X
รถไฟฟ้่า ตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ลดมลพิษ

วิศวะ ม.อุบลฯ​ ผุดตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ลดมลพิษ แรง กินไฟน้อย ประเดิมลากพ่วงโดยสารในมหาวิทยาลัย

อุบลราชธานี – วิศวะ ม.อุบลฯ งานวิจัยสุดเจ๋ง! ตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า แก้ไขปัญหามลพิษ เตรียมโครงการรถไฟฟ้าสำหรับคนพิการ โชว์ผลงานรับรางวัลเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศ

ดร.ประชา คำภักดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เปิดเผยถึงความเป็นของรถสามล้อไฟฟ้าว่า ในมหาวิทยาลัยอุบลฯ​ มีรถขนส่งมหาวิทยาลัยคือรถพ่วงหัวลาก ซึ่งข้อเสียของรถประเภทนี้คือเสียงดัง ควันเยอะ จนต่อมาปรึกษากับคณะเกษตรศาสตร์อยากปรับเปลี่ยนรถพ่วงหัวลากมาใช้เป็นระบบไฟฟ้า หลังจากนั้นจึงได้ขอทุนนวัตกรรมจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยใช้เวลา 1 ปี ทำการวิจัยและพัฒนาจนสำเร็จออกมาเป็น “รถสามล้อไฟฟ้า”

ด้านกลการทำงานของรถสามล้อไฟฟ้าจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน จำนวน 2 ก้อน 120 แอมป์อาว 48 โวลท์ นำเข้าจากต่างประเทศและใช้มอเตอร์แม่เหล็กถาวรเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา มีตัวแรงบิดสูงกว่ามอเตอร์ทั่วไป โดยตอนนี้ความเร็วสูงสุดของรถอยู่ที่ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

รถสามล้อไฟฟ้ามีโครงสร้างจะประกอบด้วยชุดไดร์ มอเตอร์ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องยนต์ประกอบกับเพลากลางของตัวรถสามล้อ ด้านการออกแบบรถสามล้อคันนี้คือรถจะมีระบบไฟฟ้าทำงานเหมือนคอมพิวเตอร์ ดังนั้นต้องมีการเขียนโปรแกรมควบคุมและปรับค่าให้สมดุลเพื่อให้รถสามารถเคลื่อนที่ไปได้ นอกจากนี้จุดแข็งของการประดิษฐ์รถคือการคัปปลิ้งปรับปรุงเครื่องยนต์ศูนย์ถ่วง การออกแบบจุดวางแบตเตอร์รี่ ซึ่งการนำไฟฟ้ากับเครื่องกลมาเข้าไว้ด้วยกันนั้นเป็นสิ่งที่ยากและต้องใช้เวลาศึกษาอย่างละเอียด

ส่วนสิ่งใหม่ของงานวิจัยชิ้นนี้ที่แตกต่างจากงานอื่นๆ​ คือ ระบบควบคุมซึ่งจะใช้แรงบิดต่อสมรรถนะสูงสุด ให้มีประสิทธิภาพการทำงานและประหยัดแบตเตอร์รี่มากขึ้น ทั้งนี้ในอนาคตมีแผนจะนำรถพ่วงเข้ามาต่อไว้ด้วยกันเป็นระบบ ซึ่งจะใส่แบตเตอร์รี่พร้อมมอเตอร์ไว้ข้างล่างและหลังคาเป็นจะใช้แผงโซลาร์เซลล์เข้ามาทำงานพร้อมสื่อสารกันได้เหมือนระบบรถรางไฟฟ้าในกรุงเทพ โดยทั้งหมดนี้กำลังอยู่ช่วงพัฒนางานวิจัย

ดร.ประชา คำภักดี ยังได้กล่าวว่า นวัตกรรมชิ้นนี้เป็นนวัตกรรมที่มีอยู่แล้วแต่เรานำมาพัฒนาปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ให้มีรูปแบบง่ายราคาถูก เพราะอยากเผยแพร่ให้คนหันมาใช้รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าเป็นรถพลังงานสะอาดไม่สร้างมลพิษทางอากาศ เพราะปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหามลพิษ PM 2.5 ขั้นรุนแรง ซึ่งงานวิจัยนี้ไม่ได้จัดทำขึ้นเพื่อหารายได้ แต่อยากให้เป็นงานวิชาการที่ท่านใดสนใจเรื่องรถพลังงานไฟฟ้าได้มีโอกาสศึกษาโครงสร้างเครื่องยนต์และวงจร เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต

นอกจากทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ยังได้รางวัลสนับสนุนกาพัฒนาการต้นแบบในงานประกวด EV CUP 2019  ซึ่งจัดโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)ร่วมกับ กลุ่มพันธมิตรยานยนต์ไฟฟ้าไทย โดยมีผลงานประกวดชื่อว่า “รถไฟฟ้าสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ”

โสวัชร์ รัตนเรืองศรี และ ภูริเดช อาจปรุ นักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเครื่องกล เล่าว่าผลงาน “รถไฟฟ้าสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ” มีแรงบันดาลใจมากจากตุ๊กตุ๊กของไทย นำเอกลักษณ์ของรถมาปรับโครงสร้างและระบบใหม่ โดยผลงานดังกล่าวได้ร่วมกับสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอุตสาหกรรมและสาขาศิลปะประยุกต์ ช่วยกันวิจัยและวางแผน ซึ่งตอนนี้ผลงานกำลังอยู่ในช่วงทดลองและพัฒนาแล้วคาดการณ์ว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในเดือนมิถุนายน

ส่วนด้านการทำงานของรถไฟฟ้าสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ จะเป็นระบบไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอร์รี่ประกอบอินเวอร์เตอร์และมอเตอร์เข้าไว้ด้วยสามารถทำให้รถเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็วสูงสุด 23 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทั้งนี้การจัดทำผลงงานประกวดยังมีจุดประสงค์เพื่อที่อยากให้ผู้พิการที่ไม่สามารถไปไหนเอง ได้มีโอกาสออกไปตามสถานที่สาธารณะด้วยตนเองไม่เป็นภาระของผู้อื่น

ท้ายนี้  ดร.ประชา คำภักดี ยังได้เล่าถึงงานวิจัยที่ได้มีโอกาสร่วมทำกับบริษัท สยามคอมเพรสเซอร์ว่า งานวิจัยเป็นผลงานที่ได้พัฒนาวงจรเพิ่มประสิทธิภาพของระบบอินเวอร์เตอร์ในแอร์ปรับอากาศ โดยได้มีการปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังทั้งนี้ ดร.ประชาและนักศึกษาปริญญาโท ได้ร่วมทำการวิจัยเป็นเวลาถึง 3 ปี โดยงานวิจัยได้ถูกตีพิมพ์และได้รับรางวัล Best Paper Award นอกจากทางบริษัทเองก็ได้นำผลงานไปพัฒนาต่อให้มีกำลังเพิ่มประสิทธิภาพสูงขึ้น

ชิษณุพงศ์ สุนทรพาณิชย์ เรียบเรียง

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สุชัย เจริญมุขยนันท

สุชัย เจริญมุขยนันท

นิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลักสูตรโปรดิวเซอร์ เนชั่น วิทยากรพิราบน้อย โครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยุ มูลนิธิหมอชาวบ้าน วิทยุเนชั่น ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทยประจำจงอุบลราชธานี ผู้จัดการศูนย์ข่าวประชาสังคมอุบลราชธานี ปัจจุบัน เลขาธิการมูลนิธิสื่อสร้างสุข ผู้อำนวยการทีวีชุมชนอุบลราชธานี E : [email protected] F : ทีวีชุมชนอุบลราชธานี T : 0818786440 LINE : SUCHAINEWS