มหาสารคาม – ชลประทานที่ 6 วางแผนสู้ภัยแล้ง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 6 เครื่อง หวังดึงน้ำท้ายเขื่อนวังยางเข้าพื้นที่มหาสารคามผลิตน้ำปะปาและรักษาระบบนิเวศน์
(06-01-63) สำนักชลประทานที่ 6 เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ ผันน้ำจากท้ายเขื่อนมาไว้หน้าเขื่อนระบายน้ำฝายวังยาง หวังรักษาระดับน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภค ประชาชนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและร้อยเอ็ดบางส่วน ในช่วงฤดูแล้ง หลังเขื่อนอุบลรัตน์เริ่มมีน้ำต้นทุนใช้งานติดลบ
สำนักชลประทานที่ 6 วางแผนแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและพื้นที่ใกล้เคียง ล่าสุดได้สั่งการ สนง.เครื่องจักรกล ส่วนเครื่องจักรกลสูบน้ำ กรมชลประทาน ระดมเจ้าหน้าที่จำนวนกว่า 50 คน เร่งขนย้ายเครื่องสูงน้ำขนาดใหญ่จำนวน 6 เครื่อง พร้อมท่อส่งน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 ซม. เตรียมติดตั้งบริเวณที่ประตูน้ำของเขื่อนวังยาง ซึ่งเป็นประตูน้ำขนาดใหญ่เชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ จ.มหาสารคาม และ จ.กาฬสินธุ์ โดยแผนการติดตั้งเครื่องสูบน้ำนี้จะดำเนินการผันน้ำจากท้ายเขื่อนมาไว้ด้านหน้าเขื่อน เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำหน้าเขื่อนวังยาง เพื่อรักษาระดับน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภค ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและร้อยเอ็ดบางส่วนในช่วงฤดูแล้ง
ข่าวน่าสนใจ:
นายโยธิน ศรีสารคาม ผอ.ส่วนเครื่องจักรกลสูบน้ำ สนง.เครื่องจักรกล กรมชลประทาน เปิดเผยว่า สำนักเครื่องจักรกลชลประทานที่ 6 กรมชลประทาน พร้อมด้วย ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 3 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชีกลาง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ส่วนเครื่องจักรกลสูบน้ำ สำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามการติดตั้งเครื่องสูบน้ำได้ลงพื้นที่ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า ที่เขื่อนระบายน้ำฝายวังยาง จำนวน 6 เครื่อง ดำเนินการสูบน้ำจากแม่น้ำชีซึ่งเป็นน้ำที่ระบายมาจากเขื่อนลำปาวย้อนกลับเข้าไปเก็บที่หน้าเขื่อนวังยาง เพื่อช่วยเหลือน้ำอุปโภคบริโภคเมืองมหาสารคาม และ จ.ร้อยเอ็ดบางส่วน รวมถึงเป็นแนวทางที่จะนำน้ำจากเขื่อนลำปาวมาใช้ เพื่อลดการระบายน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณน้ำใช้งานติดลบ เนื่องจากที่ผ่านมาได้ปล่อยน้ำต้นทุนออกมาเพื่อให้ประชาชนได้ใช้อุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศน์ออกมาก่อนล่วงหน้า ซึ่งเมื่อติดตั้งเครื่องสูบน้ำทั้ง 6 เครื่องแล้วเสร็จ จะสามารถสูบน้ำได้ 2 ลูกบาศก์เมตร/วินาที โดยมีเป้าหมายสามารถสูบน้ำได้ 6 ล้านลูกบาศก์เมตร ภายในระยะเวลา 45 วัน หรือจนกว่าสถานการณ์ภัยแล้วในพื้นที่จะเข้าสู่ภาวะควบคุมได้
ทั้งนี้ปัจจุบันปิดประตูน้ำทั้ง6บาน ระดับน้ำเก็บกักปกติ 137.00 ม.รทก. ระดับน้ำหน้าเขื่อน135.97 ระดับน้ำท้ายเขื่อน130.81 ระน้ำผ่านเขื่อน0.00 ลบ.ม/วินาที 0.00ล้าน ลบ.ม/วัน ความจุ 24.51 ล้าน ลบ.ม ซึ่งถือว่าปริมาณน้ำต่ำกว่าระดับกักเก็บปกติประมาณ 1 เมตร
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: