นักวิจัยนำข้าวในเขตทุ่งกุลาร้องไห้มาผ่านกระบวนการแปรรูปให้เป็นข้าว Low GI ซึ่งมีคุณสมบัติปล่อยปริมาณน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดอย่างช้า ๆ เหมาะสําหรับผู้ป่วยเบาหวานผู้ป่วยที่ต้องการควบคุมน้ำตาลในเลือด โดยผลวิจัยพบว่าเมื่อรับประทานแล้วสามารถทำให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมน้ำตาลได้เท่าคนปกติ ไม่ต้องพึ่งยาซึ่งเสี่ยงต่อไตวาย
รศ.ดร.ศิริธร ศิริอมรพรรณ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เจ้าของผลงาน เล่าว่า ค่า GI หรือ Glycemic Index (ไกลซิมิก อินเด็ค) เป็นดัชนีวัดอัตราความเร็วว่าอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดเร็วแค่ไหน โดยข้าวหอมมะลิหรือข้าวสารทั่วไปมีค่า GI อยู่ประมาณระดับที่ 90 เพราะฉะนั้นข้าวเมื่อผ่านกระบวนการแปรรูปจะทำให้ GI จะลดต่ำลงน้อยกว่าระดับ 55 จึงเรียกข้าวนี้ว่าข้าว Low GI
มีการนำข้าวนี้ให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นชนิดไม่พึ่งอินซูลินและมักเกินในประชาชน ลองบริโภคเป็นเวลา 3 เดือน ก็พบว่าให้ผลตอบรับที่ดี สามารถทำให้ค่าน้ำตาลสะสมในเลือดและค่าน้ำตาลในเลือดต่ำลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ให้ผลใกล้เคียงกับการักษาแบบให้ผู้ป่วยกินยารักษาเบาหวาน แต่ข้อดี คือ เมื่อรับประทานข้าว Low GI ไม่ต้องทานยา ซึ่งในระยะยาวจะมีผลข้างเคียงต่อไต
ปัจจุบัน รศ.ดร.ศิริธร และคณะผู้ร่วมวิจัยได้พัฒนาข้าว Low GI ให้มีรูปแบบเป็นผงซุปที่มีปริมาณค่า GI น้อยกว่าระดับ 45 พร้อมปรับปรุงรสชาติให้อร่อย ลดบริมาณโซเดียมหรือเกลือ รับประทานง่าย เหมาะเป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยหรือผู้ที่ลดความอ้วน และมีการนำข้าวมาทำเป็นขนมอบอัดแท่งที่ให้พลังงานสูงอีกด้วย ล่าสุดได้ร่วมมือกับภาคเอกชนร่วมกันพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ออกวางจำหน่ายในร้านค้าเพื่อสุขภาพแล้ว ซึ่งในอนาคตจะมีการต่อยอดงานวิจัย แปรรูปข้าว Low GI ในรูปแบบต่าง ๆ และวิจัยให้ได้ข้าวที่มีคุณประโยชน์แก่สุขภาพผู้บริโภคที่ดียิ่งขึ้นต่อไป โดยผูํ็สนใจรายละเอียดสามารถติดต่อขอทรายรายละเอียดหรือข้อมูลงานวิจัยได้ที่ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โทรศัพท์ 043-754333 ต่อ 1822
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: