อุบลราชธานี-สนามเลือกตั้งนายกอ อบจ.อุบลราชธานี คนมีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งต้องการให้ผู้ผ่านการรับเลือก แก้ปัญหารถติด เสริมศักยภาพด้านเศรษฐกิจ ในฐานะเป็นเมืองหน้าด่านติดกับประเทศเพื่อนบ้าน และวางระบบการศึกษาดีกว่าที่กระทรวงศึกษาธิการวางไว้
โดย น.ส.ปวีณา คะณะพันธ์ หรือแพม ระบุว่า อยากได้คนที่ไม่โกงกินบ้านเมือง ต้องสามารถแก้ปัญหาด้านการจราจรไม่ให้ติดขัด และการทำงานควรต้องฟังเสียงของประชาชน โดยเฉพาะคนตัวเล็กๆ แบบตนเองเป็นต้น
ขณะที่นายขยันวิทย์ ศรีสกุลวรรณ ระบุเหมือนกันว่า ต้องการนายก อบจ.ที่เป็นคนซื่อสัตย์ มีทัศนวิสัยก้าวหน้าพัฒนาบ้านเมืองให้ทันสมัย มีภูมิทัศสวยงาม มีระบบการขนส่งมวลชนดีและไม่ติดขัด รวมทั้งให้การกระจายรายได้ไปถึงคนในชนบทมากกว่าที่เป็นอยู่ และจัดสรรระบบชลประทานให้ทั่วถึงเกษตรกรทุกคน เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัวของเกษตรกร
สำหรับนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์การปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ผศ.สุเชาว์ มีหนองหว้า ประธานสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มองว่าสิ่งที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาและต้องทำคือ ด้านการศึกษา ซึ่งต้องส่งเสริมจัดระบบการศึกษาในท้องถิ่นให้แตกต่างและดีไปกว่าที่กระทรวงศึกษาทำอยู่ในเวลานี้
ข่าวน่าสนใจ:
- พร้อมรับสมัครเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภา อบจ.พังงา เชิญชวนคนดีมีความสามารถมาสมัคร 23-27 ธันวาคมนี้
- กกต.ตรัง พร้อมเปิดสนาม จัดเลือกตั้งอบจ. เปิดยิม 4,000 ที่นั่งรับสมัคร พื้นที่กว้างขวางรองรับกองเชียร์ผอ.กกต.ตรัง เผยการข่าวพบ 3…
- สจ.เปี๊ยกไม่ปลื้ม นายกไก่เปลี่ยนใจยอมสยบฉายแสง สุดท้ายกลายเป็นมาให้กำลังใจ
- กกต.อบจ.เพชรบูรณ์ ประกาศผลเลือกตั้ง "อัครเดช"รั้งแชมป์สมัย 7 ผู้ใช้สิทธิ์ไม่ถึงร้อยละ 50 ปชช.สงสัยผู้ใช้สิทธิกับบัตรลงคะแนน เลขเขย่งถามสาเหตุ
ต้องส่งเสริมการค้าขายชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่นการจัดทำถนนให้เชื่อมโยงสามารถขนส่งสินค้าไปยังแหล่งจำหน่ายใหม่ๆ สอดคล้องกับที่รัฐบาลกลางกำลังส่งเสริมให้มีสะพานแม่น้ำโขงแห่งใหม่ที่จังหวัดอุบลราชธานี
สุดท้ายต้องเป็นเจ้าภาพจัดการปัญหาเรื่องอุทกภัยของจังหวัด ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ เนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดปลายน้ำของจังหวัดต่างๆ เพื่อลดผลกระทบและความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ถูกน้ำท่วมซ้ำซากเป็นประจำ
การเลือกตั้งระดับท้องถิ่นเป็นการเลือกตั้งที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ก่อนที่จะไปสู่ระดับประเทศ และการเลือกตั้ง อบจ.ยังส่งผลต่อการเลือกตั้งระดับใหญ่ในอนาคต เพราะผู้สมัครส่วนใหญ่เป็นฐานเสียงของการเมืองระดับประเทศ จะเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยชาวบ้านก็พอมองออก ดังนั้นนอกจากจะได้ตัวแทนของการเมืองระดับชาติเข้ามาเป็นผู้บริหารในระดับจังหวัด ยังเป็นการตรวจเช็คฐานเสียงของการเมืองในระดับชาติด้วย
สำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี มีผู้ลงสมัครจำนวน 7 คน จาก 4 กลุ่มการเมือง ส่วนผู้สมัคร ส.อบจ.มีผู้สมัครที่สังกัดในกลุ่มของผู้ลงแข่งขันรับเลือกเป็นนายก อบจ.และแบบอิสสระจำนวน 223 คน รวมผู้สมัครทั้ง 2 แบบ จำนวน 230 คน
โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่คือ นายกานต์ กัลป์ตินันท์ อดีตนายก อบจ.หลายสมัยที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคเพื่อไทย ซึ่งมีความได้เปรียบกว่าผู้สมัครรายอื่น เพราะนอกจากเคยลงเล่นในสนามนี้มาแล้ว ก็ยังได้แรงสนับสนุนจากกลุ่ม สจ.และ ส.ส.ที่สังกัดพรรคเพื่อไทยในการแข่งขันครั้งนี้
ส่วนกลุ่มต่อมาคือ น.ส.นายกแอนสมปรารถนา วิกรัยเจิดเจริญ อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลนครอุบลราชธานี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มคุณธรรมของนายพรชัย โควสุรัตน์ อดีตนายก อบจ. 2 สมัยที่ถูกคำสั่ง ม.44 ให้หยุดปฏิบัติหน้าที่นายก อบจ.เมื่อปี 2558 และอยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีในชั้นศาล จึงได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มการเมืองที่เป็นเจ้าของตำแหน่งเดิม และจาก พล.ต.อ.ชิตชัย วรรณสถิตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งต้องการรักษาฐานทางการเมืองนี้เอาไว้ แต่ก็ถือเป็นคนหน้าใหม่ของประชาชนในสนามนี้
กลุ่มที่ 3 ที่นายเชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พลังประชารัฐ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอุบลคนดี ของกลุ่ม ส.ส.พลังประชารัฐในจังหวัด ซึ่งมีโอกาสพอทำคะแนนได้จากฐานเสียงของ สจ.และ สส.ในกลุ่มพลังประชารัฐ แต่ก็ต้องไปแบ่งเอาจากกลุ่มคุณธรรม เพราะเป็นฐานเสียงเดียวกัน
สุดท้ายก็คือคณะก้าวหน้า นายเชษฐา ไชยสัตย์ จะมาอาศัยดึงคะแนนจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่โอกาสที่จะเบียดแทรกกลุ่มการเมืองเดิมทั้ง 3 กลุ่มที่วางมาอย่างยาวนาน ก็ยากพอสมควร
เกียรติรัตน์ ชัยสกุลวงศ์ ข่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: