อุบลราชธานี-สนามเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี คึกคัก ประชาชนจับตาดูนโยบายผู้สมัคร หวังให้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในพื้นที่
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เปิดเวที “จับตาเลือกตั้งท้องถิ่นอีสาน” เพื่อรับฟังเสียงประชาชนที่มีต่อการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งจะเป็นการร่วมแลกเปลี่ยนแนวความคิด สะท้อนมุมมองจากภาคประชาสังคมและตัวแทนคนรุ่นใหม่ หลังจากว่างเว้นการเลือกตั้งท้องถิ่นมานานกว่า 7 ปี
พงษ์สันต์ เตชะเสน ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ประจำจังหวัดอุบลราชธานี เล่าว่า บรรยากาศการเลือกตั้งท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานีในครั้งนี้ ค่อนข้างคึกคักในวันรับสมัครแต่ยังน้อยกว่าอดีต ทั้งนี้มีกฎระเบียบใหม่หลายอย่างจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ทำให้ผู้สมัครเลือกตั้งท้องถิ่นต้องอยู่ในกรอบและระวังตัวมากขึ้น จึงส่งผลให้การหาเสียงไม่ค่อยคึกคักเท่าที่ควร ซึ่งสื่อที่ใช้จะเน้นเป็นรถแห่ ป้ายหาเสียง และสื่อออนไลน์สมัยใหม่ เช่น Facebook
ผศ.สุเชาวน์ มีหนองหว้า ประธานสาชาวิชาการปกครอง ท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กล่าวเสริมว่า การเลือกตั้งท้องถิ่นในครั้งนี้ผู้สมัครไม่มีเอกสารแนะนำตัวเหมือนอย่างอดีต แต่จะใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยหาเสียง ซึ่งส่วนตัวมองว่าการหาเสียงรูปแบบใหม่นี้มีผลเสียทำให้ไม่ค่อยเห็นนโยบายพัฒนาจังหวัดอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนประชาชนก็ไม่ทราบทิศทางการขับเคลื่อนจังหวัดของนักการเมืองอย่างชัดเจน ทั้งนี้เหลือเวลาหาเสียงอีกประมาณ 1 เดือน ผู้สมัครควรใช้ช่วงเวลานี้ชูนโยบายแบบแผนการพัฒนาเศรษฐกิจ ทรัยากร และแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมประชาชนเข้าใจง่าย
ข่าวน่าสนใจ:
- อบจ.ลำปาง จัดงาน "ป๋าเวณียี่เป็งละกอน"ส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม
- เพชรบูรณ์ - เคาะแล้ว! 4-8 พ.ย.นี้ เปิดรับสมัครชิงนายก อบจ.เพชรบูรณ์ วันหย่อนบัตร15ธ.ค.67
- เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นผลกระทบสิ่งแวดล้อม หลังเตรียมตั้งนิคมอุตสาหกรรม 1 พันไร่ รองรับพื้นที่ EEC
- คึกคัก "ฮาโลวีน" ภูเก็ต นทท.แต่งผีสร้างสีสัน ด้านตร.ทท.ภูเก็ต ไอเดียเจ๋ง แต่งชุดผี เสริมการท่องเที่ยว
ด้าน ประสงค์ จันทร์ รองประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี แสดงความเห็นว่า การเมืองท้องถิ่นมีส่วนสำคัญอย่างมากในการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัด ซึ่งทางหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานีคาดหวังอยากเห็นระดับเศรษฐกิจฐานรากได้รับการขับเคลื่อนพัฒนา โดยหากเศรษฐกิจชุมชนดีจะส่งผลให้เศรษฐกิจระดับมหาภาคมีการขยายตัวตามเช่นกัน ทั้งนี้นักการเมืองท้องถิ่นต้องเข้าไปส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนหนุนเสริมพัฒนาการแปรรูปต่างๆให้เข้มแข็งไม่ว่าจะเป็น ภาคการเกษตร ภาคประมง และภาคปศุสัตว์
ส่วนภาคประชาชน รุ่งทิวา วอทอง ตัวแทนจากเครือข่ายอาสาชุมชนป้องกันภัยพิบัติจังหวัดอุบลราชธานี สะท้อนปัญหาการป้องกันภัยพิบัติและความคาดหวังต่อการเลือกตั้งท้องถิ่นว่า เครือข่ายอาสาชุมชนป้องกันภัยพิบัติจังหวัดอุบลราชธานีเป็นกลุ่มที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำและความล้มเหลวของภาครัฐในการช่วยเหลือด้านภัยพิบัติ ซึ่งในอดีตประชาชนเป็นฝ่ายตั้งรับกับภัยพิบัติการแก้ไขปัญหาจึงเป็นไปด้วยความลำบาก ทั้งนี้อยากฝากให้นักการเมืองท้องถิ่นหันมาตระหนักชูนโยบายแนวทางการแก้ไขปัญหาและการเตรียมความพร้อมการตั้งรับกับภัยพิบัติน้ำท่วมอย่างยังยืนโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม
ด้านตัวแทนคนรุ่นใหม่อย่าง มัสยา ส่องาม รองประธานสภานักศึกษาคนที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้แสดงความเห็นต่อการเมืองท้องถิ่นว่า การเลือกตั้งนากยกองค์การบริหารส่วนจังหวัดครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของตนรู้สึกตื่นเต้นและตื่นตัวมากต่อการเลือกตั้ง ทำให้เกิดความสนใจในการศึกษานโยบายต่างๆของนักการเมือง โดยส่วนมากผู้สมัครจะเน้นส่งเสริมการแก้ไขปัญหาการคมนาคมและระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานเป็นหลัก ทั้งนี้ยังไม่มีนโยบายเกี่ยวกับด้านการศึกษาหรือการพัฒนาคุณภาพการเรียน ซึ่งส่วนตัวมองว่านักการเมืองควรส่งเสริมการศึกษาไม่ควรมองข้าม เพราะการศึกษาถือเป็นเรื่องสำคัญเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาตัวบุคคล
และนอกจากนี้ มัสยา ส่องาม ตัวแทนคนรุ่นใหม่ ยังฝากถึงผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่นว่า สิ่งที่คนรุ่นใหม่อยากจะเห็นต่อการเมืองท้องถิ่นคือการเปลี่ยนแปลงของนักการเมือง นักการเมืองยุคใหม่ต้องเข้าใจประชาธิปไตยเปิดใจรับฟังปัญหาประชาชน สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆมีหัวคิดที่ทันสมัยเป็นผู้นําเทรนด์รู้จักใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาทรัพยากร เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในพื้นที่
ชิษณุพงศ์ สุนทรพาณิชย์ / ข่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: