มมส ระดมพลังนิสิตและอาจารย์ เร่งผลิต”กล่องข้าวน้อยให้แม่” ข้าวเหนียวหมูทอดสเตอริไลซ์ เตรียมนำส่งเพื่อช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.อุบลราชธานี เผยเก็บไว้กินได้ยาวนาน อยู่นอกตู้เย็นได้ 2 ปี ไม่เน่าไม่เสีย
ดร.อัศวิน อมรสิน อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหารและโภชนศาสตร์ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดเผยว่า ผ่านมาพื้นที่อีสานได้รับผลกระทบจากพายุโพดุล และดีเปรสชั่น คาจิกิ ทำให้ให้ฝนตกหนักลอดส่งผลเกิดน้ำท่วมหลายจังหวัด ล่าสุดน้ำท่วมหนักที่จังหวัดอุบลราชธานี ถือว่าหนักที่สุดในรอบ 30 ปี ทำให้ขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภค ดังนั้นจึงได้คิดผลิต “ข้าวเหนียวหมูทอด” สเตอริไลซ์ ที่ไม่เน่าไม่เสีย ในโครงการ “กล่องข้าวน้อยให้แม่ โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากนิทานที่เล่าต่อๆกันมาจากบรรพบุรุษของผู้เฒ่าผู้แก่ ของังหวัดยโสธร คือนิทานเรื่อง (ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ) ที่มีการอัดข้าวเหนียวไว้แน่นในกล่องข้าวเล็กๆ จนดูเหมือนมีน้อยแล้วลูกก็ฆ่าแม่เพราะโมโหหิว แต่สุดท้ายก็กินข้าวไม่หมด
สำหรับขั้นตอนการผลิต ได้เริ่มรวบรวมบรรจุภัณฑ์ วัตถุดิบ เงินบริจาคเพื่อเป็นทุนในการจัดหาวัตถุดิบ และจิตอาสาตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยจิตอาสาส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาในภาควิชาฯ ที่อยู่ในช่วงเตรียมสอบ แต่ทุกคนก็พร้อมใจที่จะเข้ามาช่วยผลิตเพื่อส่งต่อให้ผู้ประสบอุทกภัย ขณะที่วัตถุดิบอื่นๆ ผู้ประกอบการที่ทราบว่าจะนำมาช่วยเหลือชาวอุบลฯ ที่เดือดร้อน หลายร้านก็ได้ร่วมบริจาควัตถุดิบ และลดราคาสินค้าให้
เมื่อได้วัตถุดับและจิตอาสามาแล้ว ก็ต้องมีการนึ่งข้าวเหนียว และหมักหมู ก่อนจะนำไปย่าง และแพคใส่บรรจุภัณฑ์อย่างดี จากนั้นจะนำไปซีล และเข้าสู่กระบวนการฆ่าเชื้อ สเตอริไลซ์ ซึ่งต้องใช้เวลานาน เนื่องจากการอัดตัวของข้าวเหนียวทำให้การส่งผ่านความร้อนช้า จึงต้องใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง หลังจากผ่านกระบวนการทั้งหมดแล้ว “ข้าวเหนียวหมูทอด” จะไม่เน่าไม่เสีย เก็บนอกตู้เย็นได้ 2 ปี เหมาะสำหรับพื้นที่น้ำท่วมหนักที่ขนส่งอาหารสด อาหารแห้งอื่นๆ ไม่สะดวก โดยผู้ประสบภัยสามารถกินได้เลยโดยไม่ต้องอุ่น แต่ข้าวเหนียวอาจจะแข็งกว่าปกติ เพราะเป็นธรรมชาติของข้าวเหนียว หากต้องการให้รสชาติอร่อยแบบดั้งเดิมสามารถนำไปอุ่นเตาไมโครเวฟ1-2นาที หรือต้ม 3-5 นาที โดยไม่ต้องนำออกจากถุง เพราะถุงที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถทนความร้อนได้ 100-120 องศาสเซลเซียส โดยด้านข้างถุงจะมีสติ๊กเกอร์อธิบายส่วนประกอบและวิธีบริโภคไว้อย่างชัดเจน โดยผลิตเข้าเครื่องฆ่าเชื้อได้รอบละ 84 ชุด โดยแต่ละรอบใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง
ชาว จึงได้ร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกัน ผลิตข้าวเหนียวหมูทอด ขึ้น แบบกระทัดรัด พกสะดวกสบาย ที่ทำให้ง่ายต่อการขนส่งและเก็บไว้ได้นาน ขนาดข้าวเหนียวบรรจุ 120 กรัม และหมูย่าง 50 กรัม ซึ่งพอที่บรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยในระดับหนึ่ง ในขณะนี้ผลิตได้แล้ว 1,340 ซึ่งผลิตให้ครบ 2,000 ถุงในคืนนี้ และจะนำไปส่งผู้ประสบภัยน้วท่วมที่อุบลราชธานี ในวันที่ 16 กันยายน 2562 นี้
นางสาว ศรัยภัญ ทักษ์เตชาณภัค นิสิตปี 4 คณะเทคโนโลยี ม.มหาสารคาม เล่าว่า ตนเองรู้สึกดีใจที่ได้มีส่วนร่วมช่วยเหลือพี่น้องชาวอุบลราชธานีที่กำลังประสบภัยน้ำท่วม แม้ไม่ได้บริจาคเงินแต่ก็ขอเป็นแรงส่วนอยู่ที่นี้ ซึ่งตนเองมีหน้าที่ทอดหมู บรรจุข้าวเหนียวใส่ถุงเพื่อทำข้าวก่องน้อยให้แม่ และจะพยายามทำให้ได้มากที่สุด เพื่อให้พี่น้องที่กำลังประสบภัยได้อิ่มท้อง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: