อุบลราชธานี-เกษตรกรอินทรีย์ ปรับตัว ใช้ระบบนิเวศธรรมชาติ สร้างความมั่นคง รับมือภัยพิบัติ
มูลนิธิสื่อสร้างสุข ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย ภาครัฐและเอกชน โดยการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมงานเทศกาลกินสบายใจ ห่างไกลโรค ปี 9 “โควิด -19 เปลี่ยนเรา เปลี่ยนโลก” เพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะที่ดี พัฒนาห่วงโซ่อาหารปลอดภัย และส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ระหว่างวันที่ 29-31 มกราคม 2564 ณ ลานแสดงกิจกรรม ชั้น 1 ห้างสรรพสินค้า สุนีย์ทาวเวอร์ อุบลราชธานี
โดยวันนี้ (31 ม.ค.64) เทศกาลกินสบายใจ ห่างไกลโรค ปี 9 ดำเนินกิจกรรมมาเป็นวันสุดท้าย มีกิจกรรมมากมายให้ผู้ที่สนใจได้เข้าร่วม อาทิ การประกวด organic got talent ขายให้ปัง,การประกวดเมนูอาหารสุขภาพจากแป้งมันออร์แกนิค, work shop ชวนเปลี่ยน น้ำผักผลไม้ปั่นต้านโรค และกิจกรรมเวทีเสวนา รูปแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม ZOOM พร้อมออกอากาศสดผ่านช่องทางออนไลน์ เพจกินสบายใจ เพจอุบลคอนเนก เคเบิ้ลทีวีท้องถิ่น ช่อง VR Cable tv เพจสถานีข่าววีเคเบิ้ลทีวีอุบลฯ เพจอยู่ดีมีแฮง เพจ Sunee Tower เพจมูลนิธิสื่อสร้างสุข และสำนักงานประชาสัมพันธ์
ซึ่งในส่วนของเวทีการเสวนา “ชวนเปลี่ยน” ภาคบ่าย เวลา 13.30 – 15.00 น. ได้มีการพูดถึงหัวข้อ “เมื่อโลกเปลี่ยน คนต้องปรับ คิดจะปลูกผักต้องเข้าใจภัยพิบัติ” โดยได้รับเกียรติจาก พิสมัย รัตนพลที เกษตรกรอินทรีย์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ,นคร ลิมปคุปตถาวร จากศูนย์เรียนรู้เกษตรในเมือง บ้านเจ้าชายผัก จังหวัดกรุงเทพมหานคร,มาณิชรา ทองน้อย ร้านอินดี้ออร์แกนิค จังหวัดยโสธร มาร่วมเสวนาพูดคุยแลกเปลี่ยนเสริมองค์ความรู้หาทางออกของเกษตรอินทรีย์กับภัยพิบัติ
พิสมัย รัตนพลที เกษตรกรอินทรีย์ จังหวัดเพชรบูรณ์ เผยว่า ตนเองได้เริ่มหันมาทำเกษตรและส่งเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเริ่มจากการทำฟาร์ม 38 ไร่ ในพื้นที่ที่จังหวัดเพรชบูรณ์ เริ่มต้นปลูกเกษตรอิทนรีย์ คือทางเลือกทางรอด โดยนำประสบการณ์ที่เคยส่งเสริมเกษตรกรมาปรับใช้และทำเอง นอกจากนี้ยังอยากแพร่เผยให้คนทั่วไปรู้จักการทำเกษตรอินทรีย์ ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายใช้ระบบนิเวศธรรมชาติมาเป็นช่วย
ซึ่งปัจจุบันภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบอย่างมากต่อการทำเกษตรอินทรีย์ อาทิ ฝนแล้ง น้ำเยอะ ลมแรง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายในผลผลิต ทั้งนี้เกษตรกรอินทรีย์ต้องปรับตัวเตรียมรับมือในการปลูกให้สอดคล้องกับภัยพิบัติ โดยการทำเกษตรอินทรีย์ไม่ยากแต่ต้องอาศัยการสังเกตธรรมชาติให้ธรรมชาติเป็นผู้ช่วย พร้อมศึกษาหาความรู้ ต่อยอดพัฒนาเป็นรายได้ “ใช้สิ่งที่มีในท้องถิ่น” ประยุกต์กับการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้ได้อาหารผลผลิตที่ดีต่อสุขภาพร่างกาย
นคร ลิมปคุปตถาวร จากศูนย์เรียนรู้เกษตรในเมือง บ้านเจ้าชายผัก จังหวัดกรุงเทพมหานคร เล่าแนวคิดการทำเกษตรในเมืองว่า ส่วนตัวมีความสนใจในการทำเกษตรอินทรีย์ แต่ปัจจุบันหันมาทำเกษตรชีวพลวัตร คือการทำเกษตรที่พยายามทำงานกับธรรมชาติ ไม่ใช้ปุ๋ยใช้วัชพืชสดปรับปรุงหน้าดินสับวัชพืชที่เกิดขึ้น หมักลงในแปลง ใช้ซ้อมพรวนดิน พรวนดินเหมือนรากพืช ซึ่งการหันมาทำเกษตรแบบทำงานกับธรรมชาติ จะเป็นการทำเกษตรแบบยั่งยืน มีอาหารคุณภาพดีขึ้น มีผลผลิตบริโภคในครอบครัว เหลือถึงขาย สร้างรายได้ให้กับตนเอง
ส่วนการทำเกษตรให้รอดจากภัยพิบัติ ปัจจุบันมีภัยพิบัติมากขึ้นไม่ว่าจะ ฝนแล้ง น้ำท่วม โรคระบาด ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ผลผลิตทางเกษตรเสียหาย เกษตรกรต้องปรับตัวหาทางออก ช่วยสังคม ช่วยสิ่งแวดล้อม ส่วนคนในสังคมก็ต้องเรียนรู้ และส่งเสริมอาหารปลอดภัย ขยับไปพร้อมกันกับเกษตรกร เพื่อการสร้างสรรค์สังคมอย่างยั่งยืน
มาณิชรา ทองน้อย ร้านอินดี้ออร์แกนิค จังหวัดยโสธร เล่าว่า ตนเองจบการศึกษาเกี่ยวกับด้านการเกษตร มีความชอบเกี่ยวกับการเกษตร ตัดสินใจลาออกจากในเมืองหลวงกลับบ้านชนบททำเกษตรตามอาชีพบรรพบุรุษ โดยการทำการเกษตรต้องอาศัยความรู้ การปรับตัวในระบบการทำงาน ทั้งกับคน ชุมชม ธรรมชาติ ซึ่งสิ่งที่ตนเองเริ่มทำเป็นครั้งเพื่อสร้างรายได้เลี้ยงชีพคือการปลูกอ้อยคั่นน้ำ อ้อยเป็นพืชเชิงเดี่ยวที่สามารถทำรายได้ให้ครอบครัวได้ และต่อมาหลังจากนั้นมีการเลือกสายพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมและปลอดภัยต่อผู้บริโภค พัฒนาต่อยอดสินค้าเป็นแบรนด์และวางขายตามท้องตลาดมีหน้าร้านให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย
ทั้งนี้อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพทางเลือกสำหรับคนในเมืองหลวงที่อยากกลับบ้านเกิดภูมิลำเนา โดยเมื่อตัดสินใจจะหันเข้ามาในอาชีพเกษตร คนรู้ใหม่ต้องใจเข้มแข็ง มองงานให้เป็นความสุขได้ใกล้ชิดคนในครอบครัว และที่สำคัญได้อาหารปลอดภัยไว้บริโภค เป็นความสุขง่ายๆ ที่ไมวุ่นวาย
สามารถชมย้อนหลังการเสวนา “เมื่อโลกเปลี่ยน คนต้องปรับ คิดปลูกผักต้องเข้าใจภัยพิบัติ”
ได้รับการสนับสนุนจาก สสส.
ชิษณุพงศ์ สุนทรพาณิชย์ เรียบเรียง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: