67 ที่วัดช้างเผือกและวัดทุ่งสะเดียง อ.เมืองเพชรบูรณ์ ได้มีประชาชนชาวเมืองเพชรบูรณ์ ในพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ อาทิ ชุมขนวัดทุ่งสะดียง ชุมชนในเมือง ชุมชนวัดช้างเผือก ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ นำครอบครัวเข้าร่วมประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายกลบธาตุ พร้อมนำโกศบรรจุอัฐิ (เถ้ากระดูก) ของบุพการีหรือญาติที่เสียชีวิตไปแล้ว เข้าร่วมทำพิธีกลบธาตุ ทั้งนี้ในการก่อเจดีย์ทรายดังกล่าวมีการประดับประดาด้วยดอกไม้นานาขนิดอย่อย่างสวยงาม ก่อนจะนำโกศบรรจุอัฐิวางตั้งข้าง ๆเจดีย์ทราย
นายเสกสรร นิยมเพ็ง นายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์ กล่าวว่า สำหรับประเพณีก่อเจดีย์ทรายกลบธาตุดังกล่าว จัดขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษไทย ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี โดยทางญาติพี่น้องเหล่านี้จะนำอัฐิหรือเถ้ากระดูกเข้าร่วมทำพิธีติดต่อกัน 3 ปี หลังจากนั้นก็จะนำอัฐิหรือเถ้ากระดูกไปลอยอังคารหรือบรรจุไว้ที่เจดีย์ภายในวัด
ข่าวน่าสนใจ:
- ขอนแก่นจัดงานแถลงข่าว เทศกาลสุดออนซอนแห่งปี! “PlaraMorlum” Isan to the World ระหว่างวันที่ 26-29 ธันวาคม 2567 ณ ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์
- กระบะซิ่งหนีสายตรวจ แหกโค้งพุ่งลงคูน้ำดับ ยกคัน 7 ศพ พบเป็นแรงงานต่างด้าว หลายราย
- หนุ่มชลบุรีซิ่งมอไซค์ชนรถแม็คโครเจ็บสาหัส
- พ่อค้ายาเกมส์ ซุกยาบ้าในกล่องนมมิดชิด รอส่งพ่อค้ารายย่อย ไม่รู้ตร.ซุ่มกวาดล้าง ถูกรวบพร้อมของกลาง 70 เม็ด
นายเสกสรร กล่าวว่า ประเพณีก่อเจดีย์กลบธาตุของชาวเพชรบูรณ์ ค่อนข้างแปลกกว่าที่อื่น ๆ เนื่องเพราะไม่เพียงจะมีคติความเชื่อในเรื่องการก่อเจดีย์ทราย เพื่อจัดกิจกรรมประเพณีขนทรายกลับเข้าวัด เพื่อให้วัดนำไปใช้ปฎิสังขรณ์สิ่งปลูกสร้างภายในวัดซึ่งถือเป็นการทำบุญในรูปแบบหนึ่งแล้ว
นายเสกสรรกล่าวอีกว่า ประเพณีก่อเจดีย์ทรายกลบธาตุของชาวเมืองเพชรบูรณ์ ยังมีแฝงความเชื่ออีกด้วยว่า มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อมนุษย์สิ้นลมแล้วร่างกายจะถูกนำไปเผาด้วยไฟ คงเหลือแต่อัฐิเท่านั้น ฉะนั้นในช่วงแรกของการเสียชีวิตไป จึงต้องสร้างสมดุลโดยการนำอัฐิมาสัมผัสกับธาตุทั้ง 4 เป็นระยะเวลา 3 ปีติดต่อกันเสียก่อน โดยธาตุลม คือ การเปิดให้อัฐิสัมผัสกับอากาศ ธาตุน้ำคือการประพรมน้ำอบ น้ำหอม ธาตุไฟคือ ธูปเทียนที่นำมากราบไหว้ และธาตุดินคือ กองทรายที่นำมากลบ
“ประเพณีก่อเจดีย์ทรายกลบธาตุชาวเมืองเพชรบูรณ์ จึงกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการรำลึกถึงคุณงามความดี ความผูกพันต่อบรรพบุรุษ และแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการีผู้ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนี้ยังแฝงไปด้วยภูมิปัญญา โดยเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว ก่อให้เกิดความร่วมมือ ความรักความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันอีกด้วย”นายเสกสรรกล่าว…
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: