เพชรบูรณ์-“หมอพลเดช”เชื่อแก้ที่ดินเขาค้อ 3 ปีจบ หากร่วมมือกันจริงจัง ยุคณะกรรมการลงพื้นที่ค้นหาความจริงและใช้หลักฐานวิทยาศาสตร์พิสูจน์ และใช้การมีส่วนร่วมของประชาชน จะชี้ให้เห็นกันจะจะว่ามีขรก.และนายทุนมีเอี่ยวหรือไม่
วันที่ 25 ตุลาคม ที่บริเวณเวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดเพชรบูรณ์ นพ.พลเดช ปิ่นประทีป สมาชิกวุฒิสภาและรองประธานคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ รับมอบหนังสือจากตัวแทนเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนอำเภอเขาค้อ ได้ยื่นหนังสือผ่านไปถึงพล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผ่านถึงนายสังคิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ เรื่องขอให้เร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนราษฎรกรณีที่ดินที่อยู่อาศัยในพื้นที่ต.เขาค้อ, ต.สะเดาะพง, ต.ริมสีม่วง, ต.หนองแม่นา รวม 4 ตำบลของ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์
โดยนพ.พลเดชให้สัมภาษณ์ว่า ปัญหานี้เท่าที่ทราบรัฐบาลชุดที่ผ่านมา มีการปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับคนอยู่กับป่า และการจัดประโยชน์การใช้ที่ดินเรียบร้อยแล้ว เดี๋ยวกันได้ออกกฎหมายอนุบัญญัติหรือกฎหมายลูก หรือระเบียบข้อบังคับต่างๆ จะเสร็จแล้ว ซึ่งจากนี้เป็นต้นไปจะลงแก้ไขโดยใช้ระเบียบใหม่ กฎหมายใหม่ซึ่ง ซึ่งเท่าที่ตนได้รับฟังจากอดีต รมว.ทส (พล.อ.สุรศกดิ์ กาษจนรัตน์) ทำให้ทราบว่าหน้ามีความหวัง จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยพื้นฐาน
ข่าวน่าสนใจ:
- เพชรบูรณ์-จับลักลอบใช้แบ็กโฮขุดดิน ถมแม่น้ำป่าสักในเขตอ.หล่มเก่า
- เขาค้อผวา "ทริปน้ำไม่อาบ" นอภ.สั่งตั้งจุดตรวจ เกรงหลังเสร็จกิจกรรมภูทับเบิก แก๊งแว้นเตลิดเขาค้อ
- เพชรบูรณ์ - นักท่องเที่ยวสุดเซ็ง! วางแผนไปเที่ยวเขาค้อภูทับเบิก หลังรู้ข่าวต้องเจอ"ทริปน้ำไม่อาบ" ยอมยกเลิกหรือปรับไปเที่ยวที่อื่นแทน
- เพชรบูรณ์ - ผู้การตำรวจฯย้ำ! แผนรับมือ"ทริปน้ำไม่อาบ" เน้นบังคับใช้กฎหมายหากพบทำผิด
นพ.พลเดชกล่าวว่า แต่ในนั้นได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ดังนั้นสิ่งที่ทางสภาองค์กรชุมชนยื่นมาจึงมั่นใจว่า ต้องทำให้ตัวแทนของสภาชุมชนเข้าไปนั่งเป็นกรรมการ โดยให้มีเวทีคู่ขนานเพื่อจัดการปัญหา ความขัดแย้งในเรื่องที่ดิน ให้คนอยู่กับป่าได้ แล้วอยู่ได้อย่างยั่งยืน เป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ ขณะเดียวกันก็รักษาพื้นป่า ไว้ให้ได้ ซึ่งน่าจะไปด้วยกันได้และถ้าทำได้อย่างนี้ ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ของการปฏิรูปประเทศ
สมาชิกวุฒิสภากล่าวย้ำว่า ต้องเอาหลักกฎหมายที่ปฏิรูปแล้วเป็นฐาน เมื่อใช้กฎหมายย่อยหรือระเบียบบังคับต่างๆ เป็นแนวทางแก้ไขปัญหา ต้องมีกระบวนการมีส่วนร่วม และต้องดูความเป็นจริง โดยคณะกรรมการต้องลงมาดูพื้นที่ค้นหาความเป็นจริงไม่ใช่นั่งโต๊ะอยู่ที่กรุงเทพฯ มาเดินเท้าสำรวจกันเลยเอาจีพีเอสมาจับ หรือใช้ภาพถ่ายทางอากาศมาดูหลักฐาน ต้องเอาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาเป็นตัวตัดสิน แล้วก็ใครอยู่นานอยู่ก่อนอยู่หลังต่างๆ ต้องมีหลักฐานพิสูจน์อ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการที่สอบค้นข้อเท็จจริง และยังเชื่อว่าที่กระบวนการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่เขาจะบอกกันเองใครจริงใครไม่จริง
นพ.พลเดชยังกล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่จะมีข้าราชการที่จะเป็นตัวแปรตัวแทรกหรือมีนายทุนจากต่างถิ่น เดี่ยวจะมีการพิสูจน์กันจะจะของจริงกันตรงนั้น คิดว่าถ้ามีการร่วมมือกันจริงคิดว่าไม่เกิน 3 ปี ปัญหาที่คาราคาซังมา 30 ปีก็จะยุติได้ประเทศเราจะได้เดินหน้าต่อไปได้
ข่าวแจ้งว่า สำหรับหนังสือที่เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลสะเดาะพง โดยนายปรีชา เดชบุญ ประธานเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลสะเดาะพง อ.เขาค้อ ได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องขอให้เร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเรื่องการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัยในพื้นที่ต.เขาค้อ, ต.สะเดาะพง, ต.ริมสีม่วง, ต.หนองแม่นา รวม 4 ตำบลของ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ เนื้อหาระบุว่าเมื่อวันที่ 2 มิถุยายน 2558 ทางเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนฯเขาค้อ ได้ยื่นขอใช้ประโยชน์ในที่ดินพื้นที่กองทัพภาคที่ 3 ขอใช้ประโยชน์ ตามมาตรา 16 พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ พ.ศ.2507 ต่อกรมป่าไม้ผ่านอนุกรรมการนโยบายที่ดินแห่งขาติ (คทข.)ระดับจังหวัด
แต่ในปี 2554-2560 พบว่ามีประชาชนจำนวน 155 ราย ถูกดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกป่าสงวนฯเขาปางก่อ-วังขมภู และมีกว่า 10 รายที่ศาลมีคำพิพากษาให้จำคุกรื้อถอนบ้านพัก,รีสอร์ทออกจากพื้นที่ ทั้งที่ราษฎรได้อยู่อาศัยมาพร้อมหน่วยราชการทั้ง 83 แห่งในพื้นที่ด้งกล่าว และได้รวมตัวกันขออนุญาตใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องตามกฎหมายก่อนถูกดำเนินคดี ประกอบกับมีมติ ครม.สัญจรที่เพชรบูรณ์สั่งการเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2561 เสนอให้เป็นพื้นที่นำร่องในการทำคทช. และมติ ครม.วันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 รัฐบาลมีนโยบายให้ประชาชนอยู่ร่วมกับป่าได้ทุกลุ่มน้ำ และกองทัพภาคที่ 3(ทภ.3) ได้มอบพื้นที่คืนกรมป่าไม้เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน2562 รวมทั้งคำสั่ง คสช.ที่ 6/2562 ที่ได้ยกเลิกนโยบายทวงคืนผืนป่าในคำสั่ง คสช.ที่ 64,66/2557 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2562
ต่อมาได้มีการจัด คทช.ในพื้นที่อ.เขาค้อ โดยเฉพาะในพื้นท่ 4 ตำบลที่ทภ.3 คืนให้กรมป่าไม้ แต่ยังพบว่าดำเนินการล่าช้า เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนฯได้รับการร้องขอจากผู้ต้องหาในคดีดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ให้เป็นพยานบุคคลขึ้นให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวน สภ.เขาค้อ-พยานศาล ทำให้คณะทำงานในพื้นที่เดือดร้อนและเสียเวลา ขณะเดียวกันคดีที่ปัจจุบันยังอยู่ในชั้นศาลคงมีแนวโน้มไม่แตกต่างกันจาก 10 กว่ารายคือให้รื้อถอนออกไปเนื่องจากอยู่ในป่าสงวน หากถูกคำสั่งศาลให้ทุบรื้อทั้งหมดจะส่งผลให้ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของอำเภอเสียหาย จากการที่ภาครัฐได้เคยส่งเสริมและสนับสนุนไว้เดิม ตลอดจนทำให้ภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบูรณ์โดยรวมเสียหายทั้งระบบยากจะพื้นฟูกลับสู่สภาพเพิมได้ ในฐานะองค์กรฯทีได้รับมติให้เป็นผู้ขอใช้ประโยชน์ในที่ดินด้งกล่าว จึงขอให้หาแนวทางในการสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องนี้ อันเกี่ยวกับการจัดการที่ดินเป็นการเร่งด่วน เพื่อบรรเทาผลร้ายให้ประชาชนชาวเขาค้อ เพื่อการพิจารณาแก้ไขร่วมกันตามแนวยุทธศาสตร์ชาติ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: