X
อุบล

สมัครนายกฯนครอุบลฯวันแรก 2 กลุ่มใหญ่ คนอุบลราชธานี เลือกใครดี?

วันแรกของการรับสมัครนายกเทศมนตรีนครอุบลฯ และ สมาชิกสภาเทศบาลนครอุบลฯ จบลงไป

มีผู้สมัครชิงเก้าอี้นายกเล็ก 2 ท่าน คือ

หมายเลข 1 พิศทยา ไชยสงคราม กลุ่มเพื่อไทย

หมายเลข 2 ประชา กิจตรงศิริ กลุ่มเพื่ออุบล

สำหรับ สท. ตกลงกันได้ว่า ผู้สมัครสังกัด กลุ่มเพื่อไทย ได้หมายเลข 1-6 ผู้สมัครสังกัดกลุ่มเพื่ออุบล ได้หมายเลข 6-12

ผู้สมัครอิสระก็ได้หมายเลข 13

ยังมีการเปิดรับสมัครถึงวันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 คาดว่าจะมีผู้สมัครเพิ่มอีก

ขณะที่รอผู้สมัครเพิ่ม 2 กลุ่มใหญ่ที่เคยบริหารเทศบาลนครมาก่อน

ต่างประกาศนโยบายที่น่าสนใจ ไว้ประกอบการตัดสินใจลงคะแนนในวันที่ 28 มีนาคม 64 เรียงตามลำดับหมายเลข

หมายเลข 1 พิศทยา ไชยสงคราม กลุ่มเพื่อไทย 

“พิศทยา” ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเทศบาลนครอุบล หัวหน้ากลุ่มเพื่อไทยนครอุบล ประกาศความพร้อม สู้ศึกเลือกตั้งท้องถิ่น

“ชูนโยบาย ฟื้นฟูนครอุบล ปลุกชีวิต สร้างเศรษฐกิจดีให้คนอุบล”

ขอสานต่อโครงการถนนเลียบแม่น้ำมูล ผลักดันเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

ทำงานเชื่อมคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่

“ตนเเป็นคนที่เข้าใจคนทุกรุ่น เพราะเป็นคนที่ทำงานอยู่กับคนทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ จึงถือว่า นี่คือจุดแข็ง ที่จะสามารถเข้าไปประสานงาน และทำงานเพื่อพี่น้องได้อย่างเข้าใจ จากประสบการณ์ที่ได้ทำธุรกิจในพื้นที่

จะนำประสบการณ์ตรงนี้มาช่วยพี่น้องแก้ไขปัญหาคนตกงาน ว่างงาน หรือความยากจนได้”

“ขณะนี้ปัญหาที่เป็นปัญหาหลักของนครอุบล คือ ปัญหาเศรษฐกิจ คนจน คนตกงาน เพิ่มจำนวนขึ้น

ตนจึงมีแนวคิดที่จะใช้ประสบการณ์ที่มี “ฟื้นฟูนครอุบล ปลุกชีวิต สร้างเศรษฐกิจดีให้คนอุบล” เช่น ฟื้นโครงการถนนเลียบแม่น้ำมูลถึงอ่างเก็บน้ำห้วยวังนอง

เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ เป็นสถานที่ออกกำลังกายให้กับคนอุบล มีตลาดนัดริมแม่น้ำมูล ตรงนี้ใช้งบประมาณไม่มาก

แต่จะเป็นการพลิกฟื้นนครอุบลในระยะยาวเพราะ ถนนรอบมูล นอกจากจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแล้ว ยังจะสามารถเป็นตลาดนัด และตลาดนัดโต้รุ่ง Street Food ได้”

ยกระดับอุบลเป็น “Green City : นครอุบล ปอดของคนอีสานตอนล่าง”

จากวิกฤติฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในระยะยาว ปัญหานี้เทศบาลมีส่วนช่วยแก้ไขได้ โดยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ตนจึงมีแนวคิดที่จะ

“ขยายพื้นที่สีเขียว เพื่ออากาศบริสุทธ์ ผลักดันพลังงานสะอาด ปรับปรุงสวนสาธารณะ ที่มีอยู่เดิม เพิ่มถนนริมมูลเพื่อสร้างปอดแห่งใหม่ให้แก่คนอุบล

และพลังงานสะอาดนอกจากจะเป็นพลังงานทางเลือกให้กับประชาชนแล้วยังเป็นธุรกิจในโลกอนาคตที่จะสามารถ สร้างรายได้ให้กับ คนอุบล”

ผลักดัน Art City : นครอุบล เมืองแห่งสถาปัตยกรรมร่วมสมัย

ตนเป็นคนที่เกิดในย่านเมืองเก่าของอุบล ได้เห็นตั้งแต่เมืองเก่าคึกคัก เมืองเก่าเงียบเหงา และ เมืองเก่าซบเซา โดยเฉพาะย่านเมืองเก่าฝั่งแม่น้ำมูลที่ในอดีต ที่คล้ายกับเยาวราช ตนเป็นเด็กที่วิ่งเล่นอยู่ตรงนั้น ได้เห็นวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน

ตนจึงมีแนวคิดที่จะ “พลิกฟื้นเมืองเก่าให้มีชีวิตอีกครั้งด้วยการผสานวัฒนธรรมท้องถิ่น สู่การเป็น Art City เมืองแห่งศิลปะวัฒนะธรรม สถาปัตยกรรมร่วมสมัย” ทั้งเรื่อง STREET ART

และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่น และความหลากหลายของเชื้อชาติและวัฒนะธรรมตรงนี้ คือ จุดแข็งของเทศบาลนครอุบล ตนยังมีแนวคิดที่จะ สนับสนุนให้วัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ด้วยวิธีพุทธ  นครอุบลหัวใจของความศรัทธา”

เพราะนอกจากจะส่งเสริมวัฒนะธรรมท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นการอนุรักษณ์ไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของคนอุบล

Café City : นครอุบล เมืองแห่งคาเฟ่

เขตเทศบาลนครอุบล มีร้านคาเฟ่มากมาย ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ นักธุรกิจ Start up ธุรกิจคาเฟ่ต้องได้รับการสนับสนุนต่อยอด ตนจึงอยากผลักดันและเข้าไปมีส่วนช่วยในการ  “สนับสนุนคาเฟ่ ให้เป็น 1 ในด้านการท่องเที่ยว ด้วยการผลักดันให้นครอุบลเป็นเมืองแห่งคาเฟ่”  วิกฤติโรคอุบัติใหม่ คนเน้นท่องเที่ยวใกล้บ้าน คนชอบถ่ายรูป เช็คอิน เที่ยวแบบ one day trip ตนจึงเห็นว่า การเที่ยวคาเฟ่น่าจะตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยว ทั้งในจังหวัดและนอกจังหวัด

นโยบายด้านการส่งเสริมกีฬา

ตนเองได้ลงพื้นที่ สวนสาธารณะแล้วพบว่า ทรุดโทรม ไม่มีการแบ่งโซนสำหรับการเล่นกีฬา สวนสาธารณะคือสถานที่ออกกำลังกายสำหรับการเริ่มต้นการเล่นกีฬา ตน จึงอยากสนับสนุนส่งเสริมสนับสนุนด้านกีฬาทุกประเภท โดยจะ”ปรับปรุงสวนสาธารณะ สถานที่ออกกำลังกายให้เหมาะสมแก่ทุกเพศทุกวัย และกีฬาทุกประเภท ส่งเสริมให้มีลานกีฬา Extreme ที่มีความปลอดภัย ได้มาตรฐาน ฟื้นฟูกีฬาพื้นบ้าน กีฬาทางน้ำ เพื่ออนุรักษ์ไว้ซึ่งประเพณีและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น “ ส่วน กีฬา ESpot ตนเองก็มองว่า เป็นเรื่องใหม่ที่ไม่ใหม่ เทศบาลเองก็ต้องส่งเสริมตรงนี้

วิกฤติคือโอกาส StreetFood & Market : ตลาดนัด โต้รุ่ง สตรีทฟู๊ด กู้วิกฤติเศรฐกิจนครอุบล

“ วิกฤติโควิดโรคระบาด ทำให้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป คนอยู่บ้านมากขึ้น และสั่งอาหารไปทานที่บ้านมากขึ้น ตนจึงเห็นว่านี่คือ โอกาสสำคัญ ที่จะฟื้นสตรีทฟู๊ด ตลาดนัด โต้รุ่ง เสน่ห์แห่งนครอุบล ส่งเสริมให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง  เพื่อกู้วิกฤติเศรษฐกิจ โดยคนอุบลด้วยกัน”

safety city : นครอุบล นครแห่งความปลอดภัย

ปัจจุบันหลายจุดในพื้นที่เขตนครเทศบาล ไม่มีความปลอดภัย ทั้งทางเท้าที่ชำรุด ถนนที่ทรุด สายไฟที่พันกับกิ่งไม้ ตรงนี้ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้อง”ปรับภูมิทัศน์  ปรับปรุงทางเท้า ทางจักรยาน ต้นไม้พันสายไฟ ถนน เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของพี่น้องประชาชน” และตนเชื่อว่า หากบ้านเมืองสะอาดนอกจากจะช่วยเรื่องความปลอดภัยให้แก่พี่น้องแล้ว ยังจะทำให้ภาพลักษณ์ของเทศบาลนคร เปลี่ยนไปทันทีในสายตาของนักท่องเที่ยว

พัฒนาทักษะอาชึพ: ฝึกอบรมต้องมีงานทำ!

เทศบาลมีงบประมาณมากมายในการจัดอบรม  เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ แต่ที่ผ่านมาจากการสอบถามพบว่าเมื่ออบรมไปแล้วไม่ได้ใช้จริง ตนเองมีประสบการณ์จากการเป็นนักธุรกิจ จึงอยากยกระดับการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับธุรกิจในโลกอนาคต และ ธุรกิจออนไลน์ เช่น จัดฝึกอบรมส่งเสริมการประกอบอาชีพ ธุรกิจออนไลน์ ด้วยผู้มีประสบการณ์ เทศบาลนครจะต้องมีการตามผลเหมือนเป็นพี่เลี้ยง  มีการจัดอบรม  live streaming เพื่อเปิดโลกธุรกิจใหม่

นางสาวพิทศยา กล่าวอีกว่า “หากได้รับโอกาส ก็พร้อมจะลงมือทำงานทันที อยากใช้ความสามารถพัฒนาบ้านเกิด จึงถือโอกาสนี้ ขอโอกาสจากพี่น้องนครอุบล และขอให้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง เพราะนอกจากจะได้นายกที่พี่น้องต้องการแล้วยังถือว่าเป็นการออกมาเพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตย

หมายเลข 2 ประชา กิจตรงศิริ กลุ่มเพื่ออุบล

10 นโยบาย กลุ่มเพื่ออุบล

1. เมืองแห่ง Event 12 เดือน เที่ยวได้ตลอดปี

2. ศูนย์เยาวชนเทคโนโลยี สร้างเศรษฐกิจยุค Digital

– สร้างลานกิจกรรมที่ได้มาตรฐาน แนว Extreme Indoor, Outdoor

– สร้างพื้นที่ Co-Working Space

– สร้าง E-Stadium รองรับ E-Sport

– ส่งเสริม ผลักดัน Start Up และ E-commerce

3. ปลุกเมืองเก่า สร้างเทศกาลใหม่

– ปรับปรุงภูมิทัศน์ เกาะหาดวัดใต้

– Ubon’s China Town

– Water Sport Festival

– สร้างทางเดิน-วิ่ง จักรยาน ริมแม่น้ำมูล

4. อยากเรียนต้องได้เรียน ภาษาได้ ปลอดภัยด้วย

– โปรแกรมภาษาอังกฤษ จีน และ อาเซียน

– ติดตั้งกล้องวงจรปิด ทั้งภายนอกและภายในโรงเรียน

– สร้างหลักสูตรตามความถนัดของผู้เรียน

5. Senior Care ดูแลผู้สูงวัย

– สร้างศูนย์ผู้สูงอายุ มีกิจกรรมที่หลากหลาย

– โปรแกรม Day Care ดูแลผู้สูงวัย

6. ศูนย์สนับสนุน กายอุปกรณ์

– ให้ยืมอุปกรณ์การแพทย์ สำหรับผู้ด้อยโอกาส

7. ปลดชุมชนแออัด ทำบ้านมั่นคง

– ทำงานร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สร้างที่อยู่อาศัยให้กับชุมชนแออัดผู้มีรายได้น้อย

เพื่อแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยในชุมชนแออัด ชุมชนบุกรุก ผู้ไร้ที่ดินอยู่อาศัย

– สร้างอาชีพ  สร้างรายได้

8. นครปลอดภัย ทันสมัย น่าอยู่

– สานต่อ สายไฟฟ้าลงใต้ดิน

– ติดตั้งกล้องวงจรปิด ทั่วเมือง

– ปรับปรุง ถนน ทางเท้า สะดวกปลอดภัย

– Universal Design เพื่อผู้พิการ

9. มูลน้อยสะอาด บ่อบำบัดน้ำเสีย ระยะที่ 2

10. น้ำท่วมขัง ไม่ต้องรอระบาย

– เร่งรัดโครงการ อุโมงค์ระบายน้ำ จากถนนชยางกูร ไปยังห้วยม่วง

ลองดูครับ 2 หมายเลขแรกวันแรก รอดูหมายเลขอื่น ๆ แล้วตัดสินใจในวันที่ 28 มีนาคม 2564 ครับ

08-02-64

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สุชัย เจริญมุขยนันท

สุชัย เจริญมุขยนันท

นิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลักสูตรโปรดิวเซอร์ เนชั่น วิทยากรพิราบน้อย โครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยุ มูลนิธิหมอชาวบ้าน วิทยุเนชั่น ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทยประจำจงอุบลราชธานี ผู้จัดการศูนย์ข่าวประชาสังคมอุบลราชธานี ปัจจุบัน เลขาธิการมูลนิธิสื่อสร้างสุข ผู้อำนวยการทีวีชุมชนอุบลราชธานี E : [email protected] F : ทีวีชุมชนอุบลราชธานี T : 0818786440 LINE : SUCHAINEWS