เพชรบูรณ์-ผู้ว่าฯไม่แน่ใจช่วยทายาทอดีตรอส.เขาค้อ บุกร้อง รมช.คลัง ติดขัดข้อกฎหมายหรือไม่ นัดฝ่ายกฎหมายถกหาแนวทาง
วันที่ 24 สิงหาคม ความคืบหน้ากรณีนส.กนกรัตน์ ศรีคำแขก เจ้าของโฮมสเตย์บ้านสวน ต.ริมสีม่วง อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ อ้างว่าเป็นทายาทอดีต รอส.เขาคัอและตกเป็น 1 ในผู้ต้องหา 135 รายคดีบุกป่าเขาค้อ ปัจจุบันคดีอยู่ในชั้นการพิจารณาคดีของศาลจังหวัดหล่มสักพร้อมพวก บุกพบนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง(รมช.คลัง) ซึ่งลงพื้นที่ตรวจราชการที่ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อขอความช่วยเหลือทั้งน้ำตา ทั้งนี้นายสันติได้มอบเรื่องดังกล่าวให้นายสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ รับไปดูแลนั้น
ล่าสุดนายสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ กล่าวว่า จะมีการเชิญทางอัยการและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องประชุมหารือกันในวันจันทร์ที่ 26 สิงหาคมนี้ ก็ไม่แน่ว่าจะดำเนินการอะไรได้มากหรือไม่เพราะเป็นข้อกฎหมาย ถ้าเป็นไปได้หากจะให้ตนทำหนังสือก็ยินดีถ้าเป็นความเดือดร้อนของประชาชน เพียงแต่เรื่องนี้ติดที่ข้อกฎหมายฉะนั้นจะทำบุ่มบ่ามอะไรคงไม่ได้ จึงจำเป็นเชิญทางอัยการที่เป็นฝ่ายกฎหมายมาช่วยพิจารณา โดยเฉพาะการยกคำสั่ง คสช.ที่ 66/2557 มาเป็นแนวทางให้การช่วยเหลือไม่ทราบว่าจะทำได้หรือไม่ ส่วนโครงการ คทช.เนื่องทางทหารเพิ่งจะคืนพื้นที่ป่าเขาค้อให้กรมป่าไม้ เรื่องนี้จึงยังอยู่ระหว่างดำเนินการ คทช. และมีการนัดประชุม คทช.จังหวัดในเร็วๆนี้เช่นกัน
ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์กล่าวว่า หากช่วยได้ก็ยินดีแต่ไม่ใช่ทำคนผิดให้ถูกกฏหมาย แต่หากอยู่มาก่อนและอยู่ในเกณฑ์เข้าในโครงการ คทช.ได้แบบนี้ก็โอเค แต่หากเป็นการบุกรุกและมาทีหลังก็เป็นอีกเรื่อง ส่วนในรายผู้ได้รับผลกระทบที่มาร้องเมื่อวานนี้ก็เห็นใจอยู่ แต่อย่างไรก็ตามในการช่วยเหลือก็ต้องไม่ไปขัดกับหลักกฎหมายด้วย แต่จะพยายามทำให้ดีที่สุด
นส.กนกลักษณ์ ศรีคำแขก กล่าวว่า กล่าวว่า ที่ดินแปลงนี้เนื้อที่ราว 2 ไร่และเป็นที่ดินอยู่นอกแปลงรอส.แต่อยู่ในพื้นทหารขอใช้จากกรมป่าไม้ เดิมเป็นของลุง(รอส.)แต่ยกมป้พ่อในภายหลัง โดยที่ดินแปลงนี้มีการจัดสรรให้กลุ่มแม่บ้านตำบลริมสีม่วง หลังทำการประชาคมชาวบ้านในพื้นที่ โดยมีมติจัดที่ดินบริเวณให้ทุกครอบครัวๆละ 2 ไร่ เพื่อทำการเกษตรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ต่อมาลุงยกให้พ่อจนปี 2551 พ่อเริ่มก่อสร้างบ้านหลังแรก เพื่ออยู่อาศัยโดยยังไม่ได้ทำรีสอร์ท กระทั่งปี 2560 หลังจากที่ดิฉันลาออกจากงานที่ กทม.และพอมีเงินเหลืออยู่บ้างจึงตัดสินใจมาลงทุนก่อสร้างบ้านพักเพื่อทำโฮมสเตย์ กระทั่งปี 2561 มาถูกจับกุมดำเนินคดี
นส.กนกลักษ์กล่าวว่า ตอนเริ่มสร้างเมื่อปี 2561 ก็มีเจ้าหน้าที่มาวัดพื้นที่และอยู่ระหว่างการก่อสร้างก็ไม่เห็นว่ายังไง ปัจจุบันมีบ้านพักทั้งหมด 5 หลังทำเป็นโฮมเสตย์บริการนักท่องเที่ยว เพราะตั้งใจเนื่องเพราะทำสวนเกษตรอินทรีย์ด้วย และพอไปแจ้งจดกับทางอำเภอก็ได้รับแจ้งว่าโฮมสเตย์ยังทำไม่ได้ โดยทางปลัดฯแจ้งว่าจะจดเป็นประกอบกิจการที่ไม่เป็นโรงแรมให้ไปก่อน จะได้ไปยื่นเสียภาษีได้ก็ไปเสียภาษีไม่ว่าจะเป็นภาษีป้าย ภาษีโรงเรือนและภาษีรายได้ แต่พอไปทำเสร็จผ่านไปเดือนม.ค.ปี 2561 ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมหลังไปแจ้งเมื่อเดือน พ.ย.ปี 2560
นส.กนกลักษณ์กล่าวว่า เมื่อปี 2557 ก็มีเจ้าหน้าที่มาสำรวจมาวัดยิงพิกัด ต่อมาเมื่อปี 2560 มาช่วงกำลังก่อสร้าง ก็มีเจ้าหน้าที่มากันเยอะก็เลยสอบถามว่าที่ดินมีปัญหาอะไรหรือเปล่าก็ได้รับคำตอบว่า ไม่มีแค่มาสำรวจใครครอบครองและที่ดินเนื้อที่เท่าไหร่ ก็ให้ข้อมูลความจริงไป แบะก่อนมีการจับกุมทางฝ่านทหาร ป่าไม้และฝ่ายปกครอง เชิญไปเจรจาต่อรองโดยยื่นเงื่อนไข 2 ข้อ ได้แก่ 1.คืนที่ดินรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง 2.ต่อสู้คดี แต่ทั้งดิฉันและชาวบ้านยื่นขอให้มีแนวทางเลือกข้อที่ 3.ขออยู่อาศัยในที่ดินดังกล่าวต่อไป โดยยินยอมทำตามเงื่อนไขของทางราชการ แต่ปรากฎว่าไม่ได้รับคำยินยอมและถูกจิ้มให้เข้าไปในกลุ่มข้อ 2
“ตอนนี้เพียงต้องการแค่เอกสารโครงการจัดที่ดิน คทช. เพื่อนำไปยื่นต่อศาล เพื่อขอให้ชะลอการพิจารณาคดีไปก่อน เนื่องจากอยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาที่ดินเขาค้อ เพราะเวลานี้ผู้ที่ถูกดำเนินคดีในกลุ่ม 135 รายมีราว 10 ราย ที่ถูกศาลทยอยตัดสินลงโทษแทบทุกวัน ซึ่งนอกจากจะถูกสั่งจำคุกโดยไม่รอลงอาญาแล้ว ยังถูกโทษปรับและให้ออกจากที่ดินอีกด้วย ซึ่งทุกรายอยู่ระหว่างยื่นอุทธรณ์ ส่วนดิฉันจะขึ้นศาลในวันที่ 30 สิงหาคมนี้ ก็กลัวว่าคำตัดสินคงไม่แตกต่างจากรายอื่นๆ จึงจำเป็นต้องดิ้นรนเพื่อขอความเป็นธรรมจาก รมช.คลัง ตอนนี้ยอมรับว่าเดือดร้อนมาก เพราะยังมีหนี้สินอยู่หากไม่มีรายได้จากการให้บริการบ้านพักก็ไม่รู้จะไปทำอาชีพอะไร”นส.กนกลักษณ์กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: