ส.ส.อุบลฯ อภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบปี 64 แนะรัฐกระจายงบให้ท้องถิ่น พัฒนาคุณภาพชีวิต ปชช.
เมื่อวันที่ 1-3 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้านและรัฐบาล ร่วมอภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 วงเงิน 3,300,000 ล้านบาท ซึ่งการอภิปรายครั้งนี้เป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ เพื่อให้รัฐบาลได้พิจารณาการบริหารจัดการงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน
ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย เผยว่า จากคำแถลงของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันโอชา ขออนุมัติสภาใช้เงิน 3.3 ล้านล้านบาท ซึ่งจะแบ่งเก็บรายได้รับ 2.7 ล้านล้านบาทและกู้เงิน 6 แสนล้านล้านบาท ทั้งนี้งบประมาณ 3.3 ล้านล้านบาท แบ่งการจัดการเป็น งบประมาณกลาง 6 แสนล้านล้านบาท,หน่วยรับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 1.1 ล้านล้านบาท,งบประมาณบูรณาการ 2 แสนล้านล้านบาท,งบประมาณด้านบุคลากร 7 แสนล้านล้านบาท,งบประมาณกองทุนหมุนเวียน 2 แสนล้านบาท,งบประมาณชำระหนี้ภาครัฐ 3 แสนล้านบาท
โดยงบประมาณ 3.3 ล้านล้านบาทนับว่าเป็นจำนวนเงินมหาศาล แต่ตลอดการทำงานของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันโอชา ยังไม่สมารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศมิหนำซ้ำราคาพืชผลผลิตตกต่ำเกษตรกรขาดรายได้ประชาชนตกงาน 4 ล้านคน แต่รัฐบาลกลับโยนการบริหารที่ล้มเหลวให้เป็นความผิดของโรคระบาด COVID-19 ปัจจุบันคนไทยหมดหนทางทำมาหากินต้องพึ่งการเสี่ยงโชคและการค้ายาเสพติด ซึ่งในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีเกิดบ่อนเถื่อนมอมเมาประชาชนเศรษฐกิจตกต่ำไม่ขับเคลื่อน
อย่างไรก็ตามประเทศไทยมีรายจ่ายมหาศาลแต่รายได้จริงส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยว โดยในการจัดสรรงบประมาณด้านการท่องเที่ยวกลับได้เพียงแค่ 8 พันล้านบาท ซึ่งภาพรวมของผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวกำลังประสบปัญหาขาดทุนจากธุรกิจ ทั้งนี้ภาครัฐควรเข้ามาหนุนขยายโอกาสสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและส่งเสริมไทยเที่ยวไทยเพื่อให้เกิดเงินตราหมุนเวียน นอกจากนี้ในเวลาเดียวกันต้องยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรผลักดันประเทศไทยเป็นครัวโลก
ด้าน สมคิด เชื้อคง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย กล่าวต่อว่า เมื่อสังเกตรายการงบประมาณแล้วตนรู้สึกไม่เห็นด้วยกับการจัดสรรงบประมาณ พ.ศ.2564 ซึ่งในแบบคู่มือได้ระบุวางงบประมาณรายจ่ายไว้อยู่ที่ 3.3 ล้านล้านบาท โดยตั้งเป้าจะเก็บภาษีให้ได้ทั้งหมด 2.7 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ส่วนตัวไม่คิดว่ารัฐบาลจะสามารถเก็บภาษีได้ครบตามคาดการณ์ เพราะขณะนี้ประเทศไทยเศรษฐกิจกำลังถดถอยการเก็บภาษีอาจเป็นเรื่องยาก ซึ่งทั้งหมดนี้จากการคาดการณ์อาจส่งผลให้ภายในกลางปีงบประมาณรัฐบาลมีแนวโน้มที่จะต้องกู้เงินเพิ่มเพื่อพยุงแผนงบประมาณ
นอกจากนี้ในแผนจัดสรรงบประมาณวางงบประมาณการพัฒนาด้านเกษตรกรรมไว้ที่ 6.9 พันล้านบาท โดยเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมางบประมาณด้านการพัฒนาเกษตรกรรมถูกวางไว้อยู่ที่ 5 พันล้านบาท ซึ่งจากการบริหารงานงบประมาณของรัฐบาลยังไม่สามารถพัฒนาคุณภาพด้านการเกษตรของประเทศไทยได้อย่างแท้จริงและทั้งหมดอยากฝากให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีช่วยพิจารณาการจัดสรรงบประมาณ พ.ศ.2564 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
อิสสระ สมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ มีความเห็นว่า งบประมาณ 3.3 ล้านล้านบาทที่ถูกเสนอเข้ามานั้นในส่วนแผนจัดการบูรณาการทรัพยากรน้ำในปี พ.ศ. 2564 ได้งบประมาณ 6 หมื่นล้านบาท โดยส่วนตัวคิดว่าเงินจำนวนนี้ยังไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนาให้ตรงตามเป้าหมายตามที่รัฐบาลวางไว้
และนอกจากนี้ต้องการให้รัฐบาลพัฒนาพื้นที่น้ำนอกเขตชลประทานเพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางทรัพยากรน้ำและยั่งยืน ซึ่งมีข้อเสนอดังนี้ 1)สร้างอ่างเก็บน้ำ 2)สร้างแก้มลิง 3)สนับสนุนการสร้างฝายชะลอน้ำแบบขั้นบันได 4)ศึกษาแนวทางการสร้างเขื่อนยาง 5)สนับสนุนการเจาะน้ำบาดาลเพื่อนำน้ำใต้ดินมาใช้ 6)มีกฎหมายควบคุมการก่อสร้างในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ
คำพอง เทพาคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้อภิปรายรายจ่ายประจำปีงบประมาณแผนจัดการบูรณาการทรัพยากรน้ำว่า แผนจัดการบูรณาการทรัพยากรน้ำปี 2564 งบประมาณจำนวนมหาศาล 9 หมื่นล้านบาทยังตกอยู่ที่ส่วนกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมชลประทาน นอกจากนี้งบประมาณยังตกอยู่ในส่วนภูมิภาคมากกว่าส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้หน่วยงานท้องถิ่นน่าจะเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการบริหารในพื้นที่ซึ่งจากปัญหานี้การนำงบประมาณมหาศาลไปกองไว้กับส่วนกลางไม่ใช่เรื่องที่ควร
ซึ่งอยากเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำดังนี้ 1)ลดศูนย์อำนาจกระทรวง ทบวง กรม หากให้ส่วนกลางดูแลต้องเป็นคณะกรรมการลุ่มน้ำ 2)สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านการใช้อำนาจของหน่วยงานท้องถิ่น ทั้งนี้ให้หน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลพื้นที่และส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างโดยให้ท้องถิ่นเป็นผู้ตัดสินใจ
ด้าน กิตติ์ธัญญา วาจาดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย อภิปรายปรึกษาถึง 1)การก่อสร้างหอประชุมหลังใหม่ของอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีการขอร้องจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเสนอขอหอประชุมหลังใหม่หลังจากหลังเดิมมีสภาพชำรุดทรุดโทรมโดยหอประชุมนั้นถูกก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ผ่านการใช้งานมาแล้ว 23 ปี ทั้งนี้หอประชุมอำเภอวารินชำราบเป็นสถานที่ที่มีผู้มาใช้งานเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ฝากถึงกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครองท้องถิ่นได้เข้ามาดูแลจัดสรรงบประมาณเพื่อทำการก่อสร้างหอประชุมหลังใหม่
2)การขอไฟฟ้าส่องสว่างถนนทางหลวงหมายเลข 2213 เส้นทาง นาส่วง-นาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางสัญจรของบุคลากรทางการแพทย์ประจำอำเภอนาเยีย ทั้งนี้จึงอยากเรียนขอไฟฟ้าส่องสว่างเพื่อความปลอดภัยของประชาชน
อิสสระ สมชัย อภิปรายงบประมาณ 64
อิสสระ สมชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ คนอุบลฯอภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 256402-07-63Cr : โทรทัศน์รัฐสภา
โพสต์โดย Ubon Connect อุบลคอนเนก เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม 2020
คำพอง เทพาคำ ส.ส.คนอุบลฯพรรคก้าวไกล
คำพอง เทพาคำ รองเลขาธิการพรรคก้าวไกล คนอุบลฯ อภิปราย งบบริหารจัดการน้ำ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 256403-07-63Cr : โทรทัศน์รัฐสภา
โพสต์โดย Ubon Connect อุบลคอนเนก เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม 2020
กิตติ์ธัญญา วาจาดี ส.ส.อุบลราชธานี อภิปราย
กิตติ์ธัญญา วาจาดี ส.ส.อุบลราชธานี อภิปรายถามถึงการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างบนถนนทางหลวงหมายเลข 2213 และร้องของบประมาณสร้างหอประชุม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี :โทรทัศน์รัฐสภา
โพสต์โดย Ubon Connect อุบลคอนเนก เมื่อ วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม 2020
ชิษณุพงศ์ สุนทรพาณิชย์ เรียบเรียง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: