เพชรบุรี-กรณีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันเป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายแรกของจังหวัดเพชรบุรี ผู้ป่วยเป็นชายไทย อายุ 23 ปี ทำงานเป็นพนักงานอยู่ที่ Outlet แห่งหนึ่งที่ชะอำ มีภรรยาเป็นชาวลาว ทำงานเป็นพนักงานที่บ่อนคาสิโน ที่ประเทศกัมพูชา (ด้านอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว)
เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563 ภรรยาได้เดินทางกลับเข้าประเทศไทย โดยรถโดยสารสาย สระแก้ว-หัวหิน ถึงบ้านและพักอยู่ที่บ้านกับสามีที่อำเภอชะอำ โดยไม่ได้ออกไปไหน
ต่อมาวันที่ 17 มีนาคม 2563 ภรรยามีอาการไข้ไอ มีน้ำมูก เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลหัวหิน เจ้าหน้าที่ซักประวัติ พบเข้าเข้าเกณฑ์ผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังโรค จึงเก็บตัวอย่างส่งตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ และโรงพยาบาลจุฬาฯ ตามแนวทางการตรวจยืนยันผู้ติดเชื้อโควิต-19 (แนวทางเดิม ต้องตรวจยืนยัน 2 ทาง)
ข่าวน่าสนใจ:
วันที่ 18 มีนาคม 2553 ผล lab ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ พบเชื้อ แต่ผล lab ของโรงพยาบาลจุฬาฯ ยังไม่แล้วเสร็จ
วันที่ 18 มีนาคม 2563 ผู้ป่วยมีอาการไข้ เข้าตรวจรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง จากการชักประวัติในครั้งแรก ผู้ป่วยไม่ได้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องว่า เป็นผู้สัมผัสโรคกับบุคคลเสี่ยง และไม่ได้ให้ข้อมูลว่า ภรรยาป่วยนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลหัวหิน บอกแต่เพียงว่า ภรรยาพึ่งกลับมาจากประเทศกัมพูชา (ไม่ใช่ประเทศกลุ่มเสี่ยง) ไม่ได้มีอาการป่วย แพทย์เวรจึงให้ยา แล้วให้ผู้ป่วยกลับบ้าน
วันที่ 21 มีนาคม 2563 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แจ้งมายังสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเพชรบุรี ยืนยันผลการตรวจหาเชื้อ ของภรรยาผู้ป่วยว่า เป็นผู้ติดเชื้อโควิต – 19 ทางโรงพยาบาลเอกชนจึงได้เชิญผู้ป่วยมาเก็บตัวอย่างส่งตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อยืนยัน
วันที่ 22 มีนาคม 2553 ผลการตรวจสรุป เป็นผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด – 19 จึงแยกผู้ป่วย กับบุคคลในครอบครัวออกจากกัน โดย ให้ผู้ป่วยเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลในห้องแยกส่วนญาติที่อยู่ในบ้านด้วยกันมี พ่อ กับ แม่ ได้กักตัวอยู่ในบ้าน เพื่อสังเกตอาการ ตามแนวทาง Home Quarantine dunan 14 u และให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประสานทีมปศุสัตว์ เข้าฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ ในบ้าน รอบๆบริเวณบ้าน และทำความสะอาดพื้นที่ทั้งหมด ตลอดจนให้คำแนะนำแนวทางการปฏิบัติตัว การดูแลตนเอง การสังเกตอาการต่างๆ แก่ญาติ ที่เป็นผู้สัมผัสแล้ว.///
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: