นราธิวาส-วชช.นราธิวาสขับเคลื่อนโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อเสริมสร้างศักยภาพคนและชุมชนตามนโยบายประเทศไทย 4.0
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ห้องประชุมผกากรอง วิทยาลัยชุมชนนราธิวาส อ.เมือง จ.นราธิวาสนายบุญพาศ รักนุ้ย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพคนและชุมชนตามนโยบายประเทศไทย 4.0 โดยมีนายยุทธนา พรหมณี ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนนราธิวาส ลูกจ้างเหมาบริการบุคลากรตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ รวมถึงบุคลากรวิทยาลัยชุมชนกว่า 100 คนเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
ทั้งนี้จากนโยบายของรัฐบาลที่มีโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจและเยียวยาประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นมาตรการ”เราชนะ” หรือมาตรการ”คนละครึ่ง” ที่ประชาชนต้องลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ ซึ่งทำให้เกิดช่องว่างขึ้นมา เนื่องจากประชาชนบางส่วนไม่สามารถเข้าไปลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่นได้ เพราะไม่มีความรู้ในการเข้าใช้งานแอพพลิเคชั่นดังกล่าว ทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบประชาชนกลุ่มนี้จากกลุ่มคนบางกลุ่มที่ฉวยโอกาสรับจ้างลงทะเบียนแล้วหลอกกดเงินมาเป็นของตนเองเอง และประชาชนบางส่วนที่เกิดปัญหาในการลงทะเบียนก็จะไปรวมตัวที่ธนาคารเพื่อให้ทางธนาคารดำเนินการลงทะเบียนหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความแออัดและยังความเสี่ยงจากการติดเชื้อเนื่องจากสถานการณ์ Covid-19 อีกด้วย
ข่าวน่าสนใจ:
- ผู้การค่ายจุฬาภรณ์ ย้ำพร้อมสนับสนุนการกิจภัยทางธรรมชาติ
- นายกฯ เผย ครม.เคาะเยียวยาพื้นที่น้ำท่วมใต้ ครัวเรือนละ 9,000บาท เพิ่มอีก 16 จังหวัดวงเงิน 5 พันล้านบาท ขยายกรอบงบภัยพิบัติจาก 20 ล้านเพิ่มเป็น…
- ยักษ์ใหญ่ *ไทยเบฟ*มอบน้ำดื่มตราช้าง 2,600 แพ็ค
- มูลนิธิราชประชานุเคราะห์เชิญถุงยังชีพฯถึงมือผู้ประสบอุทกภัย
ด้วยเหตุนี้ วิทยาลัยชุมชนนราธิวาส ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นมา โดยการนำบุคคลที่ได้จ้างงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) เพื่อเป็นแกนนำในการเผยแพร่ความรู้และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มดังกล่าวในพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบ ให้สามารถงานแอพพลิเคชั่นของธนาคารบนสมาร์ทโฟนเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ และในอนาคตแอพพลิเคชั่นบนมือถือจะทำให้ผู้ใช้งานแทบไม่ต้องไปทำธุรกรรมใดๆ กับธนาคารไม่ว่าการโอนเงิน สั่งสินค้า และธุรกิจ SMEs เพราะมีแอพพลิเคชั่นของธนาคารที่ช่วยบริหารจัดการเรื่องจ่ายเงิน ได้อย่างเต็มรูปแบบเพื่อลดการเหลื่อมล้ำทางสังคมที่จะเกิดขึ้น
วิทยาลัยชุมชนนราธิวาสหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แกนนำชุมชนจะส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนให้สามารถใช้แอพพลิเคชั่นเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ ได้ในชีวิตประจำวัน ขอให้ทุกท่านนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมครั้งนี้ ไปถ่ายทอดสู่ประชาชนประชาชนในชุมชนให้มีความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อเข้าถึงการให้บริการตามนโยบายของภาครัฐต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: