รองอธิการบดี มมส ชี้ เปิด-ปิดภาคเรียนแบบอาเซียน พบปัญหาบริหารจัดการหลายด้าน ทำอาจารย์เบิกจ่ายงบลำบาก ปฏิทินการศึกษาไม่เอื้อนิสิตฝึกงาน เสียเวลาเรียนจบ เตรียมใช้ระบบเดิมเริ่มมิถุนายน 2563
ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เข้าร่วมการเปิด – ปิดภาคเรียนตามสถาบันอุดมศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติให้สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ปรับเวลาของการเปิดภาคเรียนของไทย เพื่อให้ตรงกับการเปิดภาคเรียนของประเทศสากลทั่วโลก ซึ่งจะทำให้เกิดความสอดคล้องกันในการขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาอุดมศึกษาในทุกๆ ด้าน ทั้งการแลกเปลี่ยนบุคลากรทางการศึกษา ครู อาจารย์ และนักศึกษา หรือการผลิตบัณฑิตเพื่อรองรับตลาดอาเซียน รวมไปถึงสามารถรับนักศึกษาต่างชาติได้สะดวกเมื่อปฏิทินการศึกษาตรงกัน
ศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา ประเทพา รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดเผยว่า “ที่ผ่านมา การเปิด-ปิดภาคเรียนตามอาเซียน ส่งผลกระทบกับการเรียนการสอนของ มมส ค่อนข้างมาก ในวันนี้ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มีประกาศปรับเปลี่ยนการเปิดภาคเรียนจากแบบอาเซียนเป็นแบบเดิม คือเปิดเรียนเดือนมิถุนายน ปีการศึกษา 2563 เนื่องจากมีข้อมูลจากการศึกษา วิจัย ในปี 2560 ของนายสวัสดิ์ วิชระโภชน์ นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ บุคลากรกองทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง “การศึกษาผลกระทบของการเปิด – ปิดภาคเรียนตามสถาบันอุดมศึกษาในกลุ่มประชาคมอาเซียนต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม”
ข่าวน่าสนใจ:
โดยได้สอบถามกลุ่ม นิสิต เจ้าหน้าที่ และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวมจำนวน 1,000 กว่าคนพบว่า การเปิด – ปิดตามอาเซียน มีผลกระทบด้านการจัดการงบประมาณของมหาวิทยาลัย ก็คือ เปิดเทอมในช่วงเดือนสิงหาคม เรียกว่าเป็นต้นปีการศึกษานิสิตมีการชำระค่าเทอม ล่าช้าไปถึงเดือนกันยายน ขณะเดียวกันเดือนกันยายน ก็สิ้นปีงบประมาณ ส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อใช้จัดโครงการ จัดกิจกรรมของอาจารย์ ช่วง 2 เดือนนี้ จะมีปัญหาค่อนข้างมากเนื่องจากระยะเวลาที่ไม่สอดคล้องกัน
นอกจากนี้ ในเรื่องของหลักสูตร บางหลักสูตรต้องส่งนิสิตไปฝึกสอนตามโรงเรียน กลับเป็นช่วงที่โรงเรียนปิดเทอม ซึ่งต้องมีการวางแผน จัดปฏิทินการศึกษาให้ดีเพื่อไม่ให้นิสิตเราเสียเวลา และสามารถสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนดได้โดยไม่กระทบ แม้กระทั่งการส่งนิสิตไปฝึกงาน บางช่วงบางหน่วยงานก็อาจไม่ได้รับนิสิตฝึกงานของเรา เนื่องจากได้รับนักศึกษาจากสถาบันอื่นแล้ว เราส่งไปช้าไป นี่ก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องวางแผนจัดการใหม่
ดังนั้น การกลับไปเปิด – ปิดภาคเรียนในช่วงเวลาเดิมน่าจะเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยมากกว่า ทั้งนี้ได้วางแผนและคำนึงถึงผลกระทบอื่นๆ ไว้อย่างครอบคลุมรอบด้านแล้ว ทั้งเรื่องการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา หรือทีแคส ซึ่งทุกฝ่ายทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง นิสิตที่กำลังศึกษาอยู่จะไม่ได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง “มมส”
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: