X

ม.อุบลฯ ขับเคลื่อนอาหารปลอดภัย หวังแก้ปัญหาเกษตรอินทรีย์ พร้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน

ม.อุบล ฯ ขับเคลื่อนอาหารปลอดภัย หวังแก้ปัญหาเกษตรอินทรีย์ พร้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน

อุบลราชธานี-เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดงานสรุปกิจกรรมการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย รอบ 6 เดือน ภายใต้โครงการ “เครือข่ายคุณค่าและความเป็นท้องถิ่นสู่การสร้างระบบนิเวศอาหารปลอดภัยในจังหวัดอุบลราชธานี” ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการวิจัยต่อเนื่องปีที่ 2 ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยงานบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สทวช.)

ภายใต้การดำเนินการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมี รศ.ดร.ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการ ผู้อำนวยการชุดโครงการวิจัย และดร.จริยาภรณ์ อุ่นวงษ์ รองคณบดีฝ่าย บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้บริหารชุดโครงการ และนักวิจัย 40 คน จาก 5 คณะ

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนและกระจายรายได้ ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรในพื้นที่ ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน อาทิ เกษตรกร ภาคเอกชน ผู้ประกอบขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ครอบคลุมทั้งระบบ “นิเวศอาหารปลอดภัยจังหวัดอุบลราชธานี”

อย่างไรก็ตามการจัดประชุมครั้งนี้เป็นการสรุปการดำเนินงานรอบ 6 เดือน และเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแนวทางการดำเนินงาน ขยายผลสร้างเครือข่ายให้การดำเนินงานมีผลกระทบและเป็นประโยชน์ในวงกว้าง

ด้าน คนึงนุช วงศ์เย็น ผู้รับผิดโครงการกินสบายใจ เปิดเผยผลการดำเนินงานว่า โครงการกินสบายใจเป็นโครงการที่จะขับเคลื่อนอาหารปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์จากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค ซึ่งได้ดำเนินงานโครงการมาแล้วเกือบ 10 ปี โดยในการดำเนินโครงการนั้นพบปัญหาและอุปสรรค โดยสามารถได้แบ่ง 4 ด้าน

1) ด้านการผลิต : การเปลี่ยนของสภาพอากาศ ส่งผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิต  ทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอตามความต้องการของท้องตลาด

2) ด้านการตลาด : ปริมาณการซื้อ ชนิดผัก ของผู้บริโภคไม่ตรงกับการผลิตของเกษตรกร และเกษตรกรเข้าไม่ถึงการจัดซื้อของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน

3) ด้านการบริโภค : ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจการบริโภคผลผลิตอินทรีย์และอาหารปลอดภัย พร้อมเข้าไม่ถึงแหล่งจำหน่าย

4) ด้านการดำเนินงาน : ขาดการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานตลอดห่วงโซ่ องค์กรในระดับจังหวัดอุบลราชธานี

และถัดมา พ่อวิระ เกษตรกรเครือข่ายโครงการกินสบายใจ เล่าถึงปัญหาและอุปสรรคในการผลิตเกษตรอินทรีย์ว่า สิ่งที่ตนเองพบปัญหาขณะทำเกษตรอินทรีย์นั้นคือปัญหาโรคและแมลง ที่สร้างความเสียหายต่อแปลงเกษตร ทั้งนี้ยังไม่สารชีวภัณฑ์ที่ครอบคลุ้มสามารถแก้ไขปัญหาโรคและแมลงเหล่านี้ได้ จึงอยากให้นักวิชาเข้ามาหนุนเสริมทางหาออกช่วยเกษตรกรอินทรีย์

ส่วน แม่ออย เขมนิจ เกษตรกรอินทรีย์อีกรายหนึ่งเล่าว่า ปัญหาส่วนใหญ่ที่มักพบเป็นประจำทุกปี คือปัญหาศัตรูพืชหนอนและเพลี้ยกัดกินผลผลิต ซึ่งปัญหาเหล่านี้เมื่อเกิดในแปลงเกษตรอินทรีย์แล้วไม่สามารถแก้ไขได้ ปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือหรือสารชีวภัณฑ์เข้ามาช่วย เกษตรกรทำได้แค่เพียงยอมรับกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น และนอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่เมื่อผลผลิตเกิดปริมาณล้นตลาด เกษตรกรต้องการแปรรูปผลผลิตสร้างมูลค่าเพิ่ม แต่ปัจจุบันเกษตรกรยังเข้าไม่ถึงแหล่งทุนหรือบางแหล่งทุนมีข้อจำกัดที่สลับซ้อน จึงทำให้หลายครั้งเกษตรกรอินทรีย์ขาดโอกาสที่จะต่อยอดการแปรรูปสร้างสินค้ามูลค่าเพิ่ม

ซึ่งอนาคตหากนักวิชาการสามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาของเกษตรกรและสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบรูปธรรมได้นั้น นับว่าจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบนิเวศอาหารและนวัตกรรมที่สร้างมูลค่า ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีอย่างแท้จริงและความยั่งยืน

ชิษณุพงศ์ สุนทรพาณิชย์ / เรียบเรียง

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สุชัย เจริญมุขยนันท

สุชัย เจริญมุขยนันท

นิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลักสูตรโปรดิวเซอร์ เนชั่น วิทยากรพิราบน้อย โครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยุ มูลนิธิหมอชาวบ้าน วิทยุเนชั่น ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทยประจำจงอุบลราชธานี ผู้จัดการศูนย์ข่าวประชาสังคมอุบลราชธานี ปัจจุบัน เลขาธิการมูลนิธิสื่อสร้างสุข ผู้อำนวยการทีวีชุมชนอุบลราชธานี E : [email protected] F : ทีวีชุมชนอุบลราชธานี T : 0818786440 LINE : SUCHAINEWS