X
น้ำท่วม ภัยพิบัติ

อุบลฯถอดบทเรียนน้ำท่วม เสนอทางเลือกทางรอด ชุมชนจัดการภัยพิบัติ เริ่มต้นที่พึ่งตนเอง

อุบลราชธานี – ชาวบ้านริมฝั่งมูลร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น จัดเสวนา “ทางเลือกทางรอดจากภัยพิบัติ” พร้อมถอดบทเรียนน้ำท่วมปี 62

เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2563 มูลนิธิชุมชนไท สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และหน่วยงานท้องถิ่น ร่วมกับชาวบ้านริมฝั่งแม่มูลน้ำ  จัดงานบายศรีสู่ขวัญ “เอิ้นขวัญ  ฮ่วมแฮง  ฮ่วมใจ  สร้างวิถีชีวิตชุมชนใหม่รับมือภัยพิบัติ” ให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่ชุมชนหาดสวนสุข อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติในปีถัดไป

ซึ่งภายในงานได้มีจัดการเวทีเสวนาเรื่อง “ทางเลือกทางรอดจากภัยพิบัติ”  โดยมี ว่าที่ร้อยตรีมนต์สง่า ลีลาศสง่างาม รักษาราชการแทนหัวหน้า สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารภัย จ.อุบลราชธานี, สมชาติ ภาระสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) , ไมตรี จงไกรจักร์ ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท, ดร.เอกราช บุญเริง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี , ศราวุธ เผ่าภูรี ตัวแทนชุมชนผู้ประสบภัย ได้ร่วมขึ้นเวทีเสวนาเพื่อถอดบทเรียนเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2562 และพร้อมช่วยกัยระดมความคิดเตรียมรับมือกับอุกภัยครั้งต่อไป

ศราวุธ  เผ่าภูรี  ตัวแทนชุมชนผู้ประสบภัย  กล่าวว่า น้ำท่วมปี 2562 เป็นปีที่น้ำมาเยอะและแรง เกิดมาไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ ทำให้ชาวบ้านเตรียมรับมือกับมวลน้ำไม่ทัน พร้อมทั้งติดใจกับการบริหารจัดการน้ำของภาครัฐว่าเหตุใดทำไมต้องให้ทุกจังหวัดระบายน้ำลงมาที่จังหวัดอุบลฯ และช่วงที่ระดับน้ำจะขึ้นสูงก็ไม่มีหน่วยงานรัฐหน่วยไหนเข้ามาแจ้งเตือนกับคนในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเลย ทำให้ชาวบ้านต้องใช้การสังเกตและแจ้งเตือนอพยพภายในชุมชนกันเองขณะช่วงอพยพก็ได้ทหารเข้ามาช่วยเหลือ แล้วจากเหตุการณ์ทำให้ชาวบ้านได้บทเรียนว่า อย่าชะล้าใจกับระดับน้ำและน้ำท่วมครั้งต่อไปสิ่งชุมชนแต่ละชุมชนจะต้องเตรียมคือ 1) เรือ 2) แพลอยน้ำ 3) อาสาสมัคร พร้อมกับการซักซ้อมแผนการอพยพคนขึ้นที่สูง

ส่วน สมชาติ ภาระสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  กล่าวว่าปัญหาเรื่องภัยพิบัติกำลังเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกเนื่องจากภาวะโลกร้อนภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลง และหลังจากได้ลงพื้นพูดคุยกับชาวบ้านทำให้บทเรียนว่า ชาวบ้านยังนำความรู้เดิมมาแก้ไขปัญหาใหม่ พร้อมทั้งชะล้าใจใช้อาศัยความเคยชิน แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะทำให้ชุมชนอยู่รอดคือ ชุมชนต้องเข้มแข็งรวมกลุ่มกันจัดการตนเองช่วยวางแผนแก้ไขปัญหาภายในกันเบื้องต้น และทางภาครัฐเองก็ต้องเข้ามาสนับสนุนชุมชนเพื่อหาทางรอดร่วมกัน

ทางด้าน ว่าที่ร้อยตรีมนต์สง่า  ลีลาศสง่างาม รักษาราชการแทนหัวหน้าสำนักงานป้องกันภัยและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดอุบลราชธานี  กล่าวถึงสถานการณ์น้ำปี 62 ว่า ปีนี้ปริมาณน้ำฝนมีมากกว่าหลายปีที่ผ่านและบวกกับน้ำโขงหนุนสูงส่งผลทำให้แม่น้ำมูลระบายไม่ทัน ระดับสูงกว่าตลิ่งน้ำล้นเข้าท่วมชุมชนริมน้ำ ส่วนการเตือนภัยทางจังหวัดกำลังทดลองรูปแบบใหม่จะเป็นการแจ้งเตือนเข้าถึงสมาร์ทโฟนประชาชนโดยตรงพร้อมทั้งเพิ่มช่องทางให้ประชาชนได้ส่งข้อมูลข่าวสารการช่วยเหลือต่างๆแจ้งกลับคืนทางการ และนอกจากนี้ผลกระทบที่มาแรงอีกอย่างคือสื่อโซเซียล ปัจจุบันสื่อโซเซียลมีอิทธิพลมากนับว่าเป็นทั้งผลดีและผลเสียแต่ทั้งนี้อยากให้ชาวบ้านต้องรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารชัวร์ก่อนแชร์ เพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปได้อย่างมีระเบียบ

ชิษณุพงษ์ สุนทรพาณิชย์ เรียบเรียง

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สุชัย เจริญมุขยนันท

สุชัย เจริญมุขยนันท

นิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลักสูตรโปรดิวเซอร์ เนชั่น วิทยากรพิราบน้อย โครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยุ มูลนิธิหมอชาวบ้าน วิทยุเนชั่น ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทยประจำจงอุบลราชธานี ผู้จัดการศูนย์ข่าวประชาสังคมอุบลราชธานี ปัจจุบัน เลขาธิการมูลนิธิสื่อสร้างสุข ผู้อำนวยการทีวีชุมชนอุบลราชธานี E : [email protected] F : ทีวีชุมชนอุบลราชธานี T : 0818786440 LINE : SUCHAINEWS