ศูนย์พึ่งได้ เข้าถึงเข้าใจ
ช่วยแก้ไขปัญหาความรุนแรงและท้องไม่พร้อม
สื่อโดยประชาชน ep.23 โดย ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 ร่วมสร้างนักสื่อสารสุขภาพจิตครับ
มะลิวรรณ มานะ
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
สำนักงานสาธารณสุขจ.อุบลราชธานี
1.ผู้รับบริการของศูนย์พึ่งได้ เป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ มีผู้รับบริการจำนวนมาก ที่ไม่รู้ตัวว่าเกิดบาดแผลทาง ใจ รู้แต่ว่า ไม่ชอบ ไม่มีความสุข หวาดกลัว ฯลฯ บางส่วนได้เข้ารับบริการจากการสังเกตเห็นความไม่ปกติของพฤติกรรม และการ แสดงออกทางอารมณ์ ทุกคนล้วนได้รับการประเมิน/คัดกรองด้านสุขภาพจิต แล้วก็บพบว่า มีความเครียด บางคนซึมเศร้า หลายคนมี ความคิดฆ่าตัวตาย
2.ผู้ที่นำผู้รับบริการเข้าสู่บริการของศูนย์พึ่งได้ มักเป็นบุคลากรภาครัฐที่ทำงานเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการรายนั้นๆ แต่สำหรับประชาขนทั่วไป ที่พบเห็นการกระทำความรุนแรง การละเมิดต่อผู้เป็นเหยื่อของคนในครอบครัว ยังมีทัศนคติว่า “เป็นเรื่องภายในครอบครัว คนนออกไม่ เกี่ยว”
ทำให้คิดถึง ประโยคที่ถูกส่งต่อๆ กันมา ที่ว่า “เรื่องของผัวเมีย คนอื่นไม่เกี่ยว” “เวลาเขาทะเลาะกัน เราเป็นเทวดา พอเขาดีกันเราก็ เป็นหมา” ขณะที่ในส่วนลึกยอมรับไม่ได้ ไม่เห็นด้วย สงสาร เห็นใจผู้เป็นเหยื่อความรุนแรง
ดังนั้นจึงเป็นอีก 1 โจทย์ของผู้เกี่ยวข้อง ในการช่วยกันปรับเปลี่ยน เพื่อให้เกิดการสร้าง และส่งต่อทัศนคติใหม่ที่ว่า “เราต้องไม่ละเลย เมื่อพบเห็นการก่อความรุนแรงในทุกรูปแบบ” “การป้องกันและเฝ้าระวังการก่อความรุนแรงเป็นหน้าที่ของทุกคน” “ช่วยกันสอดส่อง ช่วย เหลือ ส่งต่อเมื่อพบการก่อความรุนแรง”
3.วิธีปฏิบัติ และท่าทีการทำงานกับผู้รับบริการของทีมงานศูนย์พึ่งได้ มีความอ่อนโยน เป็นมิตร แม้กระทั่งผู้ก่อเหตุก็ได้รับการปฏิบัติด้วย ท่าทีแบบเดียวกัน ทำให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย อบอุ่นใจ รู้สึกไว้วางใจ ซี่งเป็นความต้องการพื้นฐานด้านจิตใจของมนุษย์ตามทฤษฏี ของ Maslow นั่นเท่ากับว่า ผู้รับบริการได้รับการเยียวยาตั้งแต่ก้าวแรกของการเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือ
ท่าทีการปฏิบัติงานดังกล่าว สะท้อนทัศนคติพื้นฐานของบุคลากรผู้ให้บริการ/ผู้ปฏิบัติงานที่ยอมรับ ให้เกียรติ เคารพ ในคุณค่า ความเป็นมนุษย์ทุกคนเสมอหน้ากกัน แม้ว่า เขาคนนนั้จะเป็นผู้ก่อเหตุความรุนแรง ก้าวร้าว ไม่เป็นมิตรต่อคนอื่นก็ตาม เขาก็ไม่ได้รับการ ยกเว้นที่ไม่มีเกียรตินั้น
4. ผู้ก่อเหตุความรุนแรงก็เป็นคนที่มีปัญหา/ความยุ่งยากทางอารมณ์จิตใจ โดยที่เขาไม่รู้ตัว หรือหรือตัว แต่ไม่รู้วิธีจัดการ/ดูแลตัวเอง ด้วยวิธีที่เหมาะสม
5.การให้ความช่วยเหลือของศูนย์พึ่งได้ เป็นบริการครบวงจร เป็นความร่วมมือจากทุกองค์กร/หน่วยงาน/บุคคล ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยผู้รับบริการไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะมีชุดสิทธิประโยชน์ตามสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นพลเมืองรองรับ
6. การบอกเล่าเรื่องราวของศูนย์พึ่งได้ เป็นการบอกช่องทางการรับความช่วยเหลือ แก่ผู้เป็นเหยื่อ ประชาชนทั่วไป เพราะหลายคนมืด แปดด้าน ไม่รู้จะพูด/บอกใคร
(เริ่มนาทีที่ 5.00)
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: