นราธิวาส-“สธ. และ ศธ. ห่วงใยคนในสถาบันศึกษาปอเนาะ จ.นราธิวาส”จัดเสวนายุคใหม่แบบ WHF Online สร้างความเข้าใจในการเรียนกานสอนในสถานการณ์ Covid-19
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 24 สิงหาคม 2564 ที่หอประชุมจำลอง ศรีเลขา โรงเรียนนราธิวาส อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส นายณัฐพงษ์ นวลมาก
ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เขตตรวจราชการที่ 7 เป็นประธานการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน เรื่องการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดนราธิวาส ภายใต้กิจกรรม “สธ. และ ศธ. ห่วงใยคนในสถาบันศึกษาปอเนาะ จังหวัดนราธิวาส”เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้บริหาร ครูอาสาสมัครในสถาบันศึกษาปอเนาะ โดยมี นายแพทย์สมหมาย บุญเกลี้ยง ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต นายแพทย์วิเศษ สิรินทโสภณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส นายธวัชชัย ไชยกันย์ รองศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส ดร.มุทริกา จินากุล หัวหน้ากลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยเรียนและวัยรุ่นสำนักงานอนามัยที่ 12 ยะลา นายแพทย์วิบูลย์ คลายนา เภสัชกรชำนาญการพิเศษ สำนักงานอนามัยที่ 12 ยะลา และฮัจญีอัสอารี ลาเต๊ะ (บาบอซู) ตัวแทนสถาบันศึกษาปอเนาะ พร้อมกันนี้มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์ Google Meet พร้อมกันนี้ได้มอบเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วจำนวน 20 เครื่อง ชุด PPE จำนวน 30 ชุด อุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นกว่า 20,000 บาทให้บุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลสนามจังหวัดนราธิวาส
ทางด้านนายณัฐพงษ์ นวลมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เขตตรวจราชการที่ 7 กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สถาบันศึกษาปอเนาะ จังหวัดนราธิวาส มีข้อกำหนดโดยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ On-Hand เป็นหลักเพราะจะมาอยู่ร่วมกันไม่ได้ ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา โควิด-19 จำนวนมากในขณะนี้ ซึ่งประเด็นที่น่ากังวลก็คือประเด็นของนักเรียนที่กลับไปบ้านแล้วกลับเข้ามาในสถาบันปอเนาะ ซึ่งเป็นประเด็นที่เรากังวล ถ้าหากมีนักเรียนคนใดคนหนึ่งกลับมาอยู่ในสถาบันการศึกษาปอเนาะจะต้องกักตัวก่อน 14 วัน ซึ่งในบางสถาบันศึกษาปอเนาะ จะเป็นนักเรียนที่อยู่ประจำ เพราะฉะนั้นกลุ่มคนเหล่านี้จะออกนอกพื้นที่ไม่ได้ โดยจะต้องอยู่ในสถาบันศึกษาปอเนาะทุกวันและต้องได้รับการดูแลอย่างเต็มที่แบบ 100% โดยห้ามคนในออกคนนอกเข้าไม่เช่นนั้นการแพร่ระบาดจะเกิดขึ้น ส่วนในการจัดการเรียนการสอนจะเป็นไปใน 3 รูปแบบ ดังนี้
1.ใช้ระบบ ON-HAND เป็นหลัก ซึ่งครูก็จะสามารถที่จะประสานกับนักเรียนในสถาบันศึกษาปอเนาะ ผ่านทางบาบอโดยมอบนโยบายในการจัดการเรียนการสอนต่างๆให้กับนักเรียนได้อ่านและตอบ
2.ใช้ระบบ ON–DEMAND ซึ่งบางคนมีมือถือเครื่องมือสื่อสารที่จะสามารถติดต่อสื่อสารกับครูได้ ซึ่งจะใช้คลิปเป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนดังกล่าว
3.ใช้ระบบ ON-AIR ซึ่งในบางพื้นที่ก็สามารถจัดการเรียนการสอนได้แต่ก็มีน้อย ก็จะสามารถจัดการเรียนการสอนใน 3 รูปแบบได้
ซึ่งในขณะนี้การจัดการเรียนการสอนแบบ ON-SITE ไม่ได้เด็ดขาด เพราะพื้นที่จังหวัดนราธิวาสเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม การจัดการเรียนการสอนแบบ ON-SITE ก็จะต้องได้รับการอนุมัติจาก ศบค.เป็นหลัก โดยในขณะนี้การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์เป็นปัญหาและอุปสรรคในด้านเครื่องมือต่างๆอาทิเช่น โทรศัพท์มือถือ โน๊ตบุ๊ก รวมถึงสัญญาณอินเตอร์เน็ต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทางกระทรวงศึกษาธิการก็ได้รับทราบถึงปัญหาดังกล่าวแล้ว และร่วมหารือหาทางแก้ไข และในส่วนของเด็กยากจนที่ยังขาดอุปกรณ์ในการเรียนการสอนนั้นในขณะนี้ต้องยึด ศบค.เป็นหลักคือเงินอุดหนุนบางส่วน สามารถที่จะสนับสนุนจัดอุปกรณ์การเรียนการสอน เช่นโทรศัพท์มือถือ ซึ่งต้องรอทำการตกลงกันระหว่างกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
นายณัฐพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ยังกล่าวอีกว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันโรค covid-19 ในกิจกรรม “สธ. และ ศธ. ห่วงใยคนในสถาบันปอเนาะ” สืบเนื่องจากการตรวจราชการในหลายพื้นที่ในห้วงที่ผ่านมานั้น ยังมีประเด็นที่น่ากังวลคือ การสร้างการรับรู้รวมถึงแนวทางการป้องกันมาตรการการป้องกัน covid-19 ยังไม่รัดกุมเท่าที่ควร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเร่งสร้างการรับรู้ระหว่างรัฐกับประชาชนทั่วไป รวมถึงนักเรียนนักศึกษาในประเด็นดังกล่าวให้มากขึ้น และควรจะต้องดำเนินการให้เร็ว ครอบคลุมให้มากที่สุด ทางสาธารณสุขในพื้นที่ และศึกษาธิการจังหวัด จึงได้ร่วมกันประชุมหารือ หาแนวทางมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับสถานศึกษาในพื้นที่ โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม หรือสถาบันการศึกษาปอเนาะ
โดยสถานศึกษานั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันโรคโควิด-19 ตามที่ ศูนย์บริหารสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)กำหนด
ข่าวน่าสนใจ:
ส่วนเรื่องของการฉีดวัคซีน โควิด-19 นั้น ขณะนี้ทางศึกษาธิการจังหวัดได้ดำเนินการให้บุคลากรทางการศึกษาทุกแห่ง ได้ฉีดวัคซีนวัคซีน เพื่อรองรับการเปิดภาคเรียนแล้ว โดยหลังจากนี้ ศึกษาธิการจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะได้เร่งชี้แจงสร้างความเข้าใจถึงมาตรการต่าง ๆ ต่อสถาน
ศึกษาในความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดการรับรู้ และมีการปฏิบัติเรื่องการป้องกันโควิด-19 ให้เป็นไปใน
ทิศทางเดียวกันต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: