X

การเมืองไทยเปลี่ยนได้ หากคนรุ่นใหม่และเก่า ยอมรับความเห็นต่าง ลดการว่าร้าย หยุดใช้ความรุนแรง

การเมืองไทยเปลี่ยนได้ หากคนรุ่นใหม่และรุ่นเก่า ยอมรับความเห็นต่าง ลดการว่าร้าย หยุดใช้ความรุนแรง

ปัจจุบันต้องยอมรับว่าสถานการณ์การเมืองประเทศไทยค่อนข้างน่ากังวลใจเหมือนย้อนเวลากลับไปในช่วงอดีตที่ผ่านมา ความขัดแย้งทางการเมืองของคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่าเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นในสังคม ซึ่งอนาคตไม่มียังแวววาทีท่าที่จะคลี่คลายสถานการณ์ลง

นายนพพร พันธุ์เพ็ง นักวิชาการอิสระภาคประชาสังคม เปิดเผยว่า ปัจจุบันตนเองได้ติดตามสถานการณ์การเมืองอยู่บ้าง โดยช่วงหลังนี้ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากโลกออนไลน์เป็นหลัก ได้เห็นภาพบรรยากาศชุมนุมที่คล้ายกับเหตุการณ์14 ตุลา 6ตุลาอีกครั้ง จากภาพการชุมนุมปัจจุบันระดับความรุนแรงอาจยังไม่สามารถเทียบเท่าอดีต ซึ่งจากการประเมินคิดว่าความรุนแรงยังอยู่เพียงระดับ 5-6 ไม่รุนแรงถึงขั้นระดับ 10 ทั้งนี้มวลเหตุของการชุมนุมในอดีตและปัจจุบันยังมีลักษณะคล้ายคลึงกันตรงที่ว่าคนรุ่นใหม่ต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศ

โดยในปี 2514 การชุมนุมครั้งนั้น กลุ่มคนรุ่นใหม่เรียกแทนตัวว่ากลุ่มหัวก้าวหน้า มีความคิดก้าวหน้า มีอุดมการณ์ต้องการเปลี่ยนแปลงโลก เปลี่ยนแปลงสังคม ซึ่งมีแนวคิดขัดแย้งกับคนรุ่นเก่าในสมัยนั้น และเรียกคนรุ่นเก่าว่า เป็นไดโนเสาร์ เต่าล้านปี ทั้งนี้ในอดีตตนเองมีประสบการณ์ได้เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มหัวก้าวหน้า โดยต้องยอมรับคนในยุคนั้นมีความคิดความมั่นใจสูง ต่อต้านผู้สูงวัย ชนชั้นนำ หรือกระฎุมพี ซึ่งปัจจุบันคำเหล่านี้เลือนหายไปแต่มีคำใหม่เกิดขึ้นแทนคือคำว่า “เผด็จการ” “สลิ่ม”

ทั้งนี้การชุมนุมในยุคอดีตและปัจจุบันยังมีความแตกต่างอยู่พอสมควร โดยในอดีตกลุ่มผู้ชุมนุมคนรุ่นใหม่ยังยึดขนบประเพณีเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ที่เห็นต่าง แต่ปัจจุบันคนยุคใหม่ไม่ค่อยให้ความเคารพครู อาจารย์ ผู้หลักผู้ใหญ่ เพราะวันนี้สังคมเปิดกว้างมีความเป็นตะวันตกมากขึ้นรวมทั้งเด็กรุ่นใหม่มีความคิดเร็ว ทำเร็ว เติบโตกับสื่อต่างๆเกิดการหลอมรวมที่แปลเปลี่ยนไป ซึ่งลึกๆในใจของกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ยังคงมีความเคารพผู้หลักผู้ใหญ่แต่ภาษาที่ใช้แสดงออกอาจจะมีความรุนแรงมากเกินไปอย่างเช่นบนโลกออนไลน์

ซึ่งบนโลกออนไลน์ เป็นพื้นที่แสดงอารมณ์ก้าวร้าวอย่างแท้จริงเด็กรุ่นใหม่ กล้าคิด กล้าพูด กล้าเสนอความจริง แต่กลับกันบนโลกความจริงสิ่งเหล่านี้จะพบเห็นได้น้อย เพราะเด็กจะยังมีกรอบและมารยาทไม่กล้าแสดงความคิดเห็นหรืออารมณ์อย่างแท้ของตนเองออกมาซึ่งอาจเปรียบเหมือน “ทวิภพ” โดยภาพสะท้อนที่เห็นได้ชัดเจนเลยคือในโลกออนไลน์มีคนจำนวนมากแสดงความเห็นเป็นหลักหมื่น หลักแสน แต่พอเกิดการรวมตัวหรือการชุมนุมมีผู้เข้าร่วมเพียงหลักร้อย หลักพัน ซึ่งภาพนี้เป็นบ่งชี้ได้ชัดว่าโลกออนไลน์และโลกความจริงยังมีความแตกต่างกัน

ส่วนเรื่องความเห็นทางการเมืองของคนรุ่นใหม่และรุ่นเก่าที่ขัดแย้งกันระหว่างภายในครอบครัว ซึ่งนายนพพร พันธุ์เพ็ง มีความเห็นว่า เป็นเรื่องปกติที่รุ่นลูกกับรุ่นพ่อจะมีชุดความคิดที่แตกต่างกัน โดยทั้งนี้คนในครอบครัวต้องหันหน้าเปิดใจคุยกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในอดีตและปัจจุบันให้กันและกัน ซึ่งคนภายในครอบครัวเองนั้นก็ต้องยอมรับความคิดความเห็นของทุกคน เพราะเรื่องทัศนะทางการเมืองทุกคนควรมีความเท่าเทียม เสมอภาคกัน แต่ในด้านสถานะครอบครัวลูกยังต้องเคารพพ่อแม่และพ่อแม่ต้องดูแลลูกตามบทบาท

ทั้งนี้อยากคำแนะนำสำหรับครอบครัวที่พ่อแม่และลูกไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นกัน ซึ่งอยากให้ทุกคนยอมเปิดใจรับฟังกัน โดยสามารถโกรธกันได้แต่ห้ามเกลียด เพราะช่วงวัยและประสบการณ์ ชุดความคิดแต่ละคนไม่เท่ากันอาจมีผลต่อความคิดทางการเมือง คนรุ่นใหม่ต้องการแสดงจุดยืนส่วนคนรุ่นหลังเกิดความเป็นห่วง ทั้งนี้ทุกคนต้องแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ชุดความคิดไปด้วย

ด้านคนรุ่นใหม่ก็ต้องแสดงศักยภาพให้คนรุ่นเก่าเห็นว่าอนาคตจะสามารถพาบ้านเมืองไปในทิศทางที่ดีได้ ซึ่งต้องแสดงเหตุผล สติ อย่าใช้ hate speechว่าร้ายกัน ควรใช้ความรู้สร้างความเชื่อมั่นให้คนรุ่นเก่าวางใจ โดยเน้นหยิบยกเรื่องเศรษฐกิจและอนาคตของประเทศที่ประชาชนทุกคนยอมรับได้มาเป็นตัวเคลื่อนไหวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

นอกจากนี้หลายคนกังวลใจกลัวเหตุการณ์ชุมนุมครั้งนี้จะทวีความรุนแรงเทียบ 14 ตุลา 6ตุลา นายนพพร พันธุ์เพ็ง วิเคราะห์ว่า การชุมนุมครั้งนี้อาจไม่รุนแรงถึงขั้นนั้น เพราะจากเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 63 กลุ่มคนรุ่นใหม่ถอนฟืนออกจากกองไฟมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทการชุมนุม ไม่กล่าวจาบจ้วงพาดพิงสถาบัน และเชื่อว่าประชาชนจะไม่ออกมารวมตัวกันมากเมื่อเทียบกับอดีต ทั้งนี้โลกออนไลน์สามารถสร้างกระแสได้แต่ไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ โดยต้องยอมรับว่าการชุมนุมปัจจุบันเป็นลักษณะแฟลชม็อบ ไม่มีแกนนำ ประชาชนมาแล้วจากไป จุดกระแสได้แต่ไม่สร้างการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงโลกได้อย่างแท้จริงต้องใช้ความรัก ความสามัคคี ยอมรับความเห็นต่างซึ่งกันและกัน

ชิษณุพงศ์ สุนทรพาณิชย์ เรียบเรียง

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ 0 / 5. จำนวนโหวต: 0

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สุชัย เจริญมุขยนันท

สุชัย เจริญมุขยนันท

นิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลักสูตรโปรดิวเซอร์ เนชั่น วิทยากรพิราบน้อย โครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยุ มูลนิธิหมอชาวบ้าน วิทยุเนชั่น ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทยประจำจงอุบลราชธานี ผู้จัดการศูนย์ข่าวประชาสังคมอุบลราชธานี ปัจจุบัน เลขาธิการมูลนิธิสื่อสร้างสุข ผู้อำนวยการทีวีชุมชนอุบลราชธานี E : suchaiubon@gmail.com F : ทีวีชุมชนอุบลราชธานี T : 0818786440 LINE : SUCHAINEWS