นราธิวาส-“กพต.สัญจร” ลงใต้! อนุมัติหลักการ 5 โครงการ ที่ ศอ.บต.เสนอ และ 11 โครงการพัฒนานราธิวาส ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ซึ่ง ศอ.บต. เร่งผลักดันและพัฒนาด่านชายแดนไทย – มาเลเซีย ในพื้นที่ จ.นราธิวาส โดยเฉพาะสะพานข้ามแม่น้ำสุไหงโกลก แห่งที่ 2 หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ ยกระดับการค้าชายแดนและการท่องเที่ยว
วันนี้ (19 กันยายน 2565) ณ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รักษาการนายกรัฐมนตรี, รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) เดินทางพร้อมด้วยคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เพื่อประชุมและตรวจติดตามการขับเคลื่อนงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามมติ กพต.ในการประชุม กพต.สัญจร จชต. ครั้งที่ 4/2565
โดยการประชุมในครั้งนี้จะมีการพิจารณาหลักการโครงการฟื้นฟูและบูรณปฏิสังขรณ์วัดและโบราณสถานทางพระพุทธศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พิจารณาหลักการส่งเสริมอัตลักษณ์ทางภาษา ประเพณี วัฒนธรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งของสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ พิจารณาหลักการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเชิงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน พิจารณาหลักการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายพลเรือนที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ พร้อมทบทวนมติการสนับสนุนสวัสดิการครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมกันนี้มีการติดตามความคืบหน้าโครงการสำคัญที่ ศอ.บต. นำเสนอ และ กพต.มีการอนุมัติไปแล้ว อาทิ โครงการเสริมสร้างคนดีตามหลักการทางศาสนา เพื่อสืบสานและรักษาสังคมพหุวัฒนธรรมที่ดีงามฯ กิจกรรมมหกรรมการอ่านแห่งชาติ การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็กเล็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้ง 3 จังหวัดและ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา กิจกรรมโคบาลชายแดนใต้ โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและประวัติศาสตร์อุโมงค์ใหญ่ ต้าสวุ่ยต้อ อ.เบตง จ.ยะลา การพัฒนาศักยภาพด่านศุลกากรชายแดนไทย-มาเลเซีย โครงการส่งเสริมและพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการพลังงานไฟฟ้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ฯลฯ
ข่าวน่าสนใจ:
- ผู้ว่าฯปัตตานี รินชาลงกลางใจมาแกแตสถานพินิจฯปัตตานี
- “คูโบต้า พลังใจสู้ภัยหนาว” ร่วมกับ“กองทัพบก” จัดคาราวานเสื้อกันหนาว เดินหน้ามอบไออุ่นในพื้นที่ภาคอีสาน
- ผอ.ชลประทานที่ 17 นำ 'พ่อเมืองนราฯ' ตรวจความพร้อมรับมืออุทกภัย
- จัดกิจกรรมวิ่งการกุศล UNITHAI-CUEL Run for Charity 2025 ครั้งที่ 3 วิ่งด้วยใจ ในสวนสวย ช่วยผู้ป่วยมะเร็ง
ทั้งนี้ ศอ.บต. เสนอที่ประชุมพิจารณาอนุมัติในหลักการ ประกอบด้วย กิจกรรมฟื้นฟูและบูรณปฏิสังขรณ์วัดและโบราณสถานฯ จะมีการดำเนินงานฟื้นฟูวัดที่มีอายุ 100 ปีขึ้นไปและวัดที่ชำรุดทรุดโทรม อยู่ในพื้นที่โดดเดี่ยวห่างไกล เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ด้านกิจกรรมส่งเสริมอัตลักษณ์ทางภาษา ประเพณี วัฒนธรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งของสังคมพหุวัฒนธรรม ศอ.บต.มีการนำเสนอการดำเนินงาน 2 ด้าน คือ ด้านภาษา ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์ภาษานานาชาติจังหวัดชายแดนภาคใต้ 6 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย อาหรับ จีน มลายู อังกฤษ และภาษาตุรเคีย เพื่อรองรับการประกอบอาชีพในอนาคต และด้านประเพณีและวัฒนธรรม ประกอบด้วย ส่งเสริมอัตลักษณ์การแต่งกายชุดประจำถิ่นให้สอดคล้องกับมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยตามมติคณะรัฐมนตรี พร้อมจัดทำปฏิทินประเพณีและวัฒนธรรมประจำปี
สำหรับข้อเสนอการดำเนินงานกิจกรรมการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเชิงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ศอ.บต.มีการจัดเวทีประชาคมในระดับอำเภอและจังหวัด ซึ่งมีหัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนเสนอการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ตามความต้องการของประชาชนโดยแท้จริง มีการเสนอแก้ไขปัญหา จำนวน 11 โครงการ ประกอบด้วย โครงการพัฒนาและยกระดับท่าอากาศยานนราธิวาสเป็นสนามบินนานาชาติ โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการฟื้นฟูและป้องกันการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง จังหวัดนราธิวาสอย่างเป็นระบบ โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง โครงการพัฒนาประมงชายฝั่งเชิงอนุรักษ์ โครงการก่อสร้างขยายเขตระบบประปาอำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี โครงการวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำ โครงการปรับปรุงซ่อมแซมก่อสร้างมัสยิด โครงการพุทธธรรมนำสันติสุข โครงการเสริมสร้างศักยภาพ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์เพื่อการพัฒนาจังหวัดนราธิวาส และโครงการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมต่อนิคมอุตสาหกรรมเขตเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาส
ทั้งนี้ที่ประชุมมีการพิจารณา ทบทวนการสนับสนุนสวัสดิการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้พิการจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 9 ราย โดยให้กระทรวงศึกษาธิการจัดงบประมาณในการช่วยเหลือเยียวยารายละไม่เกิน ๔ ล้านบาท โดยให้หักลบจากเงินเยียวยาที่เคยได้รับไปแล้ว พร้อมพิจารณาสนับสนุนสวัสดิการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้เสียชีวิตหรือผู้พิการจากเหตุการณ์ความไม่สงบรายใหม่ 2 รายด้วย
ทั้งนี้ที่ประชุมมีการหารือ พิจารณาและให้ความเห็นชอบอนุมัติในหลักการโครงการที่ ศอ.บต. นำเสนอ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกโครงการ เร่งแก้ปัญหาทุกมิติตามความต้องการของประชาชน
โดยในช่วงบ่าย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธาน กพต.ได้เดินทางไปยังด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก ร่วมตรวจราชการด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก โดยรับฟังบรรยายสรุปและชมบริเวณจุดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก (ไทย-มาเลเซีย) แห่งที่ 2 อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส – รันตูปันยัง รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย,รับฟังบรรยายสรุปความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมและระบายน้ำในพื้นที่ชุมชน จ.นราธิวาส ,พบปะประชาชนพร้อมกล่าวมอบนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนงานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นทีจากมติคณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 ที่ได้มีข้อสั่งการให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ไปเร่งรัดประสานและผลักดันการทำงานของทุกส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ให้พัฒนาศักยภาพด่านศุลกากรชายแดนไทย – มาเลเซีย ซึ่งได้มีการดำเนินการเริ่มต้นตามแผนโครงการมาอย่างยาวนาน อาทิ โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกที่อำเภอสุไหงโก-ลก และอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดย ศอ.บต.ได้ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนในการขนส่งการค้าชายแดน และกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดย ศอ.บต.ได้ประชุมหารือการขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพด่านศุลกากรชายแดนไทย – มาเลเซีย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดจนคณะทำงาน Working group ระหว่างประเทศไทยและมาเลเซีย เพื่อยกระดับการค้าชายแดนตลอดจนความร่วมมือในมิติต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส โดยมีความคืบหน้าของการพัฒนาโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย การพัฒนาด่านศุลกากรตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส อาทิ การก่อสร้างแพขนานยนต์ข้ามฟาก จำนวน 1 ลำ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนราธิวาส ได้อนุมัติใช้จ่ายเงินสะสมประจำปีงบประมาณ 2564 งบประมาณจำนวน 38,569,000 บาท ล้านบาท เพื่อจัดสร้างแพขนานยนต์ (ต่อแพ) ลำใหม่ทดแทนแพขนานยนต์ลำเดิม เดิม ออกแบบให้มีขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 21 เมตร ลึก 1.55 เมตร สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ จำนวน 30 คน บรรทุกยานพาหนะ (รถยนต์) ขนาด 2,500 กิโลกรัม/ต้น ได้ไม่น้อยกว่า 9 คัน และได้ลงนามสัญญาเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา คาดว่าจะมีกำหนดสร้างแล้วเสร็จในช่วงเดือนมกราคม 2566 นี้ การพัฒนาด่านศุลกากรบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ในการโครงการจัดซื้อที่ดินเพื่อการขยายด่านบูเก๊ะตา จังหวัดนราธิวาส สนับสนุนการดำเนินแผนพัฒนาด่านศุลกากรบูเก๊ะตา โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน จำนวน 3 คณะ ได้แก่ 1) คณะกรรมการกำหนดราคากลางจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติม พร้อมค่าชดเชยผลอาสินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อการดำเนินโครงการพัฒนาด่านศุลกากรบูเก๊ะตา 2) คณะทำงานสำรวจผลอาสินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อการดำเนินโครงการพัฒนาด่านศุลกากรบูเก๊ะตา (ระดับพื้นที่) และ3) คณะทำงานสำรวจและประเมินราคาสิ่งปลูกสร้าง เพื่อการดำเนินโครงการพัฒนาด่านศุลกากรบูเก๊ะตา การหารือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบการคมนาคมขนส่งเชื่อมต่อไทยและมาเลเซียในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ซึ่งในห้วงวันที่ 25 – 28 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา รัฐมนตรีอาวุโสและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการมาเลเซีย (Ministry of Works) ได้เดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อติดตามความคืบหน้าพร้อมร่วมหารือกับผู้แทนจากรัฐบาลไทย โดยเฉพาะประเด็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามแนวชายแดนไทย – มาเลเซีย อาทิ โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสุไหงโกลก แห่งที่ 2 อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส – เมืองรันตูปันยัง รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย) ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือ IMT – GT เพื่อก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำอีก 1 สะพาน คู่ขนานกับสะพานเดิม โดยฝ่ายมาเลเซียรับผิดชอบออกแบบรายละเอียด และที่อำเภอตากใบ ซึ่งมีแนวเส้นทางจุดเริ่มต้นที่สามแยกตากใบ บ้านหัวถนน ซึ่งเป็นสามแยกจุดตัดของฝั่งประเทศไทย สิ้นสุดทางหลวงของประเทศมาเลเซีย มีระยะทาง 11 กิโลเมตร ออกแบบเป็นถนน 4 – 6 ช่อง ถนนบริเวณพื้นที่เกาะสะท้อนเป็นโครงสร้างสะพานยกระดับมีสะพานข้ามแม่น้ำ 2 แห่ง คือ สะพานบางนรา และสะพานโกลก อาคารด่านศุลกากรรวมถึงตรวจคนเข้าเมืองอยู่จุดเดียวกับที่บริเวณเกาะสะท้อนเป็นอาคาระดับดิน ที่จะส่งเสริมให้เกิดความคล่องตัวด้านเศรษฐกิจการค้าทั้งนำเข้าและส่งออก รวมทั้งรองรับนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่มีเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 1 มีความคับแคบไม่สะดวกต่อการตอบสนองการเติบโตทางเศรษฐกิจและการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยวของทั้ง 2 ประเทศที่ในแต่ละวันมีเป็นจำนวนมาก โครงการก่อสร้างสะพานตากใบ-เปิงกาลันกุโบร์ โครงการถนนเชื่อมด่านศุลกากรสะเดาแห่งที่สอง-ด่านบูกิตกายูฮิตัม และโครงการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยง จังหวัดสตูล-รัฐเปอร์ลิส มาเลเซีย ซึ่งหากโครงการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากทางรัฐบาลมาเลเซียและมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้น คาดว่าจะมีการร่วมจัดทำ MOU ร่วมกันต่อไป โดยมาเลเซียพร้อมเร่งรัดการดำเนินในรายละเอียดให้มีความคืบหน้าโดยเร็วที่สุด รวมถึงการสร้างถนนเชื่อมต่อด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ – ด่านศุลกากรบูกิตกายูฮิตัม มาเลเซีย ที่จะร่วมกันจัดการประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค (Expert Working Group: EWG) ไทย – มาเลเซีย ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2565 เพื่อให้สามารถเปิดใช้ด่านศุลกากรแห่งใหม่ได้โดยเร็ว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: