อุบลราชธานี-ครบรอบ 1 ปี โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา เผย วิวัฒนาการฉายรังสีสมัยใหม่ ย่นเวลาไม่ต้องโกนศีรษะ และเทคโนโลยีตรวจหาความเสี่ยงยีนมะเร็ง เพิ่มโอกาสการรักษาให้หายขาด มาพร้อมโปรโมชั่นพิเศษตรวจหาความเสี่ยงยีนมะเร็ง Buy 1 Get 2 ซื้อ1ได้ถึง 2
นายแพทย์ธนุตม์ ก้วยเจริญพานิชก์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา กล่าวว่า 1 ปีที่ผ่านมาโรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตราเปิดบริการดูแลรักษาพี่น้องในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ทางด้านการบริการรักษาได้เพิ่มศักยภาพการรักษามากขึ้นไม่ว่าจะเป็น การให้บริการเคมีบำบัด การรักษาแบบให้ยาพุ่งเป้า และยาภูมิต้านทานบำบัด ซึ่งนับว่าเป็นการรักษาที่ทันสมัยรูปแบบใหม่ ต่อมาด้านการฉายรังสีมีการพัฒนากระบวนรูปแบบการฉายรังสีใหม่ โดยใช้รังสีศัลยกรรมที่ทันสมัยให้ผลลัพธ์การรักษาดี ใช้เวลาน้อยลง
ส่วนด้านบริการตรวจวินิจฉัยมีโปรแกรมตรวจสุขภาพทั้งหมด 10 โปรแกรม เป็นโปรแกรมตรวจคัดกรองเจาะลึกเฉพาะโรคมะเร็งในแต่ละส่วนของร่างกาย และนอกจากนี้สิ่งที่ทางโรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตราเพิ่มการวินิจฉัยเข้ามาคือการตรวจหายีนความเสี่ยงโรคมะเร็ง อย่างไรตาม 1 ปีที่ผ่านมาโรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรามีความภูมิใจอย่างมากที่ได้เป็นคู่สัญญากับบริษัทประกันชีวิตไม่ว่าจะเป็นของประเทศไทย 3 บริษัท (บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต,บริษัทAIA,บริษัทอยุธยาอลิอันซ์) และต่างประเทศ 1 บริษัท (บริษัทVYV International)
ทั้งนี้ในด้านการบริการรักษาแบบฉายรังสี นายแพทย์ธีรพล เจนวิทยา ที่ปรึกษา โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา กล่าวเสริมว่า รังสีรักษาในปัจจุบันใช้ร่วมกับการรักษาผ่าตัด ฉายรังสีและเคมีบำบัด ซึ่งเทคโนโลยีรังสีสมัยใหม่และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สามารถใช้รังสีในการผ่าตัดทำลายก้อนเนื้อมะเร็งได้อย่างรอบทิศทาง ซึ่งข้อดีของการใช้รังสีผ่าตัดนั้นไม่จำต้องดมยาสลบหรือโกนศีรษะ และใช้เวลาน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเครื่องมือมีดปกติ
ข่าวน่าสนใจ:
อย่างไรก็ตาม การรักษาแบบฉายรังสีรักษาปัจจุบันนี้มีกระบวนการทำงานโดยการปล่อยรังสีปริมาณที่สูง เพื่อเข้าไปสู่การทำลายก้อนมะเร็งอย่างครอบคุ้มทั้งก้อน ซึ่งมีผลข้างเคียงต่ออวัยวะปกติน้อย เพราะมีซีกกำบังรังสีเพื่อความปลอดภัย และสามารถลดเวลาการปล่อยลำรังสีได้ โดยจากอดีตการฉายรังสีจะอยู่ที่ 30-35 แสง 5ครั้ง พัก 1 ครั้ง ใช้เวลารักษา 6-7 สัปดาห์ แต่ทว่าการผ่าตัดรักษาด้วยเทคโนโลยีรังสีชั้นสูงจะใช้เวลา 1-5 ครั้ง ระยะเวลารักษา 1-2 สัปดาห์ ซึ่งในส่วนนี้สามารถลดเวลาการรักษาและค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลได้มากพอสมควร แต่ทั้งนี้การจะผ่าตัดด้วยรังสีได้นั้นก้อนเนื้องอกจะต้องมีขนาดที่เล็กและไม่ติดกับอวัยวะสำคัญ
และนอกจากการผ่าตัดโดยรังสีแล้ว นายแพทย์ธนุตม์ ก้วยเจริญพานิชก์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา กล่าวเสริมถึงการรักษาประเภทอื่นว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีการแพทย์พัฒนาไปอย่างรวดเร็วมีกระบวนดูแลรักษาทางด้านยาทันสมัยมากขึ้น อาทิ การให้ยาเคมีบำบัดแบบรับประทาน ยาลดผลข้างเคียงกระตุ้นเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด ยาลดคลื่นไส้อาเจียน และนอกจากนี้ยังมียาพุ่งเป้าที่ออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งแต่ไม่ทำลายเซลล์ที่เป็นประโยชน์โดยรอบ
ทั้งนี้ยังมีการรักษาแบบ Immunotherapy ภูมิต้านทานบำบัด โดยจะฉีดยากระตุ้นภูมิต้านทานเพื่อให้ยับยั้งหยุดการทำงานของกระบวนสร้างเซลล์มะเร็ง ทำให้เม็ดเลือดขาวสามารถควบคุมเซลล์มะเร็งได้
และนอกจากนี้มีวิวัฒนาการสมัยใหม่ปัจจุบันสามารถตรวจยีนหาเซลล์กลายพันธุ์ที่มีโอกาสจะพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็ง โดยขณะนี้การตรวจเซลล์ยีนที่กำลังเป็นที่นิยมคือยีน BRCA 1, BRCA 2 ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้มีความสัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ เพราะฉะนั้นแล้วการตรวจยีนจะสามารถบ่งบอกถึงความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ และหากพบความผิดปกติของยีนก็จะทำให้ผู้เข้ารับการตรวจรู้จักการปฏิบัติตัว ลดความเสี่ยง การเกิดมะเร็ง เพราะมะเร็งหากรักษาในระยะเริ่มต้นโอกาสหายขาดจะมีสูงมากกว่า ระยะ 3-4
ทั้งนี้ในวาระครบรอบ 1 ปี โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตราได้จัดทำโครงการ Buy 1 Get 2 ซื้อ1 ได้ถึง 2 เพื่อแทนคำขอบคุณผู้ใช้บริการ โดยในวันที่ 21-30 พฤศจิกายน 2563 สามารถซื้อบริการโปรแกรมตรวจหาความเสี่ยงยีนมะเร็ง(BRCA 1, BRCA 2) ซื้อ 1 โปรแกรม สามารถรับการตรวจได้ 2 ท่าน ในราคา 38,000 บาท (50 สิทธิ์เท่านั้น) ทั้งนี้สามารถติดต่อสอบถามโดยตรงที่โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา หรือหมายเลขโทรศัพท์ 045-958-888 และ Facebook Fanpage :โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา Chiwamitra Cancer Hospital
ชิษณุพงศ์ สุนทรพาณิชย์ / เรียบเรียง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: