ที่วิสาหกิจชุมชนแฮนด์ อิน แฮนด์ อำเภอ รือเสาะ จังหวัดนราธิวาส วิทยาลัยชุมชนนราธิวาส กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้จัดทำพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแฮนด์ อิน แฮนด์ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ในการนี้นายยุทธนา พรหมณี ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนนราธิวาส พร้อมด้วย นางสาวนูรี เดวาดาแล ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแฮนด์ อิน แฮนด์ อำเภอรือเสาะ ร่วมลงนาม MOU ในครั้งนี้ โดยมีนายวิเชษฐ์ ไทยทองนุ่ม นายกเทศมนตรีตำบลรือเสาะ นายธีระ อัครมาส ประธานสภาวิทยาลัยชุมชนนราธิวาส แขกผู้ทรงเกียรติ และแขกผู้มีเกียรติร่วมเป็นสักขีพยานในครั้งนี้ ทั้งนี้เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป
ด้านนายยุทธนา พรหมณี ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนนราธิวาส กล่าวว่า โครงการแฮนด์ อิน แฮนด์ รือเสาะ สร้างอาชีพ สร้างเศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการในเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการบริหารจัดการกลุ่ม ความรู้ทางด้านการตลาด การส่งเสริมพัฒนาทักษะอาชีพ การตัดเย็บเสื้อผ้าในโรงงานอุตสหกรรม ปลูกฝังเจตคติที่ดีและสร้างวินัยในการทำงาน พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งโครงการนี้ได้รับความร่วมมือจาก 3 หน่วยงานนั้นคือ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ซึ่งสนับสนุนด้านงบประมาณ วิสาหกิจชุมชนแฮนด์ อิน แฮนด์ อำเภอรือเสาะ สนับสนุน สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ฝึกอบรม และวิทยาลัยชุมชนนราธิวาสจะสนับสนุนด้านวิชาการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นแรงงานนอกระบบถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และผู้ว่างงาน
ด้านนายสาคร ปานจีน หัวหน้าโครงการกล่าวว่า โครงการแฮนด์ อิน แฮนด์ รือเสาะ สร้างอาชีพ สร้างเศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน มีกิจกรรมการให้ความรู้ในเรื่องการส่งเสริมการจัดทำบัญชีครัวเรือน การเสริมสร้างการเป็นผู้ประกอบการในชุมชน การฝึกอาชีพชุมชน(การตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป) การเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีสำหรับธุรกิจและด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยกระบวนการจัดกิจกรรมทั้งหมดจะจัดขึ้นที่ วิสาหกิจชุมชน แฮนด์ อินแฮนด์ อำเภอรือเสาะ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายจำนวนกว่า 60 คน สมัครเข้าร่วมโครงการดังกล่าวนี้
อย่างไรก็ตามการลงนามบันทึกความร่วมมือทางการพัฒนาทักษะอาชีพในครั้งนี้เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีอาชีพ มีรายได้ มีความสุข อย่างยั่งยืน รวมถึงสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในพื้นที่ และมีเศรษฐกิจชุมชนที่ดีในชุมชน ซึ่งสามารถต่อยอดไปสู่โรงเรียนในโรงงาน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการมาเรียน บริหารโดยชุมชน มีโอกาส มีงานทำ และมีรายได้ขยายผลในความสามารถต่อไปได้อีกด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง "โลกเปลี่ยน เราไม่เปลี่ยน" บอกรักทะเลด้วยสองมือ ณ หาดฉางหลาง ทะเลตรัง ก้าวขา-พาสองมือเก็บขยะทะเล รังสรรค์งานศิลป์
- เปิดสะพานข้ามแยกสระขวัญชั่วคราวช่วงเทศกาลปีใหม่ จ.สระแก้ว ส่วนเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าอ่างฤาไนเปิดใช้เส้นทางช่วงกลางคืน
- จัดหนัก-โจรใต้บึ้ม 2 อำเภอ ก่อนปะทะเดือด
- จัดยิ่งใหญ่ "กีฬาบ้านแก้งสัมพันธ์" สร้างสุขภาพ-สร้างความสามัคคี คนร่วมงานกว่าพันคน
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: