อุบลราธานี-เปิดเผย วิจัยการจัดการน้ำ เน้นชุมชนมีส่วนร่วม เสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ หนุนชุมชนช่วยเหลือตนเองอย่างยั่งยืน
ในช่วงฤดูฝนของทุกปีจังหวัดอุบลราชธานีถูกจัดเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติน้ำท่วมและเมื่อปี 2562 จังหวัดอุบลราชธานีเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ส่งผลให้ปี 2563 มีหลายภาคส่วนเริ่มเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ ทั้งนี้ทางมูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิตจึงได้จัดทำงานวิจัยหัวข้อ “เรื่องการจัดการน้ำ” โดยให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมช่วยคิดช่วยทำร่วมจัดการ เพื่อลดการสูญเสียและความเสียหายอย่างยั่งยืน
ทัพไท ชุ่มนาเสียว มูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิต เล่าถึงกระบวนการของงานวิจัยว่า งานวิจัยของมูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิต เรื่องการจัดการน้ำให้ชาวบ้านมีส่วนร่วม จะมีกระบวนวิจัยคือเริ่มจากการลงพื้นที่จริงรับทราบถึงปัญหาของชุมชน ซึ่งสิ่งที่พบแต่ละพื้นที่มีชุดความรู้และบทเรียนมากมายแตกต่างกัน โดยมีหลายทีมวิจัยลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องได้มีข้อเสนอต่างๆที่เชื่อมโยงภาครัฐและเอกชน
ซึ่งแตกต่างจากงานวิจัยที่ของมูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิตกำลังดำเนินอยู่ โดยทางทีมวิจัยมีจุดประสงค์หลักที่มุ่งเน้นให้ชุมชนรู้จักการกำหนดแนวทางและแผนการจัดการน้ำท่วมของชุมชนตนเอง เพื่อนำไปสู่การลดผลกระทบของในพื้นที่ชุมชนตนเองอย่างยั่งยืน
โดยสิ่งที่ทางทีมวิจัยกำลังดำเนินอยู่ขณะนี้ 1) ศึกษาสถานการณ์น้ำท่วมในแต่ละพื้นที่ 2) ถอดบทเรียนและแนวทางการจัดการน้ำท่วมในช่วงอดีต 3) ศึกษาศักย์ภาพและองค์ความรู้ของทั้งชุมชนและหน่วยในพื้นที่ ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้จะเป็นตัวสร้างแนวทางการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต โดยขณะนี้งานวิจัยได้ดำเนินงานไปแล้วมากกว่า 50%
ซึ่งประโยชน์และความรู้ที่คนในชุมชนได้รับ 1) ชุมชนได้รู้จักองค์ความรู้การอ่านค่าน้ำของกรมชลประทาน ซึ่งสามารถต่อยอดไปในอนาคตทำให้รู้การประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงของภัยพิบัติ 2) ประชาชนได้รู้จักแหล่งข้อมูลการพยากรณ์น้ำฝนนอกเหนือจากกรมอุตุนิยมวิทยา ทั้งนี้ประชาชนจะได้มีแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำไปสู่ประกอบการตัดสินใจการจัดการน้ำในอนาคต
ส่วนภาคคณะทำงานได้เรียนรู้กลไกการจัดการน้ำรู้จักการวางแผน การตั้งศูนย์พักพิง การเตรียมความพร้อม การแจ้งเตือนภัยยามภาวะฉุกเฉิน โดยคณะทำงานจะเป็นผู้ดำเนินการ และอนาคตหากพบว่าชุมชนยังมีปัจจัยที่ขาดเหลือ เช่น ทุนทรัพย์หรือสิ่งที่ชุมชนต้องการ ทางคณะทำงานต้องวางแผนหาทางออก ยกตัวอย่าง ตำบลกุดลาด-ปทุม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ได้ดำเนินการจัดงานทอดผ้าป่าเพื่อนำเงินที่ได้ไปต่อยอดซื้อเรือไว้ใช้ยามภัยพิบัติ
นอกจากนี้งานวิจัยยังเข้าไปตัวช่วยเชื่อมโยงให้มีการสร้างข้อตกลงการจัดการน้ำร่วมกัน เพื่อไปสู่การลดผลกระทบความเสียหายด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งที่ต้องแก้ไขและสร้างข้อตกลงอย่างเร่งด่วนคือกฎระเบียบราชการและการทำงานซับซ้อนของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งการสร้างข้อตกลงได้นั้นต้องได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนร่วมคิดร่วมทำช่วยระดมความรู้วางแนวปฏิบัติการจัดการน้ำท่วมหรือการอยู่กับน้ำอย่างไรให้มีความสุข
ถัดมา ทัพไท ชุ่มนาเสียว กล่าวว่า หากอนาคตชุมชนในหลายพื้นที่ ได้รู้จักกับการวางแผนแนวทางการปฏิบัติช่วยเหลือ ซึ่งอาจเริ่มจากใช้เครื่องมือรอบตัวเข้ามาช่วยเหลือ เช่น ใช้เครื่องมือสื่อสารค้นหาข้อมูลสถานการณ์น้ำ โดยการเริ่มต้นเพียงเท่านี้ก็จะตัวนำไปสู่การจัดการลดผลกระทบมิติต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
ชิษพงศ์ สุนทรพาณิชย์ เรียบเรียง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: