มหาสารคาม – อย.น้อย ภาคอีสาน รวมตัวแลกเปลี่ยนผลงานและประสบการณ์การถ่ายทอดความรู้ การเฝ้าระวัง พร้อมระดมความคิดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคคนในชุมชนใส่ใจกับความปลอดภัยของอาหารและยา
ที่ห้องคอนแวนชั่นโรงแรมตักสิลา จังหวัดมหาสารคาม นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เป็นประธานเปิดงานสัมมนามหกรรม“อย.น้อย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมพลัง สรรสร้างสุขภาพ” ประจำปีงบประมาณ 2561 โดยมีนายแพทย์ภาคี ทรัพย์พิพัฒน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม นำ อย.น้อย และครูแกนนำ อย.น้อย ที่เป็นตัวแทนจากโรงเรียนต่างๆในเครือข่ายเขตบริการสุขภาพที่ 7, 8, 9 และ 10 รวมถึงเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข จาก 20 จังหวัด จำนวน 280 คน เข้าร่วมกิจกรรม แสดงผลงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานถ่ายทอดความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเพื่อนๆ และคนในชุมชนให้ใส่ใจกับความปลอดภัยของอาหารและยา ด้วยการตรวจสอบข้อมูลและตั้งข้อสังเกตพื้นฐาน
น.ส.นภารัตน์ สร้อยโสม นักเรียนชั้น ม. 4 โรงเรียนเลยพิทยาคม จ.เลย เล่าถึงบทบาท อย.น้อย ของตนเองและเพื่อนๆว่า ที่ผ่านมาส่วนมากจะลงพื้นที่ไปพบปะผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งมักจะตกเป็นเหยื่อของการชวนเชื่อได้ง่าย โดยเฉพาะการโฆษณาชวนเชื่อเกินจริง การมีสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ โดยแนะนำให้ผู้สูงอายุให้เฝ้าระวังการบริโภคสินค้าต่างๆ ต้องมีฉลาก ต้องมีความน่าเชื่อถือ รู้จักวิธีการสังเกตหาความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ หรือให้สอบถามลูกหลานก่อน มีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเดือนละ 4 ครั้ง แล้วนำข้อมูลมาจัดเก็บและเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปัญหา
ข่าวน่าสนใจ:
ด.ช.วรเมธ อ่อนเขนย นักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านเสิงสาง อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา บอกว่า ได้ทำหน้าที่ในบทบาทของ อย.น้อย โดยไปแนะนำชาวบ้านเกี่ยวกับเรื่องอาหาร และการโฆษณาเกินจริง การบริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์เป็นอย่างไร คือ ควรบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ ถ้าไปพบกับวัยรุ่นด้วยกันก็จะแนะนำว่าหากพบการโฆษณาตามอินเตอร์เน็ต ควรตรวจสอบเลขสารระบบ วัน เดือนปีที่ผลิต ส่วนประกอบ และส่วนผสม หรือหากสงสัยให้ตรวจสอบที่สายด่วน อย. 1556 เพื่อไม่หลงเชื่อโฆษณาเกินจริง ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดี วัยรุ่นมีความระมัดระวังการสั่งซื้อของผ่านอินเตอร์เน็ตมากขึ้น
นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ เปิดเผยว่า แนวทางสร้าง อย.น้อย ต้องให้มีความรู้เรื่องการตรวจสอบอาหาร หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ เกี่ยวกับสารประกอบต่างๆ เช่นปริมาณ น้ำตาล เกลือ ไขมัน เนื่องจากปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีแนวโน้มเกิดมากขึ้น โดยเฉพาะโรคเบาหวาน เรื้อรัง หลอดเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือกแตกในสมอง ปัจจัยหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม มากเกินไป อย.น้อยจะสามารถแนะนำได้ว่ามีมากเกินไปควรบริโภคน้อยลงเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง นอกจากนี้ยังต้องการให้มีพื้นฐานความรู้เรื่องสารพิษ สารปนเปื้อนในอาหาร ผัก ผลไม้ พร้อมทั้งต้องมีวิธีการชักชวนให้ผู้อื่นเข้าใจได้ด้วย
ด้านการโฆษณาเกินจริงตามโลกโซเชี่ยล อย.น้อย จะช่วยได้มากเพราะเข้าถึงสือเหล่านี้ได้รวดเร็วกว่า หากพบโฆษณาเกินจริงหรือผลิตภัณฑ์อัตรายต่อผู้บริโภค ก็จะแจ้งผ่านมายังเครือข่ายของสาธารณสุข บอกครู หรือ รพ.สต. สายด่วน อย. 1556 หรือตรวจสอบเลขข้อมูลของผลิตภัณฑ์โดยใช้ อย.แอพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ
สำหรับมหกรรม อย.น้อย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม 2561 มีวัตถุประสงค์ส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียน อย.น้อย มีพฤติกรรมการบริโภคที่ดี ลดการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม มีความรรู้เหมาะสมต่อการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารดเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โดยรูปแบบกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประกอบด้วย การจัดนิทรรศการของโรงเรียน การแสดงและการประกวดผลงานดีเด่นของนักเรียน อย.น้อย การบรรยายของวิทยากรและการจัดฐานความรู้ เพื่อการส่งเสริมการบริโภคที่ปลอดภัย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: