X

นราธิวาส-ม.นราฯ ระดมความคิดเห็นฐานทุน 5 ด้าน หวังยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจฐานรากของชาวบ้าน

นราธิวาส-ม.นราฯ ระดมความคิดเห็นฐานทุน 5 ด้าน หวังยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจฐานรากของชาวบ้าน ยก อ.สุไหงปาดี เป็นพื้นที่นำร่อง

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 6 มกราคม 2565 ที่ห้องประชุม ดร.จงรัก พลาศัย ชั้น 3 สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา สะแลแม รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นประธานเปิดการประชุมเสวนาร่วมแสดงความคิดเห็นฐานทุน 5 ด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจฐานรากของชาวอำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงรัก พลาศัย นายกสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ นายพงศ์เพชร มากเกื้อ นายอำเภอสุไหงปาดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ พลาศัย ดร.วิริยะ แต้มแก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการภาคใต้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้


ทั้งนี้ตามที่มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการ แบบกลไกการมีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับพื้นที่ จังหวัดนราธิวาส ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยทำการสำรวจข้อมูลครัวเรือนยากจนในจังหวัดนราธิวาส เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ และสร้างนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาความยากจน ตลอดจนสร้างรายได้แบบยั่งยืนให้กับชุมชน โดยโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการร่วมกันระหว่างหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงาน สภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และหน่วยงานสังกัดกระทรวงการปกครอง จังหวัดนราธิวาส พื้นที่เป้าหมายในการดำเนินการค้นหาสอบทานคนจนและครัวเรือนยากจน ในปีที่ 2 ครอบคลุมครบทั้งจังหวัดนราธิวาส จำนวน 10 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอจะแนะ อำเภอตากใบ อำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ อำเภอระแงะ อำเภอรือเสาะ อำเภอศรีสาคร อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอเจาะไอร้อง และอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส จำนวน 7,663 ครัวเรือน จากฐานข้อมูล TPMAP พ.ศ. 2565 ในส่วนของการดำเนินงานออกแบบ พัฒนา และถ่ายทอดนวัตกรรมแก้จน ให้กับครัวเรือนยากจนเป้าหมาย ได้ดำเนินการในพื้นที่อำเภอสุไหงปาดี เป็นพื้นที่นำร่อง ซึ่งจะยกทั้งอำเภอสุไหงปาดี ประกอบไปด้วย 3 โครงการย่อยประกอบด้วย


โครงการย่อยที่ 1 การพัฒนาโมเดลแก้จนโดยการแปรรูปทรัพยากรในพื้นที่ของ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

โครงการย่อยที่ 2 การพัฒนาโมเดลแก้จน อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ด้วยแนวคิด “ชีวิตดี ด้วยเกษตรนวัตกรรม”มี

โครงการย่อยที่ 3 การพัฒนาโมเดลแก้จน อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส (Operating Model) ด้วยแนวคิด “คุยกันทั้งอำเภอ ทำกันทั้งอำเภอ และอาชีพแก้จน


โดยจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา เพื่อรับทราบผลและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ได้ข้อค้นพบอันเป็นประโยชน์ที่สามารถนำมาพัฒนา ปรับปรุงทั้งด้านเนื้อหาและการปฏิบัติงาน ดังนั้นเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ต่อการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว จึงเห็นควรให้มีการ ประชุมเสวนาร่วมแสดงความคิดเห็นฐานทุน 5 ด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจ ฐานรากของชาวอำเภอสุไหงปาดี เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่สามารถนำไปพัฒนา ปรับปรุงการปฏิบัติงานโครงการให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพต่อไป


ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา สะแลแม รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กล่าวว่า ทั้งนี้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาความยากจนของคนในพื้นที่ โดยผ่านกระบวนการค้นหา การสอบทานข้อมูล การพัฒนาระบบส่งต่อความช่วยเหลือไปยังภาคีเครือข่าย การออกแบบโครงการช่วยเหลือคนจนอย่างตรงเป้า และสอดคล้องกับบริบทของคนจน เป้าหมายและการทำข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ที่เชื่อมโยงกับแผนพัฒนายุทธศาสตร์ของจังหวัด ซึ่งการประชุมเสวนาร่วมแสดงความคิดเห็น ฐานทุน 5 ด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจฐานรากของชาวอำเภอสุไหงปาดี เป็นขั้นตอนสำคัญในการดำเนินโครงการ เพื่อให้ทุกหน่วยงานร่วมแสดงความคิดเห็น อันเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาพื้นที่ โดยมีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน ผ่านนวัตกรรมแก้จนทั้ง 8 นวัตกรรม

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน