ฟังให้ชัด!รายละเอียด พรก. กู้เงิน 3 ฉบับ 1 ล้านล้านบาท พร้อมเยียวยาประชาชน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ อัดฉีดเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ธุรกิจSME หวังให้ประเทศก้าวต่อได้ หลังโควิด-19
นพพร พันธุ์เพ็ง นักวิชาการอิสระภาคประชาสังคม อธิบายว่า ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ประเทศไทยเราสูญเสียรายได้จากการธุรกิจต่างๆ เช่น ท่องเที่ยวและส่งออก รวมมูลค่าความเสียหายสูงถึงวันละ 2 หมื่นล้านบาท ยิ่งไปกว่านั้น ขณะปิดล็อคดาวน์ ประชาชนส่วนใหญ่ตกงานคนขาดรายได้เงินหายจากระบบ เศรษฐกิจ เข้าสู่ภาวะถดถอย เปรียบเหมือนลูกโป่งที่แฟบ
ทั้งนี้การแก้ปัญหาจึงต้องเป่าลมเข้า เพื่อให้ลูกโป่งพองโตขึ้น นั่นคือรัฐบาลจะต้องอัดฉีดเงินให้เข้าสู่ระบบ ให้กลไกทางเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนต่อไปได้ รัฐบาลจึงออกพระราชกำหนดกู้เงินฉุกเฉิน3 ฉบับ และร่าง พ.ร.บ. โอนงบประมาณปี 2563 วงเงิน 80,000-100,000 ล้านบาท ไว้ที่งบกลาง จัดเงินสำรองนำมาอัดฉีดให้ประชาชนและภาคธุรกิจ SME เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจทำให้ประเทศสามารถเดินต่อไปข้างหน้า
โดยเงินกู้ฉุกเฉินที่รัฐบาลจะนำมาฟื้นฟูประเทศนั้น จะเป็นเงินที่อาศัยการกู้เงินภายในประเทศ รัฐบาลจะออกพันธบัตร หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ดอกเบี้ยสูงให้ประชาชนและสถาบันการเงินซื้อ แตกต่างจากปี 2540 วิกฤตต้มยำกุ้งที่รัฐบาลต้องไปกู้เงินจากสถาบันการเงินในต่างประเทศและเจอกับเงื่อนที่ยุ่งยาก
ทั้งนี้ พรก.หรือ พระราชกำหนดนั้น จะออกโดยความเห็นชอบของรัฐบาลโดยไม่ผ่านรัฐสภา ซึ่งภาวะเร่งด่วนเช่นนี้รัฐบาลจึงตัดสินใจออก พรก.กู้เงินฉุกเฉินทั้งหมด 3 ฉบับเพื่อเยียวยา ฟื้นฟูประเทศและเสริมสภาพคล่อง รักษาเสถียรภาพทางการเงิน ในพรก. 3 ฉบับ แบ่งเป็น 1 ฉบับออกโดยกระทรวงการคลังที่กำกับดูแลนโยบายการคลัง อีก 2 ฉบับออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำกับดูแลนโยบายการเงิน
โดยฉบับที่ รัฐบาลจะกู้เพื่อใช้อัดฉีดและเยียวยาประชาชนจำนวน 1 ล้านล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน
1) 6 แสนล้านบาท จัดตั้งโครงการคนไทยไม่ทิ้งกัน เยียวประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 3 เดือนและจัดอุปกรณ์การเกษตร เครื่องมือแพทย์ตามโรงพยาบาล ตามแผนงานด้านสาธารณสุข
2) 4 แสนล้านบาท ใช้ฟื้นฟูแก้ปัญหาในพื้นที่แต่ละจังหวัดเตรียมพร้อมสำหรับการสร้างงาน สร้างอาชีพ สนับสนุนเศรษฐกิจในต่างจังหวัด สร้างความเข้มแข็งในชุมชน ส่วน พรก. อีก 2 ฉบับ เป็นนโยบายการเงินของรัฐบาลใช้เงิน 9แสนล้านบาท จากธนาคารแห่งประเทศไทยนำเงินมาเสริมสภาพคล่องทางภาคบริษัทธุรกิจSME และรักษาเสถียรภาพทางการเงิน
โดย พรก.ฉบับที่ 2 มีผลให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยปล่อยเงินกู้ 5 แสนล้านบาท กับธนาคารพาณิชย์ส่งเสริมการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับธุรกิจSME ซึ่งแบ่งเป็น
1) ผู้ประกอบการที่เคยกู้มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 1 ร้อยล้านบาทให้พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 6 เดือน
2) ผู้ประกอบการที่เคยกู้มีวงเงินสินเชื่อเกิน1ร้อยล้านบาทแต่ไม่เกิน 5 ร้อยล้านบาท โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะนำเงินมาหนุนเสริมธนาคารพาณิชย์พร้อมปล่อยเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย 0.01%ต่อปี เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์นำเงินไปปล่อยสินเชื่อต่อผู้ประกอบการกลุ่มนี้โดยบังคับให้ธนาคารพาณิชย์คิดอัตราดอกเบี้ยเพียง 2 %ต่อปี โดยไม่เรียกเก็บดอกเบี้ยจากผู้กู้เป็นระยะเวลา 6 เดือนแรก ซึ่งเจตนาของธปท.ครั้งนี้อยากจะช่วยเหลือภาคธุรกิจSMEทั้ง 2 กลุ่ม ให้เกิดสภาพคล่องทางธุรกิจสามารถก้าวไปต่อได้
ต่อมา พรก. ฉบับที่ 3 เงินจำนวน 4แสนล้านบาท จัดตั้งมาตรการ BSF ลักษณะกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจSME โดยทางธนาคารแห่งประเทศไทยให้สามารถใช้กองทุนรวมเข้าไปซื้อตราสารหุ้นกู้ที่จะครบกำหนกไถ่ถอน เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการSMEที่ขาดสภาพคล่องเนื่องจากการระบาดของโควิด-19ให้มีเงินหมุนเวียนสามารถนำเงินไปชำระหนี้สินต่างๆ ซึ่งเป็นการเสริมสภาพคล่องและรักษาตลาดตราสารหนี้ของไทยให้มั่นคง
ด้าน นพพร พันธุ์เพ็ง กล่าวต่อ ขอยอมรับเลยว่ารัฐบาลชุดนี้กำลังมองปัญหาในอนาคตและเตรียมวิธีรับมือได้ดี และให้การช่วยเหลือ เยียวยาทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคผู้ประกอบการ พนักงานบริษัท เกษตรกร ฯลฯ ซึ่งอาจเห็นตัวอย่างจากวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540
อย่างไรก็ตาม พรก.กู้เงินฉุกเฉินนี้ก็เป็นประเด็นที่น่ากลัว ทางการเมืองเพราะ พรก. เหล่านี้ไม่มีรายละเอียดโครงการที่แน่ชัด ดังนั้นเงินสามารถใช้เงินได้ทันที ทั้งนี้ ส.ส. ในสภาต้องช่วยกันตรวจสอบการใช้เงินไม่ให้เงินรั่วไหล หรือเกิดกรณีล้มบนฟูกเหมือนปี2540 ด้านรัฐบาลต้องเน้นย้ำความโปร่งใส การบริหารเงินให้มีประสิทธิภาพสูงสุด อย่าปล่อยให้แร้งลงอย่างเด็ดขาด
ส่วนกรณีที่ประชาชนกำลังกังวลใจว่าประเทศไทยจะต้องใช้เวลานานเท่าไรจึงจะใช้หนี้เงินกู้ก้อนนี้หมด นพพร พันธุ์เพ็ง มีคำตอบว่า เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทจะใช้เวลานานเท่าไรจึงจะใช้หมดนั้น ล้วนขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทย หากสถานการณ์การระบาดโควิด-19คลี่คลายเร็ว ค้นเจอยารักษาเร็ว เศรษฐกิจก็ฟื้นตัวเร็ว ส่งออกได้ นักท่องเที่ยวกลับมา ประชาชน บริษัทห้างร้านมีรายได้มากขึ้น รัฐบาลเก็บภาษีได้เยอะ รัฐบาลมีเงินสามารถใช้หนี้เงินกู้ได้หมดเร็วขึ้น ดังนั้นจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและภาวะเศรษฐกิจโลกว่าจะกลับมาเป็น New Normal ช้าเร็วเพียงใด
ชิษณุพงศ์ สุนทรพาณิชย์ เรียบเรียง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: