นราธิวาส-ผลักดัน “ทุเรียนกวน” วิสาหกิจชุมชนฟาร์มตัวอย่างพระพันปีหลวง เสริมสร้างรายได้ช่วงโควิด-19
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2564 เวลา 13.00 น.พลตรีไพศาล หนูสังข์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15/ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมด้วยพันเอกเอกพล เลขนอก ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 48 และคณะ เดินทางลงพื้นที่ เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนทุเรียนกวน บูโดเรี่ยน ณ บริษัท ซี แอนด์ เอ็ม โกลด์ พริต จำกัด GOLD FRUIT CO.ALTD &M หมู่ที่ 3 ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส โดยได้ศึกษา เรียนรู้ พร้อมทั้งบูรณาการ วิธีการแปรรูปทุเรียน ตลอดจนการเก็บรักษา เพื่อจะนำความรู้ที่ได้มาพัฒนา ต่อยอด และปรับใช้ภายในโครงการฟาร์มตัวอย่าง ตามพระราชเสาวนีย์ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ควบคู่กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้สมาชิกฟาร์มฯ มีรายได้ สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ในห้วงที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19
ปัจจุบัน “ทุเรียน” ได้รับฉายาว่าเป็น “ราชาแห่งผลไม้” (King of fruits) เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในเขตที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น ทุเรียนถือว่าเป็นผลไม้สําคัญของประเทศไทยที่นอกจากบริโภคใน ประเทศแล้ว ยังสามารถส่งออกทํารายได้ให้กับประเทศในแต่ละปีจํานวนมาก โดยในปี 2563 การส่งออก ทุเรียนและผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ทุเรียนสด, ทุเรียนแช่แข็ง, ทุเรียนอบแห้ง, และทุเรียนกวน มีปริมาณ 680,872.5 ตัน และมีมูลค่ารวม 51,035.7 ล้านบาท การปลูกทุเรียนจะเริ่มให้ผลผลิตต้ังแต่ปีที่ 5-6 เป็นต้นไป โดยทุเรียนที่เพาะปลูกในประเทศไทยมี หลากหลายสายพันธุ์มากกว่า 200 พันธุ์ แต่มีพันธุ์ที่เป็นที่นิยมสําหรับการบริโภคและการค้า และได้รับการส่งเสริมประมาณ 5 พันธุ์ ได้แก่ พันธ์ุชะนี พันธุ์หมอนทอง พันธุ์ก้านยาว พันธุ์พวงมณี และพันธ์ุกระดุม รวมถึงทุเรียนพันธุ์พื้นบ้านอีกหลากหลายชนิด ซึ่งส่วนใหญ่พบมากในพื้นท่ีภาคใต้ตอนล่างคือพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งทุเรียนพันธุ์บ้านเหล่านี้ เป็นวัตถุดิบในการนำมาถนอมอาหาร การทำทุเรียนกวน เพื่อเป็นการเสริมสร้างรายได้ ให้ประชาชนในพื้นที่ เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูกาลทุเรียน ชาวบ้านในตำบลบูกิต ได้แก่บ้านโต๊ะเล็ง บ้านบูเกะ บ้านเจาะเกาะ บ้านบาตาปาเซ บ้านดารุลอิฮสาน บ้านบือราแง บ้านบูเกะตาโมง บ้านบูเกะกือจิ บ้านไอสะเตียร์ เป็นต้น ก็จะนำผลทุเรียน และเนื้อทุเรียนมาขายให้กับพ่อค้าคนกลางที่รับซื้อเนื้อทุเรียนในหมู่บ้าน หรือไปขายให้กับโรงงานผลิตทุเรียนกวนท่ีอยู่ในชุมชนโดยตรง ซึ่งการนำทุเรียนมาแปรรูป สร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านในชุมชน เฉลี่ยต่อเดือนประมาณครัวเรือนละ 27,432-40,484บาท
ข่าวน่าสนใจ:
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: