มหาสารคาม – มมส จับมือ กระทรวงพลังงานทุ่ม 50 ล้าน ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา พร้อมเปิดศูนย์เรียนรู้พลังงานทดแทน “ผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์”
ที่ศูนย์เรียนรู้พลังงานทดแทนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นประธานในพิธี “เปิดศูนย์เรียนรู้พลังงานทดแทนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม” พร้อมเยี่ยมชมศึกษาระบบการทำงานของศูนย์เรียนรู้ฯ ณ กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ สุวรรณทา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวถึงที่มาของการศูนย์เรียนรู้พลังงานทดแทนแห่งนี้ เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีพื้นที่การใช้งานในอาคารต่างๆ จำนวน มากกว่า 40 อาคารและมีการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก โดยมีค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าตลอดทั้งปีในปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ขามเรียง มีการใช้พลังงานไฟฟ้า ปีละประมาณ 86.4 ล้านบาท และเขตพื้นที่ในเมืองมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าปีละประมาณ 21.6 ล้านบาท รวมค่าใช้จ่ายสองพื้นที่ประมาณ 108 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
ข่าวน่าสนใจ:
อาคารภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคามส่วนใหญ่ มีพื้นที่หลังคาที่มีศักยภาพในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าในมหาวิทยาลัย ทางกองอาคารสถานที่ จึงได้ดำเนินโครงการติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงอาทิตย์ โดยได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงพลังงาน เป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น 50 ล้านบาท มีขนาดกำลังการผลิตทั้งสองเขตพื้นที่ แบ่งเป็นเขตพื้นที่ขามเรียง ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 501.9 kW และ เขตพื้นที่ในเมือง ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง ประมาณ 415.40 kW โดยผลของการดำเนินการที่ได้รับจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนด้วยแสงอาทิตย์ หากทำการเชื่อมต่อหรือขนานไฟฟ้าที่ได้จากระบบโซล่าเซลล์ และทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ คาดว่าจะลดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ ปีละ 5 -10% หรือประมาณ 1 ล้านบาท
พลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมดไปจากโลก เป็นพลังงานที่สะอาดไม่ก่อมลพิษให้กับโลก และเรายังสามารถนำพลังงานแสงอาทิตย์ไปใช้ได้ทั่วโลก ทุกจุดที่แสงอาทิตย์ แต่อย่างไรก็ตามการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์มักมีข้อจำกัดเนื่องจากพระอาทิตย์มีเวลาขึ้นและตก โอกาสการใช้งานก็จะไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน
ศูนย์เรียนรู้พลังงานทดแทนแห่งนี้ เป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับนิสิต หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนได้เข้ามาศึกษาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยี และการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ออกแบบให้มีการติดตั้งระบบตรวจวัดและบันทึกผล ที่เชื่อมต่อสัญญาณเข้ากับอินเวอร์เตอร์ ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า มิเตอร์ตรวจวัดคุณภาพไฟฟ้าและอุปกรณ์ตรวจสอบสภาพอากาศ ซึ่งค่าที่ได้ทั้งหมดจะถูกบันทึกและแสดงผลแบบตามเวลาจริง เพื่อให้ผู้ที่ดูแลระบบและผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม เรียนรู้ วิจัย สามารถตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ ประเมินผลการดำเนินงาน และตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบผลิตไฟฟ้าได้ตลอดเวลา ทั้งยังช่วยในการวางแผนในการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ได้อีกด้วย
“อ่านข่าว “มหาวิทยาลัยมหาสารคาม” เพิ่มเติิม
มมส ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่ “เจ้าชายอากิชิโน”
มมส เตรียมพร้อมอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ประเดิมต้อนรับบัณฑิตใหม่
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: