นราธิวาส-สสส.จับมือ อปท.ภาคีเครือข่าย 9 แห่ง ลงนาม(MOU)เดินหน้าร่วมสร้างสุขชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ภายใต้โครงการร่วมพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนท้องถิ่นสู่การรู้รับปรับตัว สร้างความเข้าใจแนวทางการตั้งรับและปรับตัวของชุมชนท้องถิ่น
ที่อาคารหอประชุมที่ว่าการอำเภอระแงะ ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ด้วยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน(สำนัก3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้จัดพิธีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภายใต้โครงการการร่วมพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนท้องถิ่นสู่การรู้รับปรับตัว หรือ MOU เพื่อการขับเคลื่อนเครือข่ายชุมชนรู้รับปรับตัว ระหว่างสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน(สำนัก3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อการจัดการเครือข่สบภาคใต้ตอนล่าง กับเทศบาลตำบลมะรือโบตกและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่ายทั้ง 9 แห่ง ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)ในครั้งนี้ โดยมีนายณัฐพงศ์ ศิริชนะ ประธานคณะกรรมการกำกับทิศทางของแผนสุขภาวะชุมชนพื้นที่ภาคใต้ นายประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ นางสาววโรชา ศรีเจริญ ผู้จัดการศูนย์สนับสนุนวิชาการภาคใต้ตอนล่าง และตัวนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ซึ่งมี นายกิตติพงศ์ อำพันธ์ นายอำเภอระแงะ แขกผู้ทรงเกียรติ และแขกผู้มีเกียรติร่วมเป็นสักขีพยานในครั้งนี้
ทั้งนี้ในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการตั้งรับและการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่น เพื่อออกแบบและจัดทำแผนปฏิบัติการการรับรู้รับปรับตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่ายทั้ง 9 แห่ง
โดยเทศบาลตำบลมะรือโบตก และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่าย ทั้ง 9 แห่ง จะเชื่อมร้อยเป็นโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคมให้มีความพร้อมในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะในยามวิกฤติและเกิดพิบัติภัย เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ให้เป็น “ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง” “ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่” “ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง” และ “ชุมชนท้องถิ่นที่มีขีดความสามารถในการปรับตัว และตั้งรับการเปลี่ยนแปลง” โดยใช้กลยุทธ์การมีส่วนร่วมและเรียนรู้ร่วมกัน โดยมียุทธศาสตร์หลัก 3 ประการ
ข่าวน่าสนใจ:
ประกอบด้วย 1.การพัฒนาระบบการจัดการสุขภาวะของพื้นที่ (S-Systematization) เข้าใจ ถึงศักยภาพทุนทางสังคมและกลไกการทำงานร่วมกันในพื้นที่ของตนเอง 2.สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม (I-Innovation) กระตุ้นหรือสร้างเงื่อนไขให้กลุ่มทางสังคมและองค์กรหรือหน่วยงานในพื้นที่ได้พัฒนาแนวทางและวิธีการใหม่ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และ 3.ประสานความร่วมมือในการบูรณาการงาน
(I-Integration)โดยการบูรณาการวิธีการจัดการสุขภาวะของพื้นที่เข้าสู่ระบบการทำงานของหน่วยงานระดับนโยบายเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืน
โดยใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการกำหนดเป้าหมายที่จะร่วมกันดำเนินการดังนี้
1.พัฒนาและนำใช้ข้อมูลด้วยการวิจัยชุมชนและการพัฒนาระบบข้อมูลตำบล
2. พัฒนารูปธรรมตามแนวทาง 5 ชุดกิจกรรม
3. พัฒนาวัตกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพในภาวะวิกฤติไม่น้อยกว่า 6 เรื่อง เกิดรูปแบบการยกระดับระบบเศรษฐกิจชุมชนที่เอื้อต่อสภาวะการณ์ทั่วไปและวิกฤติไม่น้อยกว่า 6 รูปแบบ และเกิดรูปแบบการจัดการและปรับสภาพแวดล้อมในสถานการณ์วิกฤติในระดับตำบลไม่น้อยกว่า 6 รูปแบบ โดยมีการกำหนดเป็นข้อตกลงของพื้นที่ (นโยบายสาธารณะ) เครือข่ายในการปรับตัวหรือตั้งรับใน สถานการณ์วิกฤติอย่างน้อยพื้นที่ละ 2 ประเด็น และเกิดข้อตกลงของเครือข่ายในการปรับตัวหรือตั้งรับในสถานการณ์วิกฤติปีละ 1 เรื่อง
4. จะนำบทเรียนไปกำหนดข้อตกลงของพื้นที่ (นโยบายสาธารณะ) เครือข่ายในการปรับตัวหรือตั้งรับในสถานการณ์วิกฤติ และร่วมกันผลักดันนโยบายสาธารณะระดับเครือข่ายสู่การปฏิบัติการจริงในพื้นที่ อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง
5.กิจกรรมอื่นที่มีการประกาศเป็นข้อตกลงร่วมกัน ของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: