อุบลราชธานี – ช่างตัดผม หนุ่มเมืองอุบลฯ ติดไวนิลประกาศ ไม่ตัดผมให้ตำรวจสายตรวจ อ้างเหตุกลั่นแกล้ง ยัดยา พฤติกรรมกับประชาชนไม่สุภาพ
เพจ คันปาก อุบลราชธานี ได้มีการโพสต์ภาพร้านตัดแห่งในจังหวัดอุบลราชธานี ขึ้นป้ายไวนิลสีดำตัวหนังสือขาวข้อความระบุ “ไม่ตัดผมให้ตำรวจสายตรวจ” สร้างความสงสัยให้ประชาชนที่ผ่านไป ผ่านมาว่าเกิดความคับแค้นอะไรถึงต้องติดป้ายดังกล่าว ขณะที่ชาวเน็ตในพื้นที่ต่างออกมาแสดงความเห็นออกเป็น 2 ฝ่ายมีทั้งชื่นชมและเห็นต่างการแสดงจุดยืนที่ชัดเจน
ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปพบ นายภรันยู (ขอสงวนนามสกุล)อายุ 24 ปี เจ้าของร้านเพื่อสอบถามที่มาของป้ายดังกล่าวว่ามีความเป็นมาอย่างไร โดยนายภรันยู เปิดเผยว่า เหตุการณ์ความขัดแย้งกับตำรวจเริ่มมาจากหลายปีก่อน ตั้งแต่ตนเองเรียน ม.4 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานีขณะที่ตนเองนั่งดื่มสุรากับเพื่อนอยู่ริมแม่น้ำมูล จากนั้นมีเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจ 2 นาย ซึ่งตนไม่ขอเปิดเผยว่าเป็น สภ.ไหน เข้ามาขอตรวจค้นตนเองก็ยินยอมให้ตรวจโดยดี ตำรวจนายแรกได้ทำการค้นแต่ไม่พบสิ่งของผิดกฎหมายแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจคนที่ 2 ขอค้นอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจพบยาบ้า 2 เม็ด อยู่ในกระเป๋ากางเกงของตน จึงได้ทำการจับกุมและนำตนไปโรงพักทั้งที่ตนเองไม่เคยเห็นยาบ้ามาก่อนว่าของจริงเป็นอย่างไร
ต่อมาเมื่อประมาณกลางเดือน มิถุนายน 64 จำวันที่ไม่ได้ขณะที่ตนออกไปทานข้าวได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจเรียกตรวจสารเสพติด แต่ก็ไม่พบเมื่อยาเสพติดและไม่มียาเสพติดแต่อย่างใดตอนที่จะแยกย้าย ตำรวจนายหนึ่งก็บอกว่าตนไม่สวมหมวกกันน็อคตนจึงบอกว่าเรื่องแค่นี้ อลุ่มอลวย ให้หน่อยจากนั้นก็เขียนใบสั่งให้หลายข้อหา บอกจะต้องเสียค่าปรับประมาณ 1,000 บาท ตนไม่ยอมเสียจึงได้ปล่อยให้ยึดรถไปพร้อมกับไปเสียค่าปรับ ที่โรงพัก 1,500 บาท จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตนจึงรู้สึกว่าตำรวจสายตรวจกลั่นแกล้งและประพฤติไม่เหมาะสม จึงได้ตัดสินใจขึ้นป้ายไม่ตัดผมให้เจ้าหน้าที่สายตรวจ แต่ถ้าเป็นตำรวจสายงานอื่นก็ยังให้บริการตามปกติ
ที่ผ่านมาร้านตนมีลูกค้าที่เป็นตำรวจ เยอะพอสมควรแต่พอมีป้ายลูกค้าตำรวจก็หายไปเหลือแต่ลูกค้าประจำ ถามว่าตนกลัวเรื่องผลกระทบที่จะตามมาหรือไม่ ยอมรับว่ากลัวแต่ก็คิดว่าตนเองไม่ได้ทำอะไรผิดแค่ไม่อยากตัดให้ตำรวจสายตรวจก็เลยขึ้นป้ายบอกตามความรู้สึก ส่วนเหตุผลก็เป็นไปตามที่เล่าไปให้ฟังส่วนตำรวจที่มีพฤติกรรมดังกล่าวตนไม่ขอเอ่ยว่าเป็นตำรวจที่ไหนอย่างไร
ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัดอุบลราชธานี เองได้ให้ความเห็นว่าเรื่องราวที่เจ้าของร้านรายนี้ทำก็สามารถทำได้เป็นการแสดงความรู้สึกตามสิทธิ์ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ แต่ในเรื่องของข้อเท็จจจริงนั้นหากเป็นเรื่องจริงมีวิธีการที่จะสามารถดำเนินการได้หลายช่องทาง ทั้งการปฏิเสธข้อกล่าวหาแล้วนำหลักฐานมาต่อสู้คดี หรือร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาในพื้นที่เกิดเหตุเพื่อขอความเป็นธรรม
เกียรติรัตร์ ชัยสกุลวงศ์ ข่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: